Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 เม็ดเงินโฆษณาได้ไหลเข้าช่องทีวีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ โดย ก.ค. 2559 มีมูลค่า 6,247 ล้านบาท เพิ่มจากเดือนก่อน 2.68% เมื่อเจาะเฉพาะช่องรายการใหม่พบว่าเพิ่มขึ้น 83 ล้านบาท หรือ 4.75% ดึงเม็ดเงินโฆษณาได้ 46% ช่องดิจิทัลใหม่ 17% เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม 4% วิทยุ 5% อื่น ๆ 28%

ประเด็นหลัก





ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาได้ไหลเข้าช่องทีวีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ โดย ก.ค. 2559 มีมูลค่า 6,247 ล้านบาท เพิ่มจากเดือนก่อน 2.68% เมื่อเจาะเฉพาะช่องรายการใหม่พบว่าเพิ่มขึ้น 83 ล้านบาท หรือ 4.75%

แต่เมื่อเทียบระหว่างเม็ดเงินโฆษณาช่องรายการเดิมกับช่องดิจิทัลรายใหม่ จะอยู่ที่ 71 ต่อ 29 ขยับจากปีที่แล้วที่อยู่ในสัดส่วน 75 ต่อ 25

ขณะที่ภาพรวมมูลค่าโฆษณาในธุรกิจสื่อพบว่า ช่องทีวีรายเดิมยังดึงเม็ดเงินโฆษณาได้ 46% ช่องดิจิทัลใหม่ 17% เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม 4% วิทยุ 5% อื่น ๆ 28%



_________________________________________






ส่องสภาพตลาด "ทีวีดิจิทัล" 2 ปี 5 เดือน ความนิยมพุ่ง 5 เท่า


สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยผลการศึกษาสภาพตลาดกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลของไทยล่าสุด ณ เดือน ส.ค. 2559 ระบุว่า ภาพรวมกิจการในปี 2559 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านแนวโน้มที่สัดส่วนผู้ชมทีวีดิจิทัลมีมากขึ้นเรื่อย ๆ จากข้อมูลของ เอจีบี เน็ลสัน

ปัจจุบันสัดส่วนผู้รับชมทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินอยู่ที่ 81% ขณะที่ช่องทีวีดาวเทียมและเคเบิลอยู่ที่ 19% เป็นผลจากจำนวนช่องที่มีมากขึ้น รวมถึงการแข่งขันกันผลิตเนื้อหาเพื่อสร้างฐานผู้ชมที่รุนแรงขึ้นในตลาดทีวีดิจิทัล ทั้งมีภาพที่คมชัดกว่าช่องทีวีดาวเทียมและเคเบิล จึงดึงผู้ชมให้เปลี่ยนมารับชมได้ไม่ยาก ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล

ขณะที่ความนิยมในช่องทีวีดิจิทัลช่องใหม่ยังเติบโตขึ้นด้วย จากข้อมูล ณ ส.ค. 2559 มีผู้ชมช่องดิจิทัลช่องใหม่ 48.77% ส่วนผู้ชมช่องทีวีเดิม (ช่อง 3, 5, 7, 9 NBT และ ThaiPBS) อยู่ที่ 51.23% เพิ่มจากเดือนก่อนหน้า 2.83% และหากย้อนไปเมื่อเริ่มออกอากาศ เม.ย. 2557 พบว่าเติบโตกว่า 5 เท่า ภายในเวลา 2 ปี 5 เดือน

ปัจจัยที่คาดว่าจะทำให้มีการเติบโตในระดับนี้ เนื่องจากการแข่งขันของผู้ประกอบการและผู้ผลิตที่พยายามพัฒนาคอนเทนต์ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายแตกต่างไปตามความถนัดรวมถึงการใช้การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬามาดึงดูด ประกอบกับการขยายโครงข่ายตามแผน จึงน่าจับตาว่าช่องทีวีดิจิทัลรายใหม่จะสร้างฐานผู้ชมแซงรายเก่าได้ไหมหลังสัดส่วนใกล้เคียงกันมากแล้ว



เม็ดเงินโฆษณาไหลเข้า

ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาได้ไหลเข้าช่องทีวีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ โดย ก.ค. 2559 มีมูลค่า 6,247 ล้านบาท เพิ่มจากเดือนก่อน 2.68% เมื่อเจาะเฉพาะช่องรายการใหม่พบว่าเพิ่มขึ้น 83 ล้านบาท หรือ 4.75%

