Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มิถุนายน 2559 CAT จับมือไชน่าเทเลคอมฯ ขยายเครือข่ายเคเบิลใต้น้ำ-ภาคพื้นดิน ใช้งบประมาณ 3.5-6.0 พันล้านบาท รองรับการขยายตัวของการใช้ความเร็วอินเตอร์เน็ต 3-4 ปีข้างหน้าขยายตัว 6 เท่า

ประเด็หลัก
รมว.ไอซีทีร่วมคณะเยือนจีนกับรองนายกฯ เผยความคืบหน้าโครงการขยายเคเบิลทั้งบนบก-ใต้น้ำ รองรับการขยายตัวของการใช้ความเร็วอินเตอร์เน็ต 3-4 ปีข้างหน้าขยายตัว 6 เท่า ชี้ กสท. โทรคมนาคมลงนามเอ็มโอยูกับไชน่า เทเลคอม โกลบอล ร่วมพัฒนาการโครงข่ายขยายอินเตอร์เน็ตบนบกและใต้น้ำระหว่างประเทศเชื่อมภูมิภาค ใช้งบประมาณ 3.5-6.0 พันล้านบาท

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า โครงการขยายเครือข่ายเคเบิลใต้น้ำหลายบริษัทให้ความสนใจ โดยได้พูดคุยพบปะกับบริษัท ไชน่า เทเลคอม โกลบอล จำกัด หลังจากหารือกับ บมจ. กสท. โทรคมนาคม มาพักหนึ่งแล้ว ทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงนามเอ็มโอยูกันในการพัฒนาเคเบิลใต้น้ำและเครือข่ายภาคพื้นดิน ซึ่งรัฐบาลไทยเชิญชวนให้ทั้งเอกชนไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมประมูล และยืนยันว่าระบบเป็นธรรม ไม่มีใครล็อกได้
______________________________________________________________ CAT จับมือไชน่าเทเลคอมฯ ขยายเครือข่ายเคเบิลใต้น้ำ-ภาคพื้นดินเชื่อมยุทธศาสตร์ one belt one road


รมว.ไอซีทีร่วมคณะเยือนจีนกับรองนายกฯ เผยความคืบหน้าโครงการขยายเคเบิลทั้งบนบก-ใต้น้ำ รองรับการขยายตัวของการใช้ความเร็วอินเตอร์เน็ต 3-4 ปีข้างหน้าขยายตัว 6 เท่า ชี้ กสท. โทรคมนาคมลงนามเอ็มโอยูกับไชน่า เทเลคอม โกลบอล ร่วมพัฒนาการโครงข่ายขยายอินเตอร์เน็ตบนบกและใต้น้ำระหว่างประเทศเชื่อมภูมิภาค ใช้งบประมาณ 3.5-6.0 พันล้านบาท

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า โครงการขยายเครือข่ายเคเบิลใต้น้ำหลายบริษัทให้ความสนใจ โดยได้พูดคุยพบปะกับบริษัท ไชน่า เทเลคอม โกลบอล จำกัด หลังจากหารือกับ บมจ. กสท. โทรคมนาคม มาพักหนึ่งแล้ว ทั้งสองฝ่ายจึงได้ลงนามเอ็มโอยูกันในการพัฒนาเคเบิลใต้น้ำและเครือข่ายภาคพื้นดิน ซึ่งรัฐบาลไทยเชิญชวนให้ทั้งเอกชนไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมประมูล และยืนยันว่าระบบเป็นธรรม ไม่มีใครล็อกได้

ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐบาลมีงบประมาณ 15,000 ล้านบาท ทำโครงการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (25MB) เข้าหมู่บ้าน ส่วนอีก 5,000 ล้านบาท รัฐบาลจะทำเคเบิลใต้น้ำซึ่งรัฐลงทุนและให้เอกชนเข้ามาร่วม เนื่องจากมีการประเมินไว้ว่า ความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำของประเทศไทยภายใน 3-4 ปีข้างหน้า จะโต 6 เท่าตัว จากปัจจุบันใช้ขนาด 3 เทเลไบต์

