Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 เมษายน 2556 ลุย 3G-Digital TV (intouch จับมือ AIS3Gใหม่ เปิดกว้างให้คอนเทนท์โปรวายเดอร์เข้ามาผลิต ) TOT CAT โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม

ประเด็นหลัก



เอไอเอส หาพันธมิตรคอนเทนท์

นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ในอนาคตจะแยกธุรกิจด้านโมบาย และทีวีดิจิทัลออกจากกันไม่ได้ การหลอมรวมของ 2 ธุรกิจจะได้เห็นมากขึ้น พร้อมๆ กับการจับคู่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจในหลายๆ ทาง

ส่วนของ 3 จีบนโมบาย บรอดแบนด์ และการเปิดเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิทัล จะเปรียบเสมือนการต่อยอดทางธุรกิจโมบาย เอ็นเตอร์เทนเมนท์ และ ดิจิทัล เอ็นเตอร์เทนเมนท์


นายสมชัย กล่าวว่า เอไอเอสได้ลงทุนสร้างโครงข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศตลอด 23 ปีที่เปิดให้บริการ ใช้เงินลงทุนแล้วกว่า 170,000 ล้านบาท แม้ว่าระบบ 2จี ที่ให้บริการอยู่นี้จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ 3จี ในอนาคต แต่ เอไอเอส ยังจะรักษาคุณภาพของโครงข่ายและดูแลลูกค้าที่ยังใช้บริการอยู่ ส่วนการเปิดให้บริการ 3จี เอไอเอสได้ประกาศแผนการลงทุนในช่วง 3ปีแรกไปแล้วที่ 70,000 ล้านบาท เพื่อสร้างโครงข่ายใหม่

"อินทัช" เอาแน่ลุยทีวีดิจิทัล

"ผ่านดาวเทียม หรือผ่านดีไวซ์ก็คนละแบบกัน กลุ่มอินทัชอาจจะผลิตคอนเทนท์เองบางส่วน และบางส่วนก็จะเปิดกว้างให้คอนเทนท์โปรวายเดอร์เข้ามาผลิต ซึ่งจะไม่เหมือนกันในแต่ละช่อง ขึ้นอยู่กับว่าตอบโจทย์วิวเวอร์เซ็กเมนเตชั่นได้ตรงเพียงใด"

เขากล่าวว่า โอกาสของทีวีดิจิทัลจะมาพร้อมกับการให้บริการ 3จี ของ เอไอเอส ซึ่ง อินทัช เองแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า เบื้องต้น หากว่า กสทช. เปิดประมูลใบอนุญาตเมื่อไหร่ บริษัทก็พร้อมจะที่เข้าประมูล เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2,000-3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการประมูลไลเซ่น และการสร้างโครงข่ายเพิ่มเติม






ทีโอที พร้อมผันสู่ "แก็ปฟิลเลอร์"

นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ช่องทางของ ทีโอที ภายหลังจากให้บริการทีวีดิจิทัลแล้ว ทีโอทีจะใช้สินทรัพย์ทางโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทั้งเสาสถานีฐานโทรคมนาคมที่ได้รับมอบจากเอไอเอสตามสัญญาสัมปทานมากกว่า 13,000 แห่ง และเสาสถานีฐานของทีโอทีเองราว 5,000 แห่ง ไม่รวมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงข่ายทรานมิชชั่นและสวิตชิ่ง ทีโอทีจะทรัพย์สินของตัวเองที่มีอยู่ขณะนี้เพื่อพัฒนาเป็นผู้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เพื่อให้บริการเชื่อมโยงสัญญาณโทรทัศน์ (Gap Filler) และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ อาคาร เสาโทรคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค สำหรับทีวีดิจิทัล ให้เป็นแหล่งรายได้หลักของทีโอทีภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

การที่ ทีโอที เหมาะสมเป็นผู้ให้บริการดังกล่าว เนื่องจากจุดเด่นของบริษัทที่ปัจจุบันมีสถานีฐานเพื่อให้บริการด้านโทรคมนาคมโทรศัพท์พื้นฐานและอินเทอร์เน็ต กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัดและทั่วทุกภูมิภาคของประเทศทั้งสิ้น 17,000-18,0000 สถานี ซึ่งทีโอทีสามารถใช้สถานีฐานเป็นพื้นที่เชื่อมโยงสัญญาณโทรทัศน์ต่างๆ ของทีวีดิจิทัล

