Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 กสทช. กสทช.เตรียมความพร้อมในการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz ของดีแทคที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในเดือน ก.ย.ปี 2561 จำนวน 45 MHz แล้ว

ประเด็นหลัก





นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ข้อเสนอของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่ต้องการจะให้ กสทช.เปิดประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า (Early Auction) นั้น ในความเห็นส่วนตัวไม่ขัดข้อง และแม้จะไม่ได้ระบุอย่างแน่ชัดในถ้อยคำว่าจะมีการประมูลคลื่นล่วงหน้า ใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... แต่ขณะนี้ได้ให้สำนักงาน กสทช.เตรียมความพร้อมในการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz ของดีแทคที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในเดือน ก.ย.ปี 2561 จำนวน 45 MHz แล้ว
เบื้องต้น สำนักงาน กสทช.กำหนดกรอบเวลาไว้แล้วว่า คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของดีแทคจะสิ้นสุดสัญญาสัปมทานลงในวันที่ 30 ก.ย.2561 ซึ่งสำนักงาน กสทช.มีแผนจะเปิดประมูลล่วงหน้าก่อน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย.ปี 2561 คาดว่าร่างเงื่อนไขหลักเกณฑ์การประมูลจะแล้วเสร็จ จากนั้นใช้เวลา 60 วันในการประกาศฯ และคาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน มิ.ย.และหลังจากนั้น คาดว่าจะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ชนะการประมูลได้ประมาณเดือน ส.ค.2561 ทั้งนี้ ราคาใบอนุญาตขั้นต่ำของคลื่น 1800 MHz นั้นในความเห็นส่วนตัวต้องการให้ราคาไม่ต่ำกว่าราคาใบอนุญาตเดิม คือ 45,000 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาตในความถี่ 15 MHz

นายฐากร กล่าวว่า เชื่อว่าการประมูลครั้งนี้จะได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการ เนื่องจากอุตสาหกรรมยังคงต้องการคลื่นความถี่มาทำตลาด โดยปัจจุบันภาพรวมการใช้งานคลื่นความถี่ในประเทศไทยอยู่ที่ 400 MHz แต่อุตสาหกรรมต้องการคลื่นความถี่อย่างต่ำ 700 MHz เพื่อให้บริการ 4G ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเลขหมายให้บริการ 103 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นระบบ 2G เพียงแค่ 7 แสนเลขหมาย ที่เหลือเป็นระบบ 3G และ 4G ทั้งหมด










________________________________________________




กสทช.เห็นด้วยประมูล 1800 MHz ล่วงหน้า

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ดีแทคยิ้ม กสทช.เต็มใจเปิดประมูลคลื่น 1800 MHz ล่วงหน้า 6 เดือน เพื่อให้ออกใบอนุญาตได้ก่อนดีแทคจะหมดสัมปทานเดือน ก.ย.ปี 2561โดยไม่ต้องนำเข้าสู่มาตรการเยียวยา ย้ำราคาใบอนุญาตในความเห็นส่วนตัวต้องการให้ไม่ต่ำกว่าราคาใบอนุญาตเดิม คือ 45,000 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาต ในจำนวนความถี่ 15 MHz
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ข้อเสนอของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่ต้องการจะให้ กสทช.เปิดประมูลคลื่นความถี่ล่วงหน้า (Early Auction) นั้น ในความเห็นส่วนตัวไม่ขัดข้อง และแม้จะไม่ได้ระบุอย่างแน่ชัดในถ้อยคำว่าจะมีการประมูลคลื่นล่วงหน้า ใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ... แต่ขณะนี้ได้ให้สำนักงาน กสทช.เตรียมความพร้อมในการประมูลคลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz ของดีแทคที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในเดือน ก.ย.ปี 2561 จำนวน 45 MHz แล้ว
เบื้องต้น สำนักงาน กสทช.กำหนดกรอบเวลาไว้แล้วว่า คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของดีแทคจะสิ้นสุดสัญญาสัปมทานลงในวันที่ 30 ก.ย.2561 ซึ่งสำนักงาน กสทช.มีแผนจะเปิดประมูลล่วงหน้าก่อน 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย.ปี 2561 คาดว่าร่างเงื่อนไขหลักเกณฑ์การประมูลจะแล้วเสร็จ จากนั้นใช้เวลา 60 วันในการประกาศฯ และคาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน มิ.ย.และหลังจากนั้น คาดว่าจะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ชนะการประมูลได้ประมาณเดือน ส.ค.2561 ทั้งนี้ ราคาใบอนุญาตขั้นต่ำของคลื่น 1800 MHz นั้นในความเห็นส่วนตัวต้องการให้ราคาไม่ต่ำกว่าราคาใบอนุญาตเดิม คือ 45,000 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาตในความถี่ 15 MHz
นายฐากร กล่าวว่า เชื่อว่าการประมูลครั้งนี้จะได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการ เนื่องจากอุตสาหกรรมยังคงต้องการคลื่นความถี่มาทำตลาด โดยปัจจุบันภาพรวมการใช้งานคลื่นความถี่ในประเทศไทยอยู่ที่ 400 MHz แต่อุตสาหกรรมต้องการคลื่นความถี่อย่างต่ำ 700 MHz เพื่อให้บริการ 4G ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเลขหมายให้บริการ 103 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นระบบ 2G เพียงแค่ 7 แสนเลขหมาย ที่เหลือเป็นระบบ 3G และ 4G ทั้งหมด
ส่วนเรื่องการระบุเวลาล่วงหน้าว่าแต่ละคลื่นควรประมูลวันไหนใน พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่นั้น คิดว่าทำไม่ได้ เพราะจะมีผลกระทบต่อราคาคลื่น อย่างน้อยก็บอกได้ล่วงหน้า 6 เดือน ซึ่งเมื่อก่อน กสทช.ก็เคยกำหนดล่วงหน้านานในคลื่นของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) แต่ก็มีปัญหาฟ้องร้องกันอีกจนไม่สามารถประมูลได้ ดังนั้น จึงต้องเขียนให้เป็นการตัดสินใจของคณะกรรมการ กสทช.

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000099446&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+5-10-59&utm_campaign=20161004_m134719108_MGR+Morning+Brief+5-10-59&utm_term=_E0_B8_81_E0_B8_AA_E0_B8_97_E0_B8_8A__E0_B9_80_E0_B8_AB_E0_B9_87_E0_B8_99_E0_B8_94_E0_B9_89_E0_B8_A7

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.