Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 เมษายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) นที ไม่สนพวกค้านเรื่อง คุณสมบัติช่อง-ผู้ประมูล!! เดินหน้าต่อ เหตุเพราะทำโปร่งใสแล้ว++แต่สุภิญญา บอกมีความผิดพลาดมากและไม่โปร่งใส

ประเด็นหลัก




ด้าน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช.  ในฐานะ กรรมการ กสท. ระบุว่า การตัดสินใจของบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 22 เม.ย.ว่า จะส่งผลให้เกณฑ์ประมูลในรูปแบบบิวตี้คอนเทสต์ จะไม่ออกมาในรูปแบบของประกาศ ที่มีผลในทางคำสั่งทางปกครอง แต่จะเป็นประกาศระดับสำนักงานเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้คนที่ต้องการทำเรื่องดังกล่าว แต่ไม่ใช่หน่วยงาน หรือกระทรวงนั้นเสียเปรียบ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า มีความผิดพลาดมากและไม่โปร่งใส สำหรับเรื่องประกาศเชิญชวนรับฟังความเห็นนั้น ส่วนตัวมองว่า คล้ายๆ กับการประกาศรับสมัครงาน หรือจัดสัมมนาของระดับสำนักงาน แต่ไม่ใช่การออกเป็นประกาศเพื่อจะนำไปสู่การมีผลบังคับ.

       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ยังคงยืนยันในการเดินหน้าจัดสรรคลื่นความถี่โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการสาธารณะเช่นเดิม แม้ว่าจะมีข้อทักท้วงจากหลายฝ่าย เช่น สภาวิชาชีพและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยต้องการให้เลื่อนกรอบเวลาในกระบวนการยื่นขอ และออกใบอนุญาตประเภทสาธารณะ 12 ช่อง และขอให้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนออกบอนุญาต
      
       ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไป กสท. จะเดินหน้าออกประกาศหนังสือชี้ชวนเพื่อมาลงทุน (Information Memorandum - IM) สำหรับทีวีดิจิตอลประเภทสาธารณะ ซึ่งในตอนนี้อยู่ระหว่างกระบวนการร่างและคาดว่าจะออกประกาศได้ราวเดือน มิ.ย. โดยหนังสือชี้ชวนดังกล่าวจะประกอบด้วยรายละเอียดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลสาธารณะที่มาจากประกาศที่เกี่ยวข้องและรายละเอียดอื่นๆ เช่น แนวทางการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการ
      
       'เพื่อให้ขั้นตอนทุกอย่างโปร่งใสที่สุด หนังสือชี้ชวนที่จะออกมานั้นจะอธิบายแต่ละส่วนของประกาศทั้งหมดและจะนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการบอกข้อสอบ และวิธีตัดเกรด'
     



____________________________________



กสท.ชงช่องสาธารณะให้รัฐ



 "นที" ปัดยืดระยะเวลาออกใบอนุญาตช่องสาธารณะ ยันยึดตามประกาศเดิม ด้าน "สุภิญญา" เผย ไอเอ็มส่งผลลดระดับเกณฑ์บิว
ตี้คอนเทสต์ เหลือเพียงประกาศรับสมัครงาน
    พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณากรณีที่มีการยื่นข้อเสนอของสภาวิชาชีพข่าวและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ให้ยืดระยะเวลาการออกใบอนุญาตดิจิตอลทีวีบริการสาธารณะ จำนวน 12 ช่องออกไป เนื่องจากหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก และรายละเอียดของกรอบการพิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ยื่นขอใบอนุญาต
    โดยที่ประชุม กสท.ได้มีมติเห็นชอบในหลักเกณฑ์ที่ผ่านมา เนื่องจากกรอบพิจารณาเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ยื่นและผู้ขอรับใบอนุญาตได้มีการกำหนดไว้อย่างครบถ้วนแล้วตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ.2555 และประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิตอล พ.ศ.2556 โดยจะยึดหลักการตามประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้ลงมติไม่ให้มีการออกประกาศเพิ่มเติมในส่วนของช่องบริการสาธารณะ แต่จะออกมาเป็น ไอเอ็ม หรือ การประกาศเชิญชวน เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
    ด้าน นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช.  ในฐานะ กรรมการ กสท. ระบุว่า การตัดสินใจของบอร์ด กสท. เมื่อวันที่ 22 เม.ย.ว่า จะส่งผลให้เกณฑ์ประมูลในรูปแบบบิวตี้คอนเทสต์ จะไม่ออกมาในรูปแบบของประกาศ ที่มีผลในทางคำสั่งทางปกครอง แต่จะเป็นประกาศระดับสำนักงานเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้คนที่ต้องการทำเรื่องดังกล่าว แต่ไม่ใช่หน่วยงาน หรือกระทรวงนั้นเสียเปรียบ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า มีความผิดพลาดมากและไม่โปร่งใส สำหรับเรื่องประกาศเชิญชวนรับฟังความเห็นนั้น ส่วนตัวมองว่า คล้ายๆ กับการประกาศรับสมัครงาน หรือจัดสัมมนาของระดับสำนักงาน แต่ไม่ใช่การออกเป็นประกาศเพื่อจะนำไปสู่การมีผลบังคับ.