"โครงการเคเบิลใต้น้ำ งบ 5,000 ล้านบาทเป็นงบเบื้องต้นที่สภาฯ ให้มา และเราจะแบ่งการทำงานเป็นเฟสๆ ซึ่งก็ต้องดูมูลค่าของทั้งโครงการอีกที โดยในปีนี้จะลงเงิน 2,000 ล้านบาท ปีหน้าอาจลงอีก 3,000 ล้านบาท ส่วนโครงการอินเตอร์เน็ตหมู่บ้านตอนนี้กำลังเริ่มจากการวางบอร์ดแบนด์อินเตอร์เน็ต (ไฟเบอร์) ไปถึงหมู่บ้าน แต่ยังไม่เข้าบ้าน จุดที่จะเข้าบ้านจะให้เอกชนเข้ามาร่วม โดยรัฐลงทุนเส้นทางส่งสัญญาณและเชิญเอกชนเขามาร่วมต่อจากหมู่บ้านเข้าบ้าน ซึ่งได้มีการประกาศเปิดกว้างกับบริษัทเอกชนทั้งไทยและเทศที่จะเข้ามาทำตรงนี้ และบริษัท หัวเว่ยฯ ก็พูดอยู่ว่าเขาสนใจ" นายอุตตมกล่าว

อย่างไรก็ดี โครงการอินเตอร์เน็ตหมู่บ้านมีเป้าหมายให้ภายในเดือน ก.ค.นี้ จะเริ่มประมูลและสิ้นปีจะได้เห็นโครงการขึ้นชัดเจน เพราะเป้าหมายสิ้นปีนี้เข้าถึง 1 หมื่นหมู่บ้าน จาก 30,000 หมู่บ้านที่สำรวจแล้วว่า กสทช. และภาคเอกชนยังเข้าไปไม่ถึง ดังนั้นจึงเหลือ 30,000 หมู่บ้าน จาก 75,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน และคาดว่ากลางปีหน้าน่าจะครบทั้งหมด โดยความเร็วอินเตอร์เน็ตที่นี้การันตีอยู่ที่ 25 เมกะบิต" นายอุตตมกล่าว

ส่วนในระหว่างเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด หรือ CAT ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อร่วมลงทุนพัฒนาขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงประเทศไทยไปยังกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ต่อเนื่องไปถึงประเทศจีนและฮ่องกง ผ่านเคเบิลอินเตอร์เน็ตภาคพื้นดินและใต้น้ำ

นายอุตตมกล่าวด้วยว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการวางโครงข่ายขยายอินเตอร์เน็ตบนบกและใต้น้ำระหว่างประเทศครั้งแรก ถือเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความต้องการใช้ที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจีนเรื่อง one belt one road ที่มุ่งหมายให้มีการขยายความเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตจากจีนไปสู่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ซึ่งหากความร่วมมือนี้ประสบความสำเร็จ จะทำให้เชื่อมโยงเครือข่ายได้เร็วขึ้น และจะสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย เป็นการยกระดับเครือข่ายโทรคมนาคมของประเทศ โดยเฉพาะโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ประชาชนใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศและระหว่างประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในราคาที่ถูกลง

ทั้งนี้ บริษัท กสท. โทรคมนาคม คาดว่า จะสามารถเริ่มวางโครงข่ายเคเบิลบนบกได้ภายใน 2 ปี จากนั้นจะเดินหน้าวางโครงข่ายใต้น้ำต่อไป และในอนาคตมีแผนที่จะพัฒนาโครงข่ายเคเบิลเพิ่มเติม

สำหรับการจัดสรรเงินลงทุนพัฒนาโครงข่ายเคเบิลในครั้งนี้ เป็นงบประมาณของ CAT จำนวน 3,500 – 3,600 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้จะมีการตกลงสัดส่วนการลงทุนกับจีนและประเทศอื่นๆ ที่ต้องการร่วมลงทุนอีกครั้งหนึ่ง


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1467077647

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.