Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 สิงหาคม 2559 (บทความ) หมดเวลาเผาหลอก ได้เวลาเผาจริง “ทีโอที” // แหล่งข่าว TOT ดูเหมือนสิ่งที่ทีโอทีทำเพื่อให้องค์กรอยู่รอดในแต่ละยุทธศาสตร์จะไม่สัมฤทธิผลสักอย่าง เพราะมีใครบางคนไม่อยากให้ทีโอทีรอด

ประเด็นหลัก


แหล่งข่าววงในจาก ทีโอที ให้ความเห็นว่า ดูเหมือนสิ่งที่ทีโอทีทำเพื่อให้องค์กรอยู่รอดในแต่ละยุทธศาสตร์จะไม่สัมฤทธิผลสักอย่าง เพราะมีใครบางคนไม่อยากให้ทีโอทีรอด ถ้าต้องการให้ทีโอทีตาย ก็บอกมาเลยว่าไม่ต้องทำอะไร เพราะทำไปก็ไม่ได้รับการสนับสนุน แผนที่วางไว้มันเป็นแผนระยะยาว ไม่ใช่มาฟื้นกันในวันสองวัน
อย่างโครงการบรอดแบนด์หมู่บ้าน ซึ่งจริงๆ ตามโรดแมปต้องเริ่มได้แล้วตั้งแต่ต้นปี แต่จนแล้วจนรอดก็มีปัญหาภายในกระทรวงไอซีที งบประมาณ 15,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นงบประมาณที่มากที่สุดเท่าที่กระทรวงไอซีทีเคยได้รับมา แต่กลับกลายเป็นว่า ให้คนมือไม่ถึงมาทำ อย่างนี้ถือเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก ซึ่งเชื่อได้ว่ามีหลายเรื่องที่ซุกอยู่ใต้พรม จนทำให้รองปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องต้องลาออกในเดือน ก.ย.นี้ ทั้งๆ ที่เหลือเวลาอีกไม่กี่ปีก็จะเกษียณแล้ว ซึ่งว่ากันว่าเป็นเพราะทีโออาร์ของโครงการนี้เป็นเหตุ


________________________________


หมดเวลาเผาหลอก ได้เวลาเผาจริง “ทีโอที”

