Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 เมษายน 2556 อนุดิษฐ์ บุก สภา!!!เตรียมประชุมสมัยวิสามัญ ของบ 40,000 ล้านบาท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต้องใช้เวลา 15-20 ปีจึงจะเสร็จ ( พ.ร.บ.งบประมาณปี2557)

ประเด็นหลัก

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า การเสนองบประมาณจำนวน 40,000 ล้านบาทต่อสำนักงานงบประมาณเพื่อพัฒนาโครงข่ายด้านสารสนเทศ และการอัพเกรดโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วประเทศให้เป็นโครงข่ายหลัก (คอร์ เน็ตเวิร์ค) นั้น รอเพียงการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 ซึ่งคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบกรอบวงเงินเบื้องต้นได้ปลายเดือนเม.ย.นี้

   น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า การเสนอของบประมาณจำนวน 40,000 ล้านบาทต่อสำนักงานงบประมาณเพื่อพัฒนาโครงข่ายด้านสารสนเทศ และการอัปเกรดโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วประเทศให้เป็นโครงข่ายหลัก (คอร์ เน็ตเวิร์ก) นั้นในตอนนี้รอเพียงการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี2557 ซึ่งคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบกรอบวงเงินเบื้องต้นได้ในช่วงปลายเดือนเม.ย.นี้ เนื่องจากงบประมาณดังกล่าวถือว่าอยู่ในแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติในการบริหารประเทศ และเพื่อพัฒนาโครงข่ายด้านไอซีทีตามนโยบายสมาร์ท ไทยแลนด์ของรัฐบาลอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาเห็นชอบแต่อย่างใด
      
       'ไอซีทีขอกรอบวงเงินจำนวน 40,000ล้านบาท ไปนั้นใช่ว่าจะได้ หรือใช้ครั้งเดียวทั้งหมด เพราะจะรับรู้เพียงกรอบวงเงินเบื้องต้นก่อนเท่านั้น เช่นเดียวกับการลงทุนในโครงการสมาร์ทไทยแลนด์ที่เป็นแผนในระยะยาวโดยจะเป็นลักษณะแบ่งจ่ายเป็นงวดๆแต่ละโครงการไปเพราะในภาพรวมโครงการดังกล่าวมีโครงการย่อยอีกมาก'
      
       ทั้งนี้กรอบวงเงินจำนวน 40,000 ล้านบาทนั้นคาดว่าจะได้ในลักษณะเป็นการอนุมัติแบบผูกพันงบประมาณ คือ อาจจะใช้เวลา 15-20 ปีเพื่อใช้วงเงินทั้งหมดที่ไอซีทีขอไป เนื่องจากมีหลายโครงการไม่ใช่แค่โครงการเดียวดังนั้นจึงต้องใช้เวลาในการดำเนินงาน



____________________________________




'อนุดิษฐ์' ชี้ทีโอที/กสท รอแบ่งเค้ก 4 หมื่นล้าน อัปเกรดคอร์เน็ตเวิร์กทั้งประเทศ

               

       'อนุดิษฐ์' เผยกรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ต้องให้ครม.เห็นชอบ รอเพียงงบประมาณปี 2557 ผ่านเท่านั้น แต่อาจใช้เวลาดำเนินการโครงการ 15-20 ปี ส่วนจะแบ่งงานให้ทีโอที /กสท อย่างไรต้องรอร่างเงื่อนไขแต่ละโครงการก่อน
      
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า การเสนอของบประมาณจำนวน 40,000 ล้านบาทต่อสำนักงานงบประมาณเพื่อพัฒนาโครงข่ายด้านสารสนเทศ และการอัปเกรดโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วประเทศให้เป็นโครงข่ายหลัก (คอร์ เน็ตเวิร์ก) นั้นในตอนนี้รอเพียงการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี2557 ซึ่งคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบกรอบวงเงินเบื้องต้นได้ในช่วงปลายเดือนเม.ย.นี้ เนื่องจากงบประมาณดังกล่าวถือว่าอยู่ในแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติในการบริหารประเทศ และเพื่อพัฒนาโครงข่ายด้านไอซีทีตามนโยบายสมาร์ท ไทยแลนด์ของรัฐบาลอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาเห็นชอบแต่อย่างใด
      
       'ไอซีทีขอกรอบวงเงินจำนวน 40,000ล้านบาท ไปนั้นใช่ว่าจะได้ หรือใช้ครั้งเดียวทั้งหมด เพราะจะรับรู้เพียงกรอบวงเงินเบื้องต้นก่อนเท่านั้น เช่นเดียวกับการลงทุนในโครงการสมาร์ทไทยแลนด์ที่เป็นแผนในระยะยาวโดยจะเป็นลักษณะแบ่งจ่ายเป็นงวดๆแต่ละโครงการไปเพราะในภาพรวมโครงการดังกล่าวมีโครงการย่อยอีกมาก'
      
       ทั้งนี้กรอบวงเงินจำนวน 40,000 ล้านบาทนั้นคาดว่าจะได้ในลักษณะเป็นการอนุมัติแบบผูกพันงบประมาณ คือ อาจจะใช้เวลา 15-20 ปีเพื่อใช้วงเงินทั้งหมดที่ไอซีทีขอไป เนื่องจากมีหลายโครงการไม่ใช่แค่โครงการเดียวดังนั้นจึงต้องใช้เวลาในการดำเนินงาน
      
