Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 ตุลาคม 2559 ด้านไอซีทีของประเทศไทยดีขึ้น โดยสหประชาชาติได้ประเมินว่าประเทศไทยได้พัฒนาด้านไอซีทีอย่างจริงจัง ทำให้ในปี 2559 ก้าวขึ้นไปอยู่อันดับ 77 จาก 193 ประเทศ เลื่อนขึ้นจากปี 2557 ถึง 25 อันดับ และเป็นลำดับที่ 4 ของอาเซียน

ประเด็นหลัก



โดย นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า อันดับความพร้อมด้านไอซีทีของประเทศไทยดีขึ้น โดยสหประชาชาติได้ประเมินว่าประเทศไทยได้พัฒนาด้านไอซีทีอย่างจริงจัง ทำให้ในปี 2559 ก้าวขึ้นไปอยู่อันดับ 77 จาก 193 ประเทศ เลื่อนขึ้นจากปี 2557 ถึง 25 อันดับ และเป็นลำดับที่ 4 ของอาเซียน ซึ่งการพัฒนาด้านไอซีทีจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีต่อธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ เพราะอาจส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของประเทศ





_________________________________________






ภัยไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัว 19 หน่วยงานพร้อมรับมือ


จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 2 ส.ค. 2559 ที่ผ่านมา ให้กระทรวงไอซีทีในขณะนั้น โดยมีสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) หรือ สพธอ. เป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำข้อเสนอแนะมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับเว็บไซต์ (Website Se-curity Standard) ไปใช้ และร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดตั้ง Sector-based CERT ในหน่วยงานสำคัญ เช่น ด้านการเงิน การลงทุน การค้า โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น โดยถือเป็นกลไกในการตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์

ล่าสุด "สพธอ." กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย ThaiCERT (ไทยเซิร์ต) พร้อม 18 หน่วยงาน เช่น กฟน., กฟผ., กฟภ., ตลาดหลักทรัพย์ฯ, ปตท. เป็นต้น ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือยกระดับความพร้อมรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ (CERT Readiness) ต่อภาคธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ เพื่อส่งเสริมการร่วมกันสร้างความตระหนักด้านการรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ ลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกรรม ร่วมกันส่งเสริมการใช้มาตรฐานที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในองค์กรและในกลุ่มธุรกิจ

โดย นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า อันดับความพร้อมด้านไอซีทีของประเทศไทยดีขึ้น โดยสหประชาชาติได้ประเมินว่าประเทศไทยได้พัฒนาด้านไอซีทีอย่างจริงจัง ทำให้ในปี 2559 ก้าวขึ้นไปอยู่อันดับ 77 จาก 193 ประเทศ เลื่อนขึ้นจากปี 2557 ถึง 25 อันดับ และเป็นลำดับที่ 4 ของอาเซียน ซึ่งการพัฒนาด้านไอซีทีจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีต่อธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ เพราะอาจส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของประเทศ

"การเซ็นเอ็มโอยูเพื่อยกระดับความพร้อมรับมือภัยคุกคามไซเบอร์ จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทยให้เป็นรูปธรรม"

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กล่าวต่อว่า จากผลการสำรวจสถานภาพด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ Cyber Security Survey 2015 ของ สพธอ.พบว่ากว่า 86% ของหน่วยงานที่ตอบแบบสำรวจทราบว่า เคยประสบเหตุภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ไม่เคยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามถึง 86.7% ขณะที่การโจมตีที่เจอเยอะที่สุด คือการเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์ และพบว่าเกิดจากบุคลากรขาดความเข้าใจ ซึ่งมีที่ผ่านการประเมินมาตรฐานความปลอดภัยด้านไซเบอร์ ISO/IEC 27001 เพียง 8% กว่าครึ่งไม่มีแผนการพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1475487197

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.