Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 สิงหาคม 2559 ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ตั้งเป้าว่าจะมีลูกค้าเข้ามาในศูนย์ฯ ราว 35,000-40,000 คนต่อวันจากเดิมประมาณ 20,000-25,000 คนต่อวัน ก็จะมีการเปิดพื้นที่ให้เป็น Co-Working Station เพื่อให้องค์กรธุรกิจเข้ามาหาไอเดีย

ประเด็นหลัก



นายวีรฤทธิ์ สมบูรณ์ทรัพย์ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ กล่าวเสริมว่า การปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ของศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ เกิดขึ้นจากแนวคิดในการพัฒนาศูนย์ฯ ที่เน้นตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ที่จะหาได้เพียงที่เดียว พร้อมกับประสบการณ์ในการจำหนายสินค้าไอทีที่มีการคัดเลือกให้แก่ลูกค้า และการสร้างคอมมูนิตีของคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยี อย่างกลุ่มอีสปอร์ต เกมเมอร์ สตาร์ทอัป และกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบการใช้ชีวิตด้วยเทคโนโลยี โดยตั้งเป้าว่าจะมีลูกค้าเข้ามาในศูนย์ฯ ราว 35,000-40,000 คนต่อวันจากเดิมประมาณ 20,000-25,000 คนต่อวัน
“สัดส่วนลูกค้าของพันธุ์ทิพย์ประตูน้ำกว่า 40% เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถรักษาอัตราส่วนนี้ไว้ได้ ขณะเดียวกัน ในส่วนของลูกค้าทั่วไปก็จะเพิ่มในส่วนของลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจ หรือบริษัทมากยิ่งขึ้น จากการเปิดพื้นที่จำหน่ายโซลูชัน ทำให้ปัจจุบัน พันธุ์ทิพย์มีสัดส่วนร้านค้าไอทีราว 70% โซลูชัน 20% และมือถือ 10%”
ในอนาคตเมื่อมีการทำศูนย์โซลูชันเสร็จเรียบร้อย ก็จะมีการเปิดพื้นที่ให้เป็น Co-Working Station เพื่อให้องค์กรธุรกิจเข้ามาหาไอเดีย ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ทำให้เชื่อว่าสัดส่วนผู้เช่าในอนาคตจะเปลี่ยนไป โดยเหลือที่เป็นร้านค้าไอทีราว 60% โซลูชันเพิ่มเป็น 30% และมือถือยังคงสัดส่วนที่ 10% เช่นเดิม



________________________________


ปรับลุ๊ก “พันธุ์ทิพย์” จับกลุ่มเฉพาะทางมากขึ้น


พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำโฉมใหม่ ปรับภาพสู่ร้านค้ากลุ่มพรีเมียมสินค้าเฉพาะกลุ่มมากยิ่งขึ้น พร้อมนำเสนอโซลูชันสำหรับองค์กรธุรกิจ และเปิดพื้นที่ให้กลุ่มสตาร์ทอัปมาหาไอเดีย จากเทคโนโลยีเพิ่มเติม หวังสร้างรายได้เพิ่ม 10% จากการเพิ่มช่องทางรายได้อื่นๆ เพิ่มเติมนอกจากเปิดให้เช่าพื้นที่
นายสรรเสริญ ณ พัทลุง (ขวา) ผู้จัดการบริหารทรัพย์สิน ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ บริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด กล่าวว่า จากแผนในการปรับโฉมของศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ปัจจุบันในสาขาประตูน้ำได้เสร็จไปแล้วส่วนใหญ่ จะเหลืออีก 1 โซนที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ในการนำเสนอโซลูชันที่จะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 4 จากงบประมาณที่ตั้งไว้ 300 ล้านบาท ก่อนหน้านี้
“แผนต่อจากนี้คือการเริ่มปรับโฉมพันธุ์ทิพย์ในสาขาอื่น โดยในสาขาเชียงใหม่จะมีการนำรูปแบบของสาขาประตูน้ำไปใช้งาน เนื่องจากเชียงใหม่เป็นเหมือนหัวเมืองหลักของภาคเหนือ ขณะที่สาขาบางกะปิ และงามวงศ์วานก็จะมีการผสมผสานสินค้าในแต่ละย่านเพื่อเข้ามาเสริมความเป็นศูนย์การค้าไอที”
ในสาขาบางกะปิจะมีการเปิดตัวเป็น “พันธุ์ทิพย์ โฮเทล” จำนวน 212 ห้อง พร้อมกับการเสริมร้านค้าในส่วนของค้าปลีกที่ได้รับความนิยมในย่านนั้นๆ เข้าไป ส่วนสาขางามวงศ์วานก็จะคงจุดเด่นในเรื่องของการเป็นศูนย์รวมในการจำหน่ายพระเครื่องขนาดใหญ่ ที่ปัจจุบันดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งจะเน้นเข้าไปปรับโฉมให้ดูทันสมัยขึ้น ภายใต้งบการดำเนินงานที่ 150 ล้านบาท
นายวีรฤทธิ์ สมบูรณ์ทรัพย์ ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ กล่าวเสริมว่า การปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ของศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ เกิดขึ้นจากแนวคิดในการพัฒนาศูนย์ฯ ที่เน้นตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ที่จะหาได้เพียงที่เดียว พร้อมกับประสบการณ์ในการจำหนายสินค้าไอทีที่มีการคัดเลือกให้แก่ลูกค้า และการสร้างคอมมูนิตีของคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยี อย่างกลุ่มอีสปอร์ต เกมเมอร์ สตาร์ทอัป และกลุ่มผู้ที่ชื่นชอบการใช้ชีวิตด้วยเทคโนโลยี โดยตั้งเป้าว่าจะมีลูกค้าเข้ามาในศูนย์ฯ ราว 35,000-40,000 คนต่อวันจากเดิมประมาณ 20,000-25,000 คนต่อวัน
“สัดส่วนลูกค้าของพันธุ์ทิพย์ประตูน้ำกว่า 40% เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถรักษาอัตราส่วนนี้ไว้ได้ ขณะเดียวกัน ในส่วนของลูกค้าทั่วไปก็จะเพิ่มในส่วนของลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจ หรือบริษัทมากยิ่งขึ้น จากการเปิดพื้นที่จำหน่ายโซลูชัน ทำให้ปัจจุบัน พันธุ์ทิพย์มีสัดส่วนร้านค้าไอทีราว 70% โซลูชัน 20% และมือถือ 10%”
ในอนาคตเมื่อมีการทำศูนย์โซลูชันเสร็จเรียบร้อย ก็จะมีการเปิดพื้นที่ให้เป็น Co-Working Station เพื่อให้องค์กรธุรกิจเข้ามาหาไอเดีย ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ทำให้เชื่อว่าสัดส่วนผู้เช่าในอนาคตจะเปลี่ยนไป โดยเหลือที่เป็นร้านค้าไอทีราว 60% โซลูชันเพิ่มเป็น 30% และมือถือยังคงสัดส่วนที่ 10% เช่นเดิม