ส่วนการคาดการณ์รายได้ที่จะเกิดขึ้น ยังให้คำตอบขณะนี้ไม่ได้ เพราะอยู่ระหว่างการทำแผนธุรกิจ

"รูปแบบของธุรกิจก็เป็น 2 ประเภท คือ 1.การให้บริการสื่อสัญญาณ และให้เช่าอุปกรณ์ แทนที่ผู้ประมูลได้ใบอนุญาตจะต้องไปลงทุนสร้างโครงข่ายใหม่ หรือหาสถานีฐานเพื่อแพร่ภาพ ก็มาเช่ากับทีโอทีได้เลย ซึ่งสถานะของบริษัทก็จะเป็นผู้ให้บริการที่ครบวงจร และ 2.แก็ป ฟิลเลอร์ เพื่อเติมเต็มและแก้ไขปัญหาจุดบอดการอับสัญญาณในพื้นที่ที่กำลังส่งสัญญาณและการแพร่ภาพไปไม่ถึง โดยเบื้องต้นคาดว่าทีโอทีจะมีจุดให้บริการ แก็ป ฟิลเลอร์ ได้ราว 200 แห่ง ที่สำรวจว่าเป็นจุดอับสัญญาณ"



"กสท" ฟอร์มทีมเปิดสายธุรกิจใหม่

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า แผนงานรองรับการเปลี่ยนผ่าน และเทคโนโลยีในระบบ 3จี มองถึงการเปลี่ยนผ่านทั้งในระบบสัญญาสัมปทานไปสู่การเปิดให้บริการบนการกำกับดูแลจากการให้ใบอนุญาต (ไลเซ่น)



เขาระบุว่า แนวทางของ กสท ไม่ต่างกับทีโอที เพราะมีโครงข่ายพื้นฐานที่เป็นสาธารณูปโภคด้านไอซีทีเหมือนกัน การเป็น แก็ป ฟิลเลอร์ นั้น กสท ก็มองโอกาสทางธุรกิจอยู่ด้วย ข้อได้เปรียบของบริษัทคือมีวงจรสื่อสารข้อมูล สื่อสัญญาณจำนวนมาก และมีสายไฟเบอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออกไปยังต่างประเทศ ดังนั้น สามารถดึงศักยภาพมาต่อยอดการเป็นเครือข่ายสายเพื่อช่วยให้การรับส่งการแพร่ภาพได้ดีขึ้น







































_____________________________________



ค่ายมือถือชู '3จี-ทีวีดิจิทัล' ดันธุรกิจโต


อุตสาหกรรมโทรคมขานรับ "ทีวีดิจิทัล" ทุนใหญ่หอบเงินร่วมประมูลแข่ง หวังต่อยอดธุรกิจในอนาคต "อินทัช" ร่วมแน่


การเปิดประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่น) ทีวีดิจิทัลของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะกิจการวิทยุโทรทัศน์แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังส่งผลกระทบในวงกว้างถึงอุตสาหกรรมโทรคมนาคมด้วย

ทั้งนี้ จะเกิดการหลอมรวมของ 2 ภาคธุรกิจ นั่นก็คือ การเปิดให้บริการระบบ 3จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จากผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้ง 3 ราย หลังจากที่เปิดประมูลไปแล้วเดือนต.ค. ปีที่ผ่านมา โดยแนวโน้มของผู้ประกอบการมือถือที่จะเชื่อมโยงธุรกิจ 3จี เข้ากับธุรกิจบริการด้านทีวีดิจิทัลเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้น

เอไอเอส หาพันธมิตรคอนเทนท์

นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ในอนาคตจะแยกธุรกิจด้านโมบาย และทีวีดิจิทัลออกจากกันไม่ได้ การหลอมรวมของ 2 ธุรกิจจะได้เห็นมากขึ้น พร้อมๆ กับการจับคู่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจในหลายๆ ทาง

