Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 กันยายน 2559 นายชยพลปกรณ์ ศรัทธาณรงค์ ผู้เสียหาย กล่าวว่า ข้อมูลที่ตนได้มาจากผู้หวังดีนั้นมีจำนวนกว่า 100 เลขหมาย ที่มีการนำข้อมูลระบุตำแหน่งที่อยู่ ซึ่งมีการติดตามข้อมูลตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งหากเอไอเอสมีมาตรการในการป้องกัน เหตุใดจึงไม่รู้ตั้งแต่แรก จึงต้องการให้ กสทช.ตรวจสอบ

ประเด็นหลัก




นายชยพลปกรณ์ ศรัทธาณรงค์ ผู้เสียหาย กล่าวว่า ข้อมูลที่ตนได้มาจากผู้หวังดีนั้นมีจำนวนกว่า 100 เลขหมาย ที่มีการนำข้อมูลระบุตำแหน่งที่อยู่ ซึ่งมีการติดตามข้อมูลตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งหากเอไอเอสมีมาตรการในการป้องกัน เหตุใดจึงไม่รู้ตั้งแต่แรก จึงต้องการให้ กสทช.ตรวจสอบ ซึ่งตนเองพร้อมจะเป็นตัวแทนผู้ใช้งานทุกคนที่อาจจะเจอเหตุการณ์เช่นนี้เหมือนกัน ไม่เพียงแต่ค่ายมือถือ เอไอเอส เท่านั้น แต่รวมไปถึงทุกค่ายด้วย เพื่อให้มีมาตรการที่รัดกุมมากกว่านี้


________________________________________




กสทช.ขอฟ้องร่วม เอไอเอสขายข้อมูล ยันไม่ใช่ผู้บริหาร


กสทช.ชี้เป็นผู้เสียหายร่วมฟ้องพนักงานเอไอเอสขายข้อมูล ด้านเอไอเอสแจงบริษัทไม่เกี่ยวข้อง เผยผู้กระทำผิดตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญไอทีไม่ใช่ผู้บริหาร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.40 น. นายชยพลปกรณ์ ศรัทธาณรงค์ ผู้เสียหายกรณีถูกขโมยข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบเครือข่ายของ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส เข้ายื่นเอกสารคำร้องเพื่อขอความเป็นธรรมต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และต่อมาในเวลา 10.00 น. คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงได้หารือในกรณีนี้ ซึ่งมีตัวแทนจากเอไอเอสเข้าชี้แจงข้อมูล

โดยต่อมาเวลา 12.30 น. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยหลังการหารือว่า หลังจากได้ข้อมูลจากทางเอไอเอส และผู้เสียหาย รวมถึงตรวจสอบกฎหมายต่างๆ ของ กสทช. พบว่า ตามมาตรา 32 ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุว่า ในกรณีที่มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือข้อมูลอื่นใดที่มีการสื่อสารโทรคมนาคมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ถือว่า กสทช.เป็นผู้เสียหายด้วย โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 7 วัน เสนอที่ประชุม กสทช.เพื่อพิจารณาให้สำนักงานเป็นผู้เสียหายร่วมฟ้องในคดีอาญาต่อพนักงานเอไอเอสที่กระทำความผิดดังกล่าว

นายชยพลปกรณ์ ศรัทธาณรงค์ ผู้เสียหาย กล่าวว่า ข้อมูลที่ตนได้มาจากผู้หวังดีนั้นมีจำนวนกว่า 100 เลขหมาย ที่มีการนำข้อมูลระบุตำแหน่งที่อยู่ ซึ่งมีการติดตามข้อมูลตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งหากเอไอเอสมีมาตรการในการป้องกัน เหตุใดจึงไม่รู้ตั้งแต่แรก จึงต้องการให้ กสทช.ตรวจสอบ ซึ่งตนเองพร้อมจะเป็นตัวแทนผู้ใช้งานทุกคนที่อาจจะเจอเหตุการณ์เช่นนี้เหมือนกัน ไม่เพียงแต่ค่ายมือถือ เอไอเอส เท่านั้น แต่รวมไปถึงทุกค่ายด้วย เพื่อให้มีมาตรการที่รัดกุมมากกว่านี้

ด้าน นางวิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์เอไอเอส บริษัทขอยืนยันว่า กรณีดังกล่าวพนักงานผู้กระทำผิดมีตำแหน่งเป็น IT Specialist เทียบเท่าระดับผู้ชำนาญการ ไม่ใช่ระดับผู้บริหารตามที่เป็นข่าว โดยลักษณะงานเป็นการได้รับสิทธิ์เป็นการเฉพาะ (Token และ Password) ในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นงานที่ต้องทำเพียงลำพัง จึงไม่อาจทราบว่ามีการกระทำผิดดังกล่าวเกิดขึ้น.

http://www.thaipost.net/?q=กสทชขอฟ้องร่วม-เอไอเอสขายข้อมูล-ยันไม่ใช่ผู้บริหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.