Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 เมษายน 2556 กสท. ประชุม(คลื่น 700 MHz ที่บ้านเราใช้เป็น FREE TV แต่ที่สหรัฐใช้เป็น4G) ได้ตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz เพราะแนวโม้นใช้ในโทรคมนาคม

ประเด็นหลัก

 พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ยังคงยืนยันในการเดินหน้าจัดสรรคลื่นความถี่โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการสาธารณะเช่นเดิม แม้ว่าจะมีข้อทักท้วงจากหลายฝ่าย เช่น สภาวิชาชีพและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยต้องการให้เลื่อนกรอบเวลาในกระบวนการยื่นขอ และออกใบอนุญาตประเภทสาธารณะ 12 ช่อง และขอให้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนออกบอนุญาต
      
       ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไป กสท. จะเดินหน้าออกประกาศหนังสือชี้ชวนเพื่อมาลงทุน (Information Memorandum - IM) สำหรับทีวีดิจิตอลประเภทสาธารณะ ซึ่งในตอนนี้อยู่ระหว่างกระบวนการร่างและคาดว่าจะออกประกาศได้ราวเดือน มิ.ย. โดยหนังสือชี้ชวนดังกล่าวจะประกอบด้วยรายละเอียดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลสาธารณะที่มาจากประกาศที่เกี่ยวข้องและรายละเอียดอื่นๆ เช่น แนวทางการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการ
      
       'เพื่อให้ขั้นตอนทุกอย่างโปร่งใสที่สุด หนังสือชี้ชวนที่จะออกมานั้นจะอธิบายแต่ละส่วนของประกาศทั้งหมดและจะนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการบอกข้อสอบ และวิธีตัดเกรด'

นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดยังได้ตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ซึ่งเดิมกรมไปรษณีย์โทรเลขได้กำหนดให้คลื่นความถี่ย่านดังกล่าวใช้ในกิจการกระจายเสียง ขณะที่ปัจจุบัน แนวโน้มโลกได้เปลี่ยนความถี่ย่าน 700 MHz มาใช้ในกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาการรบกวนคลื่นความถี่กันบริเวณชายแดนได้



____________________________________




กสท. เล็งมิ.ย.ออกประกาศชี้ชวนเพื่อมาลงทุนทีวีดิจิตอลสาธารณะ



       'นที' ไม่สนเสียงค้านเดินหน้าประกาศ IM ทีวีดิจิตอลสาธารณะ เดือนมิ.ย.นี้ พร้อมตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาคลื่น 700 MHz หลังทั่วโลกใช้เป็นคลื่นโทรคมนาคม แต่ไทยยังใช้สำหรับกิจการกระจายเสียง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการรบกวนความถี่กันแถบชายแดน
      
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ยังคงยืนยันในการเดินหน้าจัดสรรคลื่นความถี่โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการสาธารณะเช่นเดิม แม้ว่าจะมีข้อทักท้วงจากหลายฝ่าย เช่น สภาวิชาชีพและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยต้องการให้เลื่อนกรอบเวลาในกระบวนการยื่นขอ และออกใบอนุญาตประเภทสาธารณะ 12 ช่อง และขอให้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนออกบอนุญาต
      
       ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไป กสท. จะเดินหน้าออกประกาศหนังสือชี้ชวนเพื่อมาลงทุน (Information Memorandum - IM) สำหรับทีวีดิจิตอลประเภทสาธารณะ ซึ่งในตอนนี้อยู่ระหว่างกระบวนการร่างและคาดว่าจะออกประกาศได้ราวเดือน มิ.ย. โดยหนังสือชี้ชวนดังกล่าวจะประกอบด้วยรายละเอียดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลสาธารณะที่มาจากประกาศที่เกี่ยวข้องและรายละเอียดอื่นๆ เช่น แนวทางการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการ
      
       'เพื่อให้ขั้นตอนทุกอย่างโปร่งใสที่สุด หนังสือชี้ชวนที่จะออกมานั้นจะอธิบายแต่ละส่วนของประกาศทั้งหมดและจะนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการบอกข้อสอบ และวิธีตัดเกรด'
      
       สำหรับประกาศหนังสือชี้ชวนดังกล่าวนั้นจะออกเป็นรายประเภท คือ ประเภท 1 ซึ่งจัดสรรไว้ในช่องที่ 5-7 วัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ประเภท 2 จัดสรรไว้ในช่องที่ 8-9 วัตถุประสงค์เพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ
      
       ประเภทที่ 3 วัตถุประสงค์เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภาประชาชน การกระจายข้อมูลเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติรย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มความสนใจที่มีกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือบริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะอื่น
       
       นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดยังได้ตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ซึ่งเดิมกรมไปรษณีย์โทรเลขได้กำหนดให้คลื่นความถี่ย่านดังกล่าวใช้ในกิจการกระจายเสียง ขณะที่ปัจจุบัน แนวโน้มโลกได้เปลี่ยนความถี่ย่าน 700 MHz มาใช้ในกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาการรบกวนคลื่นความถี่กันบริเวณชายแดนได้

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000048336

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.