ส่วนของ 3 จีบนโมบาย บรอดแบนด์ และการเปิดเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิทัล จะเปรียบเสมือนการต่อยอดทางธุรกิจโมบาย เอ็นเตอร์เทนเมนท์ และ ดิจิทัล เอ็นเตอร์เทนเมนท์

ยกตัวอย่าง ธุรกิจของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (เทลโก้) เมื่อเอามารวมกับการเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการด้านเพลง หรือเอ็นเตอร์เทนเมนท์รูปแบบอื่นๆ เป็นส่วนเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า คลังเพลงดิจิทัล ให้ไปถึงผู้ฟังได้หลากหลายมากขึ้น และกระจายไปในวงกว้าง

ที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตของธุรกิจเพลงบนการซื้อขายออนไลน์ มีสัดส่วนขยายตัวมากกว่า 30-50% และทำให้ยอดการขายเพลงเป็นแผ่นซีดี หรือวีซีดีลดลงเหลือเพียง 5% ของยอดขายรวม

ปัจจัยหลักที่ทำให้ยอดขายเพลงในระบบดิจิทัลมีอัตราเพิ่มขึ้นได้มาก เพราะจะไม่มีรายจ่ายด้านค่าขนส่ง ค่านายหน้า ไม่ต้องเช่าหน้าร้าน ทำให้การทำราคาดึงดูดใจลูกค้าได้มากกว่า

นอกจากนี้ การเปลี่ยนผ่านสู่ 3จี และทีวีดิจิทัล ทำให้ธุรกิจด้านเพลงและข่าวได้รับความนิยมเพิ่มสูงมากขึ้น การขายคอนเทนท์จะเป็นสิ่งสำคัญ

"ในส่วนตัวและแนวคิดของเอไอเอส เชื่อว่าการหลอมรวมของธุรกิจในอนาคตทั้ง 3จี และทีวีดิจิทัล จะไม่เป็นอุปสรรคต่อธุรกิจหลักที่ให้บริการ แต่เอไอเอสมองว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นโอกาสในการขยายตัวทางธุรกิจและช่วยต่อยอดสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในมือมากกว่า"

นายสมชัย กล่าวว่า เอไอเอสได้ลงทุนสร้างโครงข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศตลอด 23 ปีที่เปิดให้บริการ ใช้เงินลงทุนแล้วกว่า 170,000 ล้านบาท แม้ว่าระบบ 2จี ที่ให้บริการอยู่นี้จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ 3จี ในอนาคต แต่ เอไอเอส ยังจะรักษาคุณภาพของโครงข่ายและดูแลลูกค้าที่ยังใช้บริการอยู่ ส่วนการเปิดให้บริการ 3จี เอไอเอสได้ประกาศแผนการลงทุนในช่วง 3ปีแรกไปแล้วที่ 70,000 ล้านบาท เพื่อสร้างโครงข่ายใหม่

"อินทัช" เอาแน่ลุยทีวีดิจิทัล

นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร อินทัช กรุ๊ป ให้รายละเอียดว่า สาเหตุที่อินทัชต้องการเข้าประมูลทีวีดิจิทัลเพื่อต่อยอดธุรกิจผ่านช่องทางเครือข่ายในกลุ่มบริษัท คือ ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ให้บริการโดย เอไอเอส เครือข่ายโทรศัพท์บ้านผ่านบริการของอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการโดย บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ และการให้บริการดีทีวีที่ให้บริการทีวีผ่านจานดาวเทียมภายใต้การบริหารงานของ บมจ.ไทยคม และยังมีเปิดให้บริการ 3จี ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค บริษัทลูกของเอไอเอสด้วย

ภาพของการดำเนินการ เมื่อ อินทัช มีธุรกิจทีวีก็จะให้บริการผ่านไทยคม ส่งสัญญาณผ่านมือถือ ผ่านเครือข่ายสายโทรศัพท์ที่ให้บริการโดย ซีเอส ล็อกซอินโฟ เปรียบเทียบก็คือเมื่อซื้อรายการมาถ่ายทอดผ่านช่องทางทีวี มือถือ และอินเทอร์เน็ต ทำให้บริการครบวงจรครอบคลุมผู้ใช้บริการ