http://www.thaipost.net/news/230413/72535

___________________________________


กสท. เล็งมิ.ย.ออกประกาศชี้ชวนเพื่อมาลงทุนทีวีดิจิตอลสาธารณะ



       'นทีไม่สนเสียงค้านเดินหน้าประกาศ IM ทีวีดิจิตอลสาธารณะ เดือนมิ.ย.นี้ พร้อมตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาคลื่น 700 MHz หลังทั่วโลกใช้เป็นคลื่นโทรคมนาคม แต่ไทยยังใช้สำหรับกิจการกระจายเสียง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการรบกวนความถี่กันแถบชายแดน
      
       พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท.เมื่อวันที่ 22 เม.ย. ยังคงยืนยันในการเดินหน้าจัดสรรคลื่นความถี่โทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการสาธารณะเช่นเดิม แม้ว่าจะมีข้อทักท้วงจากหลายฝ่าย เช่น สภาวิชาชีพและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยต้องการให้เลื่อนกรอบเวลาในกระบวนการยื่นขอ และออกใบอนุญาตประเภทสาธารณะ 12 ช่อง และขอให้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนออกบอนุญาต
      
       ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไป กสท. จะเดินหน้าออกประกาศหนังสือชี้ชวนเพื่อมาลงทุน (Information Memorandum - IM) สำหรับทีวีดิจิตอลประเภทสาธารณะ ซึ่งในตอนนี้อยู่ระหว่างกระบวนการร่างและคาดว่าจะออกประกาศได้ราวเดือน มิ.ย. โดยหนังสือชี้ชวนดังกล่าวจะประกอบด้วยรายละเอียดเกณฑ์การคัดเลือกผู้ได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลสาธารณะที่มาจากประกาศที่เกี่ยวข้องและรายละเอียดอื่นๆ เช่น แนวทางการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการ
      
       'เพื่อให้ขั้นตอนทุกอย่างโปร่งใสที่สุด หนังสือชี้ชวนที่จะออกมานั้นจะอธิบายแต่ละส่วนของประกาศทั้งหมดและจะนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการบอกข้อสอบ และวิธีตัดเกรด'
      
       สำหรับประกาศหนังสือชี้ชวนดังกล่าวนั้นจะออกเป็นรายประเภท คือ ประเภท 1 ซึ่งจัดสรรไว้ในช่องที่ 5-7 วัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ประเภท 2 จัดสรรไว้ในช่องที่ 8-9 วัตถุประสงค์เพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ
      
       ประเภทที่ 3 วัตถุประสงค์เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชนและรัฐสภาประชาชน การกระจายข้อมูลเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติรย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มความสนใจที่มีกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือบริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะอื่น
       
       นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดยังได้ตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz ซึ่งเดิมกรมไปรษณีย์โทรเลขได้กำหนดให้คลื่นความถี่ย่านดังกล่าวใช้ในกิจการกระจายเสียง ขณะที่ปัจจุบัน แนวโน้มโลกได้เปลี่ยนความถี่ย่าน 700 MHz มาใช้ในกิจการโทรคมนาคม ดังนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาการรบกวนคลื่นความถี่กันบริเวณชายแดนได้

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000048336

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.