Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 TOT ทดสอบสัญญาญ AIS บนคลื่น 2100 เป็นเวลา 6 เดือน จะจ่ายค่าโรมมิ่งให้กับทีโอทีในมูลค่า 325 ล้านบาทต่อเดือน โดยในช่วงแรกคาดว่าเอไอเอสจะโรมมิ่งใช้คลื่นจำนวน 5-10 เมกะเฮิรตซ์ และในอนาคต มีแนวโน้มว่าจะใช้คลื่นทั้งหมดคือ 15 เมกะเฮิรตซ์

ประเด็นหลัก










ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ก.ย.59 ที่ผ่านมา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในสัญญาทดสอบระบบการใช้บริการข้ามโครงข่าย (โรมมิ่ง) เชิงพาณิชย์ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ กับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือเอดับบลิวเอ็น ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เป็นเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาเป็นต้นไป โดยเอเอสไอจะจ่ายค่าโรมมิ่งให้กับทีโอทีในมูลค่า 325 ล้านบาทต่อเดือน โดยในช่วงแรกคาดว่าเอไอเอสจะโรมมิ่งใช้คลื่นจำนวน 5-10 เมกะเฮิรตซ์ และในอนาคต มีแนวโน้มว่าจะใช้คลื่นทั้งหมดคือ 15 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากเอไอเอสมีลูกค้าจำนวนมากถึง 45 ล้าน เลขหมาย

ทั้งนี้ ในระหว่างนี้ทีโอทีและเอไอเอสจะร่วมกันร่างสัญญาโรมมิ่งฉบับจริง เพื่อนำส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ และนำไปสู่การลงนามอีกครั้งใน 6 เดือนข้างหน้า โดยสัญญาฉบับจริงนั้น จะสิ้นสุดในปี 2568 ตามระยะเวลาใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทีโอที ที่ได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)





________________________________________________




ลงนามสัญญาเอไอเอส-ทีโอที บรรลุข้อตกลงทดลองโรมมิ่งคลื่น 2100



เอไอเอสฝันเป็นจริง จรดปากกาลงนามสัญญาโรมมิ่งคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์กับทีโอทีเสียที หลัง “อุตตม” พ้นตำแหน่งไม่กี่วัน ปูทางอีก 6 เดือนลงนามในสัญญาจริงต่อลมหายใจทีโอทีรับตังค์เดือนละ 325 ล้านบาท

โดยสัญญาโรมมิ่งกับทีโอทีจะทำให้เอไอเอสมีคลื่นให้บริการเทียบเท่าทรูที่ 55 เมกะเฮิรตซ์ในที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ก.ย.59 ที่ผ่านมา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในสัญญาทดสอบระบบการใช้บริการข้ามโครงข่าย (โรมมิ่ง) เชิงพาณิชย์ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ กับบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือเอดับบลิวเอ็น ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส เป็นเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาเป็นต้นไป โดยเอเอสไอจะจ่ายค่าโรมมิ่งให้กับทีโอทีในมูลค่า 325 ล้านบาทต่อเดือน โดยในช่วงแรกคาดว่าเอไอเอสจะโรมมิ่งใช้คลื่นจำนวน 5-10 เมกะเฮิรตซ์ และในอนาคต มีแนวโน้มว่าจะใช้คลื่นทั้งหมดคือ 15 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากเอไอเอสมีลูกค้าจำนวนมากถึง 45 ล้าน เลขหมาย

ทั้งนี้ ในระหว่างนี้ทีโอทีและเอไอเอสจะร่วมกันร่างสัญญาโรมมิ่งฉบับจริง เพื่อนำส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ และนำไปสู่การลงนามอีกครั้งใน 6 เดือนข้างหน้า โดยสัญญาฉบับจริงนั้น จะสิ้นสุดในปี 2568 ตามระยะเวลาใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทีโอที ที่ได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงนามในสัญญาระหว่างเอไอเอสและทีโอทีนั้น ได้ถูกส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบแล้ว รวมทั้งสอบถามความเห็นไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ด้วยซึ่งทุกฝ่ายเห็นว่า หากลักษณะสัญญาเป็นแบบเดียวกับสัญญาการทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่เพื่อให้บริการ 3 จี ด้วยเทคโนโลยีเอชเอสพีเอ ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคทกับบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก็สามารถดำเนินการได้