ส่วนรูปแบบรายการยังไม่ได้กำหนดตายตัวว่าจะเป็นช่องแบบไหน แต่ที่ผ่านมาลักษณะเนื้อหาที่นิยมในประเทศไทยคงจะไม่พ้นด้านข่าว กีฬา เกมโชว์ และละคร แต่จะต้องนำเรื่อง วิวเวอร์ เซ็กเมนเตชั่น เข้ามาพิจารณาประกอบด้วย เพื่อจะได้นำมากำหนดเป็นการจัดทำรายการให้ตรงตามลักษณะธุรกิจ และความถนัดของบริษัทที่มีอยู่ รวมทั้ง เรื่องต้นทุนของคอนเทนท์มีราคาที่แตกต่างกันในแต่ละช่องทาง

"ผ่านดาวเทียม หรือผ่านดีไวซ์ก็คนละแบบกัน กลุ่มอินทัชอาจจะผลิตคอนเทนท์เองบางส่วน และบางส่วนก็จะเปิดกว้างให้คอนเทนท์โปรวายเดอร์เข้ามาผลิต ซึ่งจะไม่เหมือนกันในแต่ละช่อง ขึ้นอยู่กับว่าตอบโจทย์วิวเวอร์เซ็กเมนเตชั่นได้ตรงเพียงใด"

เขากล่าวว่า โอกาสของทีวีดิจิทัลจะมาพร้อมกับการให้บริการ 3จี ของ เอไอเอส ซึ่ง อินทัช เองแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่า เบื้องต้น หากว่า กสทช. เปิดประมูลใบอนุญาตเมื่อไหร่ บริษัทก็พร้อมจะที่เข้าประมูล เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2,000-3,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการประมูลไลเซ่น และการสร้างโครงข่ายเพิ่มเติม

ทีโอที พร้อมผันสู่ "แก็ปฟิลเลอร์"

นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ช่องทางของ ทีโอที ภายหลังจากให้บริการทีวีดิจิทัลแล้ว ทีโอทีจะใช้สินทรัพย์ทางโทรคมนาคมที่มีอยู่ ทั้งเสาสถานีฐานโทรคมนาคมที่ได้รับมอบจากเอไอเอสตามสัญญาสัมปทานมากกว่า 13,000 แห่ง และเสาสถานีฐานของทีโอทีเองราว 5,000 แห่ง ไม่รวมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงข่ายทรานมิชชั่นและสวิตชิ่ง ทีโอทีจะทรัพย์สินของตัวเองที่มีอยู่ขณะนี้เพื่อพัฒนาเป็นผู้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เพื่อให้บริการเชื่อมโยงสัญญาณโทรทัศน์ (Gap Filler) และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ อาคาร เสาโทรคมนาคม ระบบสาธารณูปโภค สำหรับทีวีดิจิทัล ให้เป็นแหล่งรายได้หลักของทีโอทีภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน

การที่ ทีโอที เหมาะสมเป็นผู้ให้บริการดังกล่าว เนื่องจากจุดเด่นของบริษัทที่ปัจจุบันมีสถานีฐานเพื่อให้บริการด้านโทรคมนาคมโทรศัพท์พื้นฐานและอินเทอร์เน็ต กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัดและทั่วทุกภูมิภาคของประเทศทั้งสิ้น 17,000-18,0000 สถานี ซึ่งทีโอทีสามารถใช้สถานีฐานเป็นพื้นที่เชื่อมโยงสัญญาณโทรทัศน์ต่างๆ ของทีวีดิจิทัล

ส่วนการคาดการณ์รายได้ที่จะเกิดขึ้น ยังให้คำตอบขณะนี้ไม่ได้ เพราะอยู่ระหว่างการทำแผนธุรกิจ