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่อดีตเคยเป็นรัฐวิสาหกิจที่กุมหัวใจระบบสื่อสารของประเทศ แต่วันนี้ภายใต้การบริหารของบอร์ดที่คลอดจากคสช. และผู้บริหารระดับสูงสุดที่บอร์ดแต่งตั้ง กำลังก้าวลงเหวอย่างสง่างาม เป็นไปตามหมากของคนบางกลุ่มที่จ้องผลประโยชน์คนละด้าน แก้แค้นผู้บริหารคนละพวก ที่เดินเกมประสานกัน แต่สุดท้ายเคราะห์กรรมกลับตกใส่ทีโอที อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
วันนี้เห็นได้ชัดแล้วว่า เส้นทางพลิกฟื้นทีโอที ไม่ว่าจะเดินทางไหนกลับตีบตัน และแคบสั้นไปหมด ในขณะที่ท่าทีภาครัฐก็ซ้ำเติมมากกว่าจะช่วยเยียวยา
สังเกตง่ายๆ โครงการบรอดแบนด์หมู่บ้านที่ตอนแรกเหมือนจะดูดี เพราะรัฐบาลผ่านการให้สัมภาษณ์ นายอุตตม สาวนายน รมว.ไอซีที เมื่อราวกลางเดือน เม.ย.59 ว่า จะมอบหมายให้ทีโอที ดำเนินการติดตั้งโครงการบรอดแบนด์หมู่บ้านกว่า 30,000 แห่ง ด้วยงบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อตอบแทนที่ไม่โวยวายเรื่องนำคลื่น 900 MHz ไปประมูล
แต่ไปๆ มาๆ กลายเป็นว่า เมื่อเกิดอีเวนต์ มาร์เกตติ้งเรื่อง ไทยแลนด์ 4.0 เรื่องประสานพลังประชารัฐ โครงการนี้ก็ถูกเปลี่ยนชื่อไปเรียบร้อยโรงเรียนประชารัฐ โดยในช่วงบ่ายวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา นายอุตตม ได้แสดงปาฐกถา เรื่อง พลิกบริบทประเทศไทยสู่ดิจิตอล Digital Transformation ในโอกาสการสัมมนาวิชาการ ของสมาคมศิษย์เก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ ศูนย์ราชการได้เปลี่ยนชื่อโครงการบรอดแบนด์หมู่บ้าน เป็น โครงการอินเทอร์เน็ตประชารัฐ
สอดคล้องต่อการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้สั่งการให้โรงเรียนในโครงการโรงเรียนประชารัฐ ประสานงานให้ความร่วมมือกับกลุ่มทรู ที่จะเข้าสำรวจเรื่องการติดตั้งอินเทอร์เน็ต ไฟเบอร์ ไปที่โรงเรียน และการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต (Lan) คอมพิวเตอร์และระบบโทรทัศน์ภายในโรงเรียน โดยสำรวจสภาพพื้นที่ภายในโรงเรียน รวมถึงจำนวนห้องเรียน ท่าทีที่เกิดขึ้นทำเอาผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที กล่าวอย่างหมดหวังว่า “จบแล้ว USO TOT ยุคนี้ขอไว้อาลัย” แถมบอกด้วยว่า โครงการบรอดแบนด์หมู่บ้านโดนเอกชนตอดไปอีกหมื่นกว่าแห่ง ซึ่งเป็นการพูดในช่วงปลายเดือน ก.ค.59 ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ อาจไม่รู้ว่าทีโอทีอาจรับประทานแห้ว
ไม่เพียงเท่านั้น แผนพลิกฟื้นธุรกิจจากการหาพันธมิตรมาให้บริการโทรศัพท์มือถือของทีโอที ก็ถูกดองเค็มยืดไปเรื่อยๆ ไม่มีกำหนด เพราะดันไปเลือกเอไอเอส ที่เป็นคู่แข่งทางตรงกับเอกชนประชารัฐเข้า ซึ่งจนป่านนี้ยังไม่รู้ว่าคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นอย่างไร ต้องผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หรือไม่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีในวงการแล้วว่า ผู้บริหารระดับสูงมากๆ ของใคร มีความเชี่ยวชาญชำนาญใกล้ชิดกับเรื่องกฎหมาย
แหล่งข่าววงในจาก ทีโอที ให้ความเห็นว่า ดูเหมือนสิ่งที่ทีโอทีทำเพื่อให้องค์กรอยู่รอดในแต่ละยุทธศาสตร์จะไม่สัมฤทธิผลสักอย่าง เพราะมีใครบางคนไม่อยากให้ทีโอทีรอด ถ้าต้องการให้ทีโอทีตาย ก็บอกมาเลยว่าไม่ต้องทำอะไร เพราะทำไปก็ไม่ได้รับการสนับสนุน แผนที่วางไว้มันเป็นแผนระยะยาว ไม่ใช่มาฟื้นกันในวันสองวัน
อย่างโครงการบรอดแบนด์หมู่บ้าน ซึ่งจริงๆ ตามโรดแมปต้องเริ่มได้แล้วตั้งแต่ต้นปี แต่จนแล้วจนรอดก็มีปัญหาภายในกระทรวงไอซีที งบประมาณ 15,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นงบประมาณที่มากที่สุดเท่าที่กระทรวงไอซีทีเคยได้รับมา แต่กลับกลายเป็นว่า ให้คนมือไม่ถึงมาทำ อย่างนี้ถือเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก ซึ่งเชื่อได้ว่ามีหลายเรื่องที่ซุกอยู่ใต้พรม จนทำให้รองปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องต้องลาออกในเดือน ก.ย.นี้ ทั้งๆ ที่เหลือเวลาอีกไม่กี่ปีก็จะเกษียณแล้ว ซึ่งว่ากันว่าเป็นเพราะทีโออาร์ของโครงการนี้เป็นเหตุ
แต่เมื่อถาม นายอุตตม ถึงความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ก็ไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน ตอบแต่เพียงว่าไม่รู้เรื่องต้องถาม นางทรงพร โกมลสุรเดช ปลัดกระทรวงไอซีที ส่วนเรื่องโครงการบรอดแบนด์หมู่บ้านจะทำได้ตามเป้า คือ ต้องติดตั้งให้เสร็จ 30,000 จุด ภายในปี 2560 ส่วนทีโออาร์ได้จัดทำเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้าง คาดว่าจะได้ผู้ดำเนินการวางโครงข่ายภายในเดือน ก.ย. และหลังจากนั้น จะให้ผู้ที่ได้รับเลือกดำเนินการวางโครงข่ายในทันที ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวแม้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการดำเนินกระบวนการต่างๆ อย่างรอบคอบ แต่ทางกระทรวงไอซีที ยังมั่นใจว่าการดำเนินการดังกล่าวยังเป็นไปตามกรอบเวลาเดิมคือ จะสามารถติดตั้งได้เพิ่ม 10,000หมู่บ้าน ในสิ้นปี 2559 และครบทุกหมู่บ้านในปี 2560
ถึงแม้ทีโออาร์จะเสร็จแล้ว แต่ขั้นตอนต่อไปก็ดูจะคลุมเครือมาก เพราะอาจจะใช้วิธีพิเศษ และเชิญเอกชนรายอื่นเข้าร่วมประมูลด้วย ไม่ใช่แค่ทีโอที ซึ่งเมื่อถาม น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงไอซีที ที่เป็นประธานคณะทำงานจัดซื้อจัดจ้าง ก็ตอบแบบกลางๆ ว่า เมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา ตนเพิ่งได้รับร่างทีโออาร์ จึงได้เรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อหาแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างร่วมกัน โดยขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งคาดการณ์ว่ากระบวนการจะแล้วเสร็จตามที่ นายอุตตม กำหนดไว้อย่างแน่นอน
นอกจากเตะตัดขาโครงการบรอดแบนด์ ดองเค็มการหาพันธมิตร ทีโอทียังเผชิญวิกฤตการแตกบริษัทลูก คัดแต่ของดีเพื่อควบรวมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม อาจเพื่อรอหาพันธมิตรเอกชนมาฮุบ ทั้งๆ ที่ในอดีตก็เคยร่วมกันใน “ไทยโมบาย” จนเจ๊งมาแล้ว แต่คนตัดสินใจ และผู้มีอำนาจคงไม่สน หากสหภาพฯ บ้อท่า ก็คงจบเพราะผู้บริหารไม่กล้าแตกแถว ส่วนที่เหลือในบริษัทแม่ ทีโอที อาจจะเหลือคนสัก 4,000 คน กสท อาจเหลือ 2,500 คน พร้อมกอดอนาคตที่มืดมน นอนหลับฝันร้ายตลอดไป


http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000082438&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+18-8-59&utm_campaign=20160817_m133569896_MGR+Morning+Brief+18-8-59&utm_term=_E0_B8_AB_E0_B8_A1_E0_B8_94_E0_B9_80_E0_B8_A7_E0_B8_A5_E0_B8_B2_E0_B9_80_E0_B8_9C_E0_B8_B2_E0_B8_AB_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.