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าการลงนามในสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังนายอุตตม สาวนายน อดีต รมว.ไอซีที ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งไม่ถึง 1 สัปดาห์ โดยตลอด 1 ปีที่ดำรงตำแหน่งนายอุตตมเปิดเผยกับสื่อมวลชนเสมอว่า พยายามเร่งรัดให้ทีโอทีลงนามเป็นพันธมิตรกับเอไอเอสเสียที เพราะจะทำให้ทีโอทีมีรายได้เพิ่มขึ้นราว 10,000 ล้านบาทต่อปี ช่วยลดการขาดทุน เพราะปีนี้คาดว่าทีโอทีจะขาดทุนราว 10,000 ล้านบาท

โดยในฝั่งของเอไอเอส ได้เพียรพยายามผลักดันการเป็นพันธมิตรร่วมกับทีโอทีมามากกว่า 2 ปีแล้ว เนื่องจากเอไอเอสต้องการใช้คลื่นเป็นจำนวนมากเพื่อให้บริการลูกค้ารองรับการใช้งานในยุคปัจจุบัน ซึ่งเน้นการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือ ทำให้ผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีคลื่นจำนวนมาก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยขณะนี้ทรูเป็นผู้ให้บริการที่มีคลื่นมากที่สุด รวมกัน 55 เมกะเฮิรตซ์ หากเอไอเอสได้ใช้คลื่น 2100 ของทีโอทีทั้งจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์จะทำให้ปริมาณคลื่นที่ใช้บริการของทั้ง 2 ค่ายเท่ากันในที่สุด

ทั้งนี้ การลงนามดังกล่าว จะทำให้ทีโอทีมีรายได้จากเอไอเอสเพิ่มอีกเดือนละ 325 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ตั้งแต่เดือน ก.ค.59 ที่ผ่านมา ทีโอทีมีรายได้จากการให้เอไอเอสเช่าใช้เสาโทรคมนาคมและอุปกรณ์ 2 จีเดือนละ 485 ล้านบาท หลังเอไอเอสรับช่วงประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์มาจากแจสโมบาย เพื่อมาให้บริการลูกค้า 2 จีที่ยังเหลืออยู่

โดยการเป็นพันธมิตรระหว่าง 2 หน่วยงาน ประกอบด้วย

1.สัญญาการทดลองให้บริการเชิงพาณิชย์
2.สัญญาเช่าใช้โครงข่ายโทรคมนาคมจากเอดับเบิลยูเอ็น (บริษัทลูกของเอไอเอส)
3.สัญญาการใช้บริการข้ามโครงข่าย (โรมมิ่ง)
4.สัญญาการเช่าเสาโทรคมนาคม จำนวน 13,000 ต้น ที่ทีโอทีได้รับมอบภายใต้สัญญาสัมปทาน
5.สัญญาเช่าอุปกรณ์โทรคมนาคม ที่เอไอเอสได้ส่งมอบตามสัญญาสัมปทาน

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติให้สำนักงาน กสทช.ส่งรายงานสรุปตัวเลขรายได้และค่าใช้จ่ายจากการใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์นับตั้งแต่วันสิ้นสุดสัญญาสัมปทานจนถึงวันออกใบอนุญาตการใช้คลื่นให้กับผู้ชนะประมูล หรือตั้งแต่ 16 ก.ย.56 -3 ธ.ค.58 ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และกระทรวงการคลังพิจารณาตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อความชัดเจน

“การคำนวณรายได้และค่าใช้จ่าย เพื่อนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ระหว่างสำนักงาน กสทช.กับคณะทำงานเยียวยาการใช้คลื่น 1800 หลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดนั้น มีความแตกต่างกันมากโดยของคณะทำงานเยียวยาสรุปตัวเลขที่ 14,868 ล้านบาท ขณะที่สำนักงาน กสทช.เคาะตัวเลขที่ 2,241 ล้านบาท”

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/730200

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.