ปรับลุ๊ก “พันธุ์ทิพย์” จับกลุ่มเฉพาะทางมากขึ้น

ปัจจุบัน พันธุ์ทิพย์มีจำนวนร้านค้าทั้งหมด 400 ร้านค้า โดยสามารถปล่อยเช่าพื้นที่ไปแล้ว 75% โดยเพิ่มเติมจากเดิมที่เป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าไอทีด้วยการคัดเลือกสินค้าเฉพาะทางที่เป็นพรีเมียมมาจำหน่ายมากยิ่งขึ้น พร้อมการเพิ่มผลิตภัณฑ์ในกลุ่มไลฟ์สไตล์ การเปิดโซน Startup Business สำหรับนักคิด นักสร้างสรรค์ ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือแอปพลิเคชัน และศูนย์ส่งเสริมกีฬาอีสปอร์ตในประเทศไทย
ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมา พันธุ์ทิพย์มีรายได้รวมราว 600 ล้านบาท เป็นรายได้จากการปล่อยให้เช่าพื้นที่ประมาณ 85-90% แต่จากการปรับโฉมใหม่จะทำให้รูปแบบการสร้างรายได้เปลี่ยนไป โดยจะมีรายได้จากการเช่าพื้นที่ประมาณ 70% ส่วนอีก 30% จะมาจากการจัดกิจกรรม การจัดงานอีเวนต์ การทำการตลาดรูปแบบต่างๆ ซึ่งตั้งเป้าว่าจะสามารถเติบโตได้ 10% ในปีนี้
อย่างไรก็ตาม ในการที่ธุรกิจออนไลน์ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ทางผู้บริหารพันธุ์ทิพย์ก็มองว่า ท้ายที่สุดแล้วธุรกิจออนไลน์ และออฟไลน์ก็จะกลายเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะปัจจุบัน ร้านค้าส่วนใหญ่ก็มีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ แต่พันธุ์ทิพย์จะสะดวกในการเป็นจุดจัดส่งสินค้า รวมถึงการที่อำนวยความสะดวกให้แก่ร้านค้าด้วยการให้บริการของไปรษณีย์ไทย และช่องทางอื่นๆ ทำให้ร้านค้าสามารถปรับการจำหน่ายให้สอดคล้องกันได้
“จุดแข็งของร้านค้าในพันธุ์ทิพย์ คือ ความน่าเชื่อถือทั้งจากของร้านค้า และจากความเชื่อมั่นของแบรนด์สินค้าที่จำหน่าย เพราะแต่ละร้านเปิดให้บริการมาไม่ต่ำกว่า 25 ปี ซึ่งถ้าร้านค้าสามารถเข้าถึงธุรกิจออนไลน์ได้ ก็จะได้รับการตอบรับจากลูกค้าทั้งเก่า และใหม่ได้ดียิ่งขึ้น”



http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9590000078826&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+9-8-59&utm_campaign=20160808_m133413922_MGR+Morning+Brief+9-8-59&utm_term=_E0_B8_9B_E0_B8_A3_E0_B8_B1_E0_B8_9A_E0_B8_A5_E0_B8_B8_E0_B9_8A_E0_B8_81+_E2_80_9C_E0_B8_9E_E0_B8_B1

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.