แต่เมื่อเทียบระหว่างเม็ดเงินโฆษณาช่องรายการเดิมกับช่องดิจิทัลรายใหม่ จะอยู่ที่ 71 ต่อ 29 ขยับจากปีที่แล้วที่อยู่ในสัดส่วน 75 ต่อ 25

ขณะที่ภาพรวมมูลค่าโฆษณาในธุรกิจสื่อพบว่า ช่องทีวีรายเดิมยังดึงเม็ดเงินโฆษณาได้ 46% ช่องดิจิทัลใหม่ 17% เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม 4% วิทยุ 5% อื่น ๆ 28%

คูปองส่วนลดแรงดึงดูดคนดู

ฟากผลวิจัยโครงการศึกษาผลการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลโดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดทำขึ้นจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างกระจายตามภาคทั้งหมด 6,000 ตัวอย่างพบว่า มี 50% ของกลุ่มตัวอย่างที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ที่รับชมในระบบความคมชัดสูง HD ได้ และกว่า 20% รับชมทีวีมากกว่า 1 ระบบ มีเพียง 9.7% เท่านั้นที่รับชมผ่านระบบทีวีแอนะล็อกเท่านั้น

ขณะที่ 40% รับชมผ่านทีวีดิจิทัล โดยในกลุ่มนี้ 83% ชมโดยติดตั้งกล่อง Set-top-box อีก 17% ใช้ทีวีที่มีอุปกรณ์รับสัญญาณดิจิทัลในตัว และ 65% ใช้สายอากาศก้างปลา74.4% ของกลุ่มตัวอย่างได้คูปองส่วนลดจาก กสทช. แต่มี 72.6% ที่นำไปแลกซื้อ ซึ่งในจำนวนนี้ 83% พึงพอใจมาก ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับคูปอง กว่าครึ่งมาจากไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน อีก 12% ที่อยู่อาศัยไม่เข้าเกณฑ์การแจกของ กสทช.

สำหรับจุดเด่นของการรับชมทีวีในระบบดิจิทัลที่กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจมากที่สุดคือ การมีภาพคมชัดสูงและมีหลายช่อง

ให้เลือกดูมากกว่าเดิม และมีความเห็นว่า หาก กสทช.จะสนับสนุนการแจกคูปองให้ทุกครัวเรือนโดยไม่ต้องมีเงื่อนไขการเป็นเจ้าของบ้าน และมีบริการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณให้ด้วย จะช่วยทำให้ประชาชนได้ใช้ทีวีดิจิทัลมากขึ้น โดยในผลสำรวจพบว่า มี 21% ของกลุ่มตัวอย่างต้องใช้ช่างเทคนิคในการติดตั้งอุปกรณ์

จากข้อมูลส่วนนี้ "ผศ.เจตน์ศักดิ์ แสงสิงแก้ว" รองหัวหน้าโครงการศึกษาฯ ชี้ให้เห็นว่า การที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับชมทีวีดาวเทียมอยู่แล้วจึงไม่รู้สึกว่าหากยุติการแพร่ภาพทีวีในระบบแอนะล็อกจะทำให้มีปัญหาในการรับชมโทรทัศน์เพราะอย่างไรก็ดูผ่านทีวีดาวเทียมที่ใช้อยู่ประจำได้อยู่แล้ว ขณะที่ทีวีดิจิทัลยังถือเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย แม้ว่าจะมีการรับรู้ข้อมูลผ่านโฆษณา "น้องดูดี" อยู่บ้างแล้วก็ตาม

เรตติ้งยังเกาะกลุ่ม

ความนิยมในการรับชมของช่องทีวีดิจิทัล ณ ก.ค. 2559 ข้อมูลจากเอจีบี เน็ลสัน แบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่มีเรตติ้งมากกว่า 1.0 ได้แก่ ช่อง 3HD (33) ช่อง 23 เวิร์คพ้อยท์ ช่อง 7HD 2.กลุ่มที่มีเรตติ้ง 0.6-1.0 ได้แก่ ช่อง MONO 29 ช่อง ONE 31 ช่อง 8 3.กลุ่มที่มีเรตติ้ง 0.3-0.6 ได้แก่ ไทยรัฐทีวีช่อง 32 ช่อง 3SD(28) 4.กลุ่มเรตติ้ง 0.1-0.3 ได้แก่ ช่องเนชั่น 22 ช่อง true4u (24) ช่อง GMM25 ช่อง NOW26 ช่อง 3Family (13) ช่องอมรินทร์ทีวี 34 ช่อง MCOT30 ช่อง PPTV36 ช่องไทย