       'ส่วนจะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และงบประมาณในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในแต่ละโครงการให้กับหน่วยงานในสังกัดอย่าง บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม เท่าไรนั้นในตอนนี้คงไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากต้องรอให้ได้งบประมาณก่อนจึงจะจัดทำแผน และเงื่อนไขแต่ละโครงการว่าใครจะดูแลส่วนใดบ้าง'
      
       สำหรับโครงการสมาร์ทไทยแลนด์ แบ่งเป็นสมาร์ท เน็ตเวิร์ก และสมาร์ท กอฟเวิร์นเมนท์ โดยสมาร์ท เน็ตเวิร์ก จะเป็นการจัดหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ให้ประชาชนใช้งานอย่างทั่วถึง เท่าเทียม อย่างน้อยระดับตำบลต้องเข้าถึงได้ ผู้ประกอบการเอกชนใช้โครงข่ายร่วมกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเป็นธรรม ส่วนของภาครัฐให้การสนับสนุนการลงทุนโครงข่ายส่วนโครงข่ายหลัก (แบ็กโบน) และโครงข่ายสำรองสำหรับเชื่อมต่อ (แบ็กฮอล์) เพื่อขยายโครงข่ายบรอดแบนด์
      
       ส่วนสมาร์ทกอฟเวิร์นเมนท์ จะเป็นการสนับสนุนการให้บริการภาครัฐผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว เข้าถึงบริการหลักของหน่วยงานภาครัฐ คือ บริการสมาร์ท-กอฟเวิร์นเมนท์ สมาร์ท-เฮลธ์ สมาร์ท-เอ็ดดูเคชั่น และสมาร์ท-อะกริคัลเจอร์ โดยตั้งเป้าหมายว่าการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) จะครอบคลุมประชากร 80% ในปี 2558 และ 95% ปี 2563
      

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000048342

______________________________


"ไอซีที"ตั้งกรอบวงเงิน4หมื่นล. อัพเกรดโครงสร้างพื้นฐาน15ปี

โดย : ปานฉัตร สินสุข

อนุดิษฐ์เผยกรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต้องใช้เวลา 15-20 ปีจึงจะเสร็จ คาดสิ้นเดือนเม.ย.รู้ผล พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า การเสนองบประมาณจำนวน 40,000 ล้านบาทต่อสำนักงานงบประมาณเพื่อพัฒนาโครงข่ายด้านสารสนเทศ และการอัพเกรดโครงข่ายโทรคมนาคมทั่วประเทศให้เป็นโครงข่ายหลัก (คอร์ เน็ตเวิร์ค) นั้น รอเพียงการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2557 ซึ่งคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบกรอบวงเงินเบื้องต้นได้ปลายเดือนเม.ย.นี้

เนื่องจากงบประมาณดังกล่าวอยู่ในแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติการบริหารประเทศ และเพื่อพัฒนาโครงข่ายด้านไอซีทีตามนโยบายสมาร์ท ไทยแลนด์ของรัฐบาลอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาเห็นชอบ

เขาคาดว่า กรอบวงเงินจำนวนดังกล่าว คาดว่าจะได้ในลักษณะเป็นการอนุมัติแบบผูกพันงบประมาณ คือ อาจจะใช้เวลา 15-20 ปีอนุมัติวงเงินทั้งหมด เนื่องจากมีหลายโครงการอยู่ด้วยกัน ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาดำเนินงาน

ส่วนจะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และงบประมาณพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศแต่ละโครงการให้หน่วยงานในสังกัดอย่าง บมจ.ทีโอที และ บมจ.กสท โทรคมนาคม เท่าไร ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ ต้องรอให้ได้งบประมาณดังกล่าวก่อน จึงจะทำแผนเงื่อนไขแต่ละโครงการว่าใครจะดูแลส่วนใดบ้าง

อย่างไรก็ตาม กรอบที่ขออนุมัติวงเงินนั้น เป็นไปตามโครงการสมาร์ทไทยแลนด์ แบ่งเป็นสมาร์ท เน็ตเวิร์ค และสมาร์ท กอฟเวิร์นเมนท์ โดยสมาร์ท เน็ตเวิร์ค จะเป็นการจัดหาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ให้ประชาชนใช้งานอย่างทั่วถึง เท่าเทียม อย่างน้อยระดับตำบลต้องเข้าถึงได้ ผู้ประกอบการเอกชนใช้โครงข่ายร่วมกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเป็นธรรม ส่วนของภาครัฐให้การสนับสนุนการลงทุนโครงข่ายส่วนโครงข่ายหลัก (แบ็คโบน) และโครงข่ายสำรองสำหรับเชื่อมต่อ (แบ็คฮอล์) เพื่อขยายโครงข่ายบรอดแบนด์

ส่วนสมาร์ทกอฟเวิร์นเมนท์จะเป็นการสนับสนุนการให้บริการภาครัฐผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว เข้าถึงบริการหลักของหน่วยงานภาครัฐ คือ บริการสมาร์ท-กอฟเวิร์นเมนท์ สมาร์ท-เฮลธ์ สมาร์ท-เอ็ดดูเคชั่น และสมาร์ท-อะกริคัลเจอร์ โดยตั้งเป้าหมายว่าการให้บริการบรอดแบนด์จะครอบคลุมประชากร 80% ในปี 2558 และ 95% ปี 2563

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130422/501620/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%
B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%
B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%994%E0%B8%AB
%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5.%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%
B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA
%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8
%90%E0%B8%B2%E0%B8%9915%E0%B8%9B%E0%B8%B5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.