Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2559 กสทช.การพิจารณาสนับสนุนการถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 31 ระหว่าง 5-21 ส.ค.นี้ ข้อเสนอล่าสุดของ ทรท. คือ ขอเงินอุดหนุน 150 ล้านบาทแลกกับการให้ช่องทีวีดิจิทัลนอกเครือข่ายทำข่าวและใช้ภาพข่าวได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย หากไม่ได้รับการสนับสนุนจาก กทปส. แต่ละช่องต้องจ่ายเงินให้ ทรท.ไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านบาท

ประเด็นหลัก
พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุม กสท.มีมติให้สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือตอบกลับข้อซักถามกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เกี่ยวกับการพิจารณาสนับสนุนการถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 31 ระหว่าง 5-21 ส.ค.นี้ ในช่องทีวีดิจิทัลนอกเครือข่ายโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.)

โดยระบุว่า กีฬาโอลิมปิกเป็นหนึ่งในรายการโทรทัศน์ตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์แครี่) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม เข้าข่ายตามมาตรา 52 พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551

"ข้อเสนอล่าสุดของ ทรท. คือ ขอเงินอุดหนุน 150 ล้านบาทแลกกับการให้ช่องทีวีดิจิทัลนอกเครือข่ายทำข่าวและใช้ภาพข่าวได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย หากไม่ได้รับการสนับสนุนจาก กทปส. แต่ละช่องต้องจ่ายเงินให้ ทรท.ไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านบาท โดย ทรท.ยินดีให้เวลาโฆษณาการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัลช่วงถ่ายทอดสด 520 นาที แต่ในส่วนของการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาไม่สามารถทำได้ ติดเงื่อนไขลิขสิทธิ์ แต่ประชาชนยังรับชมได้ผ่านทีวีในเครือข่าย สรท. ได้แก่ ช่อง 1 ททบ.5 ช่อง 2 กรมประชาสัมพันธ์ (สรท.11) ช่อง 30 MCOT HD ช่อง 33 HD (ช่อง 3) และช่อง 35 (ช่อง 7HD)"
_______________________________________________
กสท.ย้ำอีกรอบเพิ่มเยียวยาลูกค้า ชงเสนอแผนก่อนสั่งปรับซีทีเอช



ช่องทีวีดิจิทัลนอกเครือข่ายทีวีพูลลุ้นเหนื่อยเงินอุดหนุน 150 ล้านบาท "โอลิมปิก" บอร์ด กสท.จี้ CTH ทำแผนเยียวยาลูกค้าใหม่ก่อนสั่งปรับทางปกครอง

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุม กสท.มีมติให้สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือตอบกลับข้อซักถามกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เกี่ยวกับการพิจารณาสนับสนุนการถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 31 ระหว่าง 5-21 ส.ค.นี้ ในช่องทีวีดิจิทัลนอกเครือข่ายโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.)

โดยระบุว่า กีฬาโอลิมปิกเป็นหนึ่งในรายการโทรทัศน์ตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (มัสต์แครี่) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม เข้าข่ายตามมาตรา 52 พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551

"ข้อเสนอล่าสุดของ ทรท. คือ ขอเงินอุดหนุน 150 ล้านบาทแลกกับการให้ช่องทีวีดิจิทัลนอกเครือข่ายทำข่าวและใช้ภาพข่าวได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย หากไม่ได้รับการสนับสนุนจาก กทปส. แต่ละช่องต้องจ่ายเงินให้ ทรท.ไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านบาท โดย ทรท.ยินดีให้เวลาโฆษณาการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัลช่วงถ่ายทอดสด 520 นาที แต่ในส่วนของการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาไม่สามารถทำได้ ติดเงื่อนไขลิขสิทธิ์ แต่ประชาชนยังรับชมได้ผ่านทีวีในเครือข่าย สรท. ได้แก่ ช่อง 1 ททบ.5 ช่อง 2 กรมประชาสัมพันธ์ (สรท.11) ช่อง 30 MCOT HD ช่อง 33 HD (ช่อง 3) และช่อง 35 (ช่อง 7HD)"

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ในฐานะเลขานุการ กทปส. เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่กองทุนไม่อนุมัติการสนับสนุน 150 ล้านบาทให้ เนื่องจากต้องการให้บอร์ด กสท.ยืนยันให้ชัดเจนว่าการสนับสนุนมีประโยชน์ต่อสาธารณะ ตามมาตรา 52 รวมถึงให้บอร์ด กสท.ออกประกาศหลักเกณฑ์การสนับสนุนรายการที่เข้าข่ายมาตราดังกล่าวให้เรียบร้อยก่อน

"บอร์ด กทปส.นัดประชุมอีกที 11 ส.ค.นี้ ถ้าไม่ทันวันเปิดโอลิมปิกก็จะขยับขึ้น ถ้าหลักเกณฑ์การสนับสนุนประกาศออกมาไม่ทันก็ต้องยอมรับว่ามันไม่ทัน"

ขณะที่การทำหนังสือเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาข้อเสนอการเยียวยาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลตามมติบอร์ด กสท. ที่ต้องการให้กระทรวงการคลังเป็นต้นเรื่องดำเนินการขอผ่อนผันการชำระเงินประมูลทีวีดิจิทัลงวดที่ 4 ที่จะครบกำหนด พ.ค. 2560 และให้หน่วยงานรัฐช่วยลงโฆษณาในช่องทีวีดิจิทัลนั้น อยู่ระหว่างการเตรียมยกร่างหนังสือ

"ที่ผ่านมาในการประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ตัวแทนกระทรวงการคลังย้ำหลายครั้งว่า ไม่ใช่หน้าที่คลังที่จะทำเรื่องขอยืดเวลาจ่ายเงินหรือผ่อนผันให้ เพราะตราบใดที่เงินยังไม่ได้นำส่งเข้าคลังก็ยังไม่ใช่เงินแผ่นดินเป็นหน้าที่ กสทช. ส่วนการลงโฆษณาทีวีของหน่วยงานรัฐ ที่ผ่านมาทำอยู่แล้ว"

นอกจากนี้ ยังให้สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือแจ้งให้บริษัท ซีทีเอช เคเบิลทีวี จำกัด ทำแผนเยียวยาผู้บริโภคจากการยุติการออกอากาศผ่านช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคมในระบบเคยูแบนด์ มาให้บอร์ด กสท.พิจารณาใน 7 วัน หลังแผนเดิมที่เสนอมา 2 ครั้งยังไม่ครอบคลุม อาทิ ไม่ยินยอมให้ผู้บริโภคคืนกล่องรับสัญญาณโดยเป็นการให้โอกาสครั้งสุดท้ายก่อนกำหนดมาตรการทางปกครองสั่งปรับ เนื่องจากการยุติบริกากระทบลูกค้าราว 9,000 รายที่ใช้บริการพรีเพด จากลูกค้าทั้งหมดที่ใช้เคยูแบนด์ 40,000 ราย

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1469643720

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.