พีบีเอส 5.กลุ่มที่มีเรตติ้งน้อยกว่า 0.1 ได้แก่ ช่อง ททบ.5 ช่อง สทท.11 ช่อง TNN (16) ช่อง Voice21 ช่อง Bright TV20 ช่องสปริงนิวส์ 19 ช่อง NewTV18 และช่อง Mcot Family 14

"โดยพฤติกรรมของผู้ชมจะเลือกจดจำคอนเทนต์แล้วค่อยกดหาเลขช่องในภายหลัง"

ทั้งขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่ผู้บริโภคกำลังตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนมาดูทีวีดิจิทัลหรือไม่ซึ่ง 2 สิ่งจูงใจสำคัญ ความคมชัดและความหลากหลาย แต่ด้านลบก็มีคือระบบที่ยังไม่เสถียร ฉะนั้น กสทช.ต้องประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบอย่างชัดเจนว่า ณ ขณะนี้กำลังดำเนินการแก้ไขใดอยู่บ้าง เพื่อให้มีความมั่นใจในการเลือกรับชม รวมถึงพิจารณาการแจกคูปองส่วนลดเพิ่มเติมเพื่อดึงดูดผู้ชม "ผศ.เจตน์ศักดิ์ แสงสิงแก้ว" รองหัวหน้าโครงการกล่าวเสริม

กสทช.หาทางช่วยผู้ประกอบการ

ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เปิดเผยว่า ยังคงเดินหน้าหาแนวทางที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิทัลให้อยู่รอดได้ นอกเหนือจากที่ได้เสนอแนวทางการเยียวยาและช่วยเหลือผู้ประกอบการให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อย (คสช.) พิจารณาไปแล้ว ซึ่งขณะนี้กำลังรอคำตอบ ล่าสุดบอร์ด กสทช.ได้อนุมัติการออกประกาศ กสทช. เรื่องค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ ฉบับใหม่ที่ได้ปรับลดค่าไลเซนส์รายปีลงจากเดิมที่กำหนดเป็น 2 ช่วง

รายได้คือ หากผู้ประกอบการมีรายได้ 0-5 ล้านบาท คิดค่าไลเซนส์ 1.5% และหากมีรายได้เกิน 5 ล้านบาทจะเสียค่าไลเซนส์ 2% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย

โดยประกาศ กสทช. ฉบับใหม่ จะคิดค่าไลเซนส์แบ่งตามฐานรายได้เป็น 5 ขั้น เริ่มต้นที่ 0.5% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย 5 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกิน 5 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดค่าธรรมเนียม 0.75% ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท เสียค่าไลเซนส์ 1% ส่วนที่เกิน 500 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท อยู่ที่เก็บในอัตรา 1.75% และอัตราค่าไลเซนส์สูงสุด 2% สำหรับรายได้เกิน 1,000 ล้านบาท

ด้าน พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า การลดค่าธรรมเนียมเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาทางการเงินโดยเฉพาะทีวีดิจิทัล ซึ่งที่ผ่านเจ้าของช่องรายใหญ่ที่มีรายได้เกิน 1,000 ล้านบาท มีเพียง 3-5 รายเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายเล็กและรายกลาง

ขณะเดียวกันหากผู้ประกอบการรายใดมีการผลิตรายการที่มีเนื้อหาสาระเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเข้าเกณฑ์ประกาศกสทช. ยังสามารถยื่นเรื่องขอลดหย่อนค่าไลเซนส์รายปีได้อีกด้วย อาทิ หากช่องรายการประเภทบริการธุรกิจมีรายการที่มีเนื้อหาสาระมากกว่า 50% ของผังรายการจะสามารถลดหย่อนค่าธรรมเนียมได้ 15%

ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat

ติดตามอ่านข่าวสารจากประชาชาติออนไลน์
ดาวน์โหลดผ่านแอปพลิเคชั่น >> Prachachat << ได้แล้ววันนี้



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475423120

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.