Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 เมษายน 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป293วันแล้ว) กสทช.จี้ CAT ส่ง สัญญาแทบจะทุกฉบับให้ดูพร้อมคำสั่งให้แก้ไขสัญญา 6 ประเด็นหลักเพื่อไม่ให้ขัดมาตรา 46 แห่ง พรบ.กสทช.

ประเด็นหลัก



ายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าสำนักงาน กสทช.กำลังส่งหนังสือไปยังบริษัท กสท โทรคมนาคม เพื่อให้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA ระหว่างบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม ตามมติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่มีคำสั่งให้แก้ไขสัญญา 6 ประเด็นหลักเพื่อไม่ให้ขัดมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งกสทจะต้องดำเนินการทันทีตามที่มติได้กำหนดไว้ และจะต้องโอนสิทธิของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด มาอยู่ในการบริหารงานของกสททั้งหมด



____________________________________






กสทช.จี้ กสท เร่งแก้สัญญา 3G 6 ประเด็นกับกลุ่มทรูโดยเร็ว


ฐากรร่อนหนังสือจี้ กสทรีบแก้ไขสัญญา 3G กับกลุ่มทรูโดยเร็วตามมติ กทค. 6 ข้อ ตั้งแต่ 28 มิ.ย. 2555 หรือผ่านไปแล้วกว่า 10 เดือน ด้าน กิตติศักดิ์ระบุจะแก้ได้ก็ต่อเมื่อ ครม.อนุมัติงบ 29,000 ล้านบาทก่อน
      
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าสำนักงาน กสทช.กำลังส่งหนังสือไปยังบริษัท กสท โทรคมนาคม เพื่อให้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA ระหว่างบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม ตามมติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ที่มีคำสั่งให้แก้ไขสัญญา 6 ประเด็นหลักเพื่อไม่ให้ขัดมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งกสทจะต้องดำเนินการทันทีตามที่มติได้กำหนดไว้ และจะต้องโอนสิทธิของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด มาอยู่ในการบริหารงานของกสททั้งหมด
      
       ขณะที่นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม ออกมาระบุก่อนหน้านี้ว่า การที่ กสท จะแก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ 3G HSPA ระหว่างกลุ่มทรูกับกสท ตามมติบอร์ด กทค.ที่มีคำสั่งให้แก้ไขสัญญา 6 ประเด็นนั้น จะสามารถดำเนินการแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณจำนวน 29,000 ล้านบาทที่กสทได้ขอไปเพื่อนำมาลงทุนวางสายไฟเบอร์ออปติกระยะยาวสำหรับใช้ในโครงข่ายของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 14,000 ล้านบาท และค่าเช่าโครงข่ายจาก บีเอฟเคที ต่อปีอีกจำนวน 15,000 ล้านบาท ซึ่งภายในสิ้นเดือน เม.ย.นี้ คาดว่าแผนขออนุมัติงบประมาณจะผ่านความเห็นชอบจากไอซีที จากนั้นหากผ่านสภาพัฒน์ฯแล้วก็จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
      
       นายฐากรกล่าวอีกว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังได้ขอมติ กทค.เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่มีผลสรุปว่าการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) กรณีการทำสัญญาเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 800 MHz กับบริษัท กสท โทรคมนาคม ไม่เข้าข่ายความผิดในมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 (ไม่ถือว่าบีเอฟเคทีเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมที่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต) โดยในตอนนี้สำนักงาน กสทช.เร่งดำเนินการยกร่างหลักเกณฑ์ที่จะเข้ามากำกับดูแลในกิจการโทรคมนาค เพื่อให้การดำเนินกิจการให้เช่าเครื่อง และอุปกรณ์วิทยุคมนาคมเพื่อให้บริการโทรศัพท์มือถือในลักษณะดังกล่าวของบุคคลใดๆ เข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. โดยให้สำนักงาน กสทช.ดำเนินการเพื่อเสนอที่ประชุม กทค.ภายใน 30 วัน
      
       ที่ประชุมบอร์ด กสทช.ยังมีมติอนุมัติร่างประกาศในฝั่งกิจการโทรคมนาคม (กทค.) 3 ร่างประกาศ กสทช. เรื่องการใช้โครงข่ายร่วม ได้แก่ 1. ร่างประกาศ กสทช.เรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ....(อินฟราสตรักเจอร์แชร์ริ่ง) 2. ร่างประกาศ กสทช.เรื่องการใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศ พ.ศ....(โรมมิ่ง) 3. ร่างประกาศ กสทช.เรื่องการบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน พ.ศ....(MVNO) โดยขั้นตอนต่อไปจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป เบื้องต้นคาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า
      
       “ที่ผ่านมามีการทักท้วงเกี่ยวกับร่างอินฟราสตรักเจอร์แชร์ริง จาก กสท แต่ในเมื่อบอร์ด กทค.มีมติไปแล้วกสทก็ควรที่จะดำเนินการตาม ซึ่งหากไม่มีการยอมรับในมติดังกล่าวก็คงต้องไปสู้ในชั้นศาลปกครองต่อไป
      
       พร้อมทั้งยังเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ พ.ศ. ... ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้เช่นเดียวกัน โดยร่างดังกล่าวเป็นประกาศที่สำคัญสำหรับการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ประเภทบริการทางธุรกิจ
      
       ที่ประชุมยังเห็นชอบประกาศหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดเก็บรายได้เพื่อนำไปใช้ในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) จำนวน 3.75% ต่อปีของรายได้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่มีรายได้สุทธิเกิน 40 ล้านบาทต่อปีให้ได้รับการยกเว้นในจำนวน 40 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 40 ล้านบาทต้องชำระในอัตรา 3.75% ส่วนผู้ประกอบการที่มีรายได้สุทธิไม่เกิน 40 ล้านบาทต่อปีจะถูกละเว้นทั้งจำนวน จากเดิมที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้สุทธิขั้นต่ำไม่เกินปีละ 20 ล้านบาท ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเป็นเวลา 30 วันโดยวิธีการยื่นเอกสารแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของสำนักงาน กสทช.พร้อมทั้งจัดประชุมหารือเฉพาะกลุ่มผู้ได้รับใบอนุญาต
      
       ที่ประชุมยังแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการบริหารคลื่นความถี่เพื่อความมั่นคงของรัฐในกิจการโทรคมนาคมและกิจการวิทยุคมนาคม และยังมีมติให้ยกเลิกร่างประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องการเปิดเสรีการให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง
      

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000047304

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.