"รูปแบบของธุรกิจก็เป็น 2 ประเภท คือ 1.การให้บริการสื่อสัญญาณ และให้เช่าอุปกรณ์ แทนที่ผู้ประมูลได้ใบอนุญาตจะต้องไปลงทุนสร้างโครงข่ายใหม่ หรือหาสถานีฐานเพื่อแพร่ภาพ ก็มาเช่ากับทีโอทีได้เลย ซึ่งสถานะของบริษัทก็จะเป็นผู้ให้บริการที่ครบวงจร และ 2.แก็ป ฟิลเลอร์ เพื่อเติมเต็มและแก้ไขปัญหาจุดบอดการอับสัญญาณในพื้นที่ที่กำลังส่งสัญญาณและการแพร่ภาพไปไม่ถึง โดยเบื้องต้นคาดว่าทีโอทีจะมีจุดให้บริการ แก็ป ฟิลเลอร์ ได้ราว 200 แห่ง ที่สำรวจว่าเป็นจุดอับสัญญาณ"

ในอนาคต จากการเป็นผู้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ของทีโอทีแล้ว ยังคงมีบริการด้านอื่นๆ อีก ประกอบด้วย การเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานที่จะเสนอรูปแบบการให้บริการใหม่เพื่อจูงใจการใช้งานในราคาถูก

"เรามีแผนงานที่ต้องทำอย่างชัดเจน แม้ที่ผ่านมาทีโอทีต้องประสบกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ (บอร์ด) หรือความล่าช้าในการขยายโครงข่ายการติดตั้งสถานีฐาน 3จี เมื่อสามารถตั้งไข่ได้ ก็ใช่ว่าจะไปได้ไกล ทีโอทีต้องมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้ให้บริการลักษณะควอด เพลย์ (Quad Play) เป็นการรวมบริการทั้งฟิกซ์ไลน์ บริการโทรศัพท์มือถือ 3จี อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) และบริการด้านคอนเทนท์ และแอพพลิเคชั่น เนื่องจากทีโอทีมีโครงข่ายพร้อมให้บริการ ควรจะเร่งดำเนินการ ซึ่งมีทั้งโครงข่ายหลักของประเทศ (แบ็คโบน) และโครงข่ายสำรอง (แบ็ค ฮอลล์)"

"กสท" ฟอร์มทีมเปิดสายธุรกิจใหม่

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า แผนงานรองรับการเปลี่ยนผ่าน และเทคโนโลยีในระบบ 3จี มองถึงการเปลี่ยนผ่านทั้งในระบบสัญญาสัมปทานไปสู่การเปิดให้บริการบนการกำกับดูแลจากการให้ใบอนุญาต (ไลเซ่น)

ส่วนการเผยแพร่ทีวีดิจิทัลจะเป็นการเปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อก สิ่งที่จะได้เห็นคือการใช้การสื่อสารไร้สายในเชิงโมบิลิตี้มากขึ้น เรื่องนี้ กสท ได้วางแผนงานจัดการประชุมกำหนดทีมงานผู้รับผิดชอบไว้แล้ว แต่เรื่องทั้งหมดต้องมองความได้เปรียบของทรัพยากรที่ กสท มีอยู่ในมือ

"ใครจะได้เปรียบหรือช่วงชิงโอกาสมหาศาลที่จะเปิดขึ้นได้หรือไม่ คือต้องดูว่าในหน่วยงานหรือบริษัทของตัวเองมีทรัพยากรอะไร มีสินทรัพย์อะไรที่นำไปต่อยอดได้บ้าง"

เขาระบุว่า แนวทางของ กสท ไม่ต่างกับทีโอที เพราะมีโครงข่ายพื้นฐานที่เป็นสาธารณูปโภคด้านไอซีทีเหมือนกัน การเป็น แก็ป ฟิลเลอร์ นั้น กสท ก็มองโอกาสทางธุรกิจอยู่ด้วย ข้อได้เปรียบของบริษัทคือมีวงจรสื่อสารข้อมูล สื่อสัญญาณจำนวนมาก และมีสายไฟเบอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออกไปยังต่างประเทศ ดังนั้น สามารถดึงศักยภาพมาต่อยอดการเป็นเครือข่ายสายเพื่อช่วยให้การรับส่งการแพร่ภาพได้ดีขึ้น


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130416/500545/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B
8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B9-
3%E0%B8%88%E0%B8%B5-
%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8
%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5-
%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8
%88%E0%B9%82%E0%B8%95.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.