Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 เมษายน 2556 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้เพิ่ม!! ค่ายมือถือ เริ่ม4G โดยให้บริการ3Gใหม่ควบคู่กับบริการ 4G // คาดรายได้สัปทาน CAT TOT จะเริ่มลดลง!!!

ประเด็นหลัก

ขณะเดียวกันยังมีการเปิดให้บริการ 3G ใหม่ควบคู่กับบริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz เนื่องจากใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ไม่ได้จำกัดว่าต้องนำไปให้บริการเฉพาะ 3G เท่านั้น ทำให้ผู้ให้บริการบางรายซึ่งมีความพร้อมด้านคุณภาพการให้บริการข้อมูลบนระบบ 3G เดิม สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันโดยการตัดแบ่งแถบคลื่นความถี่บนคลื่น 2.1 GHz บางส่วนมาให้บริการ 4G ซึ่งมีความเร็วสูงกว่าบริการ 3G ราว 5 เท่า โดยเริ่มทยอยเปิดให้บริการในเขตพื้นที่ใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ การเร่งสร้างพันธมิตร รวมถึงพัฒนาบริการด้านข้อมูลใหม่ๆ

เนื่องจากใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ไม่ได้จำกัดว่าต้องนำไปให้บริการเฉพาะ 3G เท่านั้น ทำให้ผู้ให้บริการบางรายซึ่งมีความพร้อมด้านคุณภาพการให้บริการข้อมูลบนระบบ 3G เดิม ได้สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันโดยการตัดแบ่งแถบคลื่นความถี่บนคลื่น 2.1 GHz บางส่วนมาให้บริการ 4G ซึ่งมีความเร็วสูงกว่าบริการ 3G ราว 5 เท่า โดยจะเปิดให้บริการควบคู่ไปกับบริการ 3G ใหม่ และ 3G เดิมตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยบริการ 4G จะเริ่มทยอยเปิดให้บริการในเขตพื้นที่ใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณการใช้งานดาต้าในระดับสูงก่อน อย่างไรก็ดี สำหรับคลื่นความถี่มาตรฐานที่ทาง กทค. ได้จัดสรรให้บริการ 4G จะอยู่บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งปัจจุบันถูกใช้สำหรับการให้บริการ 2G บนระบบสัญญาสัมปทาน โดยจะสิ้นสุดสัญญาในช่วงเดือนกันยายนปีนี้ ทั้งนี้ กทค.ได้กำหนดช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่านหลังสิ้นสุดสัมปทานที่ 1 ปี จากนั้นจะนำคลื่นความถี่ 1800 MHz มาเปิดประมูลเพื่อให้บริการ 4G ซึ่งหากไม่มีประเด็นปัญหาจากการเปลี่ยนผ่าน การเปิดประมูลคลื่นความถี่1800 MHz น่าจะเกิดขึ้นได้ในราวปลายปี 2557

_____________________________________


ผู้ใช้ 2G ชิ่งหนีไปใช้ 3G กสทช. ฟันธงปีนี้20ล้านรายชี้กระทบทีโอที-กสท


บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด จัดทำบทวิเคราะห์ธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปีนี้ว่า การทยอยเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ตามเขตพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 คาดว่าจะเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันการเติบโตของธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะบริการด้านข้อมูล ประกอบกับแรงหนุนการออกโปรโมชั่นการตลาดของผู้ให้บริการเพื่อจูงใจผู้บริโภคให้หันมาใช้บริการ 3G ใหม่ เพื่อลดต้นทุนการจ่ายส่วนแบ่งรายได้สัมปทานราวร้อยละ 25-30 ไปสู่การจ่ายค่าธรรมเนียมจากรายได้เพียงร้อยละ 2 ทำให้คาดว่าจำนวนผู้บริโภคที่หันมาใช้บริการ 3G ใหม่ในปี 2556 น่าจะมีมากกว่า 20 ล้านราย ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้ใช้บริการที่ย้ายมาจากระบบ 2G หรือ 3G เดิม

สำหรับการเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกจุดหนึ่งต่อรูปแบบการทำการตลาดและการแข่งขันในธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านการเร่งขยายโครงข่าย 3G ใหม่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศเร็วขึ้นสำหรับผู้ให้บริการที่มีข้อจำกัดด้านคุณภาพการให้บริการข้อมูลบน 3G เดิม นอกจากนี้จากพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ปัจจุบันที่ต้องการช่องทางสื่อสารที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้งานบริการโพสต์เพด(รายเดือน)มีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดด คาดว่าจำนวนผู้ใช้งานบริการโพสต์เพดทั้งบนระบบ 2G และ 3G ในปี 2556 น่าจะเติบโตจาก 9.7 ล้านรายในปี 2555 สู่ระดับ 13.1-14.2 ล้านราย คิดเป็นอัตราเติบโตราวร้อยละ 34.2-45.1 เร่งตัวจากร้อยละ 23.2 ในปี 2555

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจำนวนผู้ใช้งานบริการพรีเพด(บัตรเติมเงิน)ทั้งบนระบบ 2G และ 3G ในปี 2556 น่าจะเติบโตจาก 74.2 ล้านรายในปี 2555 สู่ระดับ 76.1-79.2 ล้านราย คิดเป็นอัตราเติบโตราวร้อยละ 2.5-6.7 ชะลอตัวจากร้อยละ 6.8 ในปี 2555

ขณะเดียวกันยังมีการเปิดให้บริการ 3G ใหม่ควบคู่กับบริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz เนื่องจากใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ไม่ได้จำกัดว่าต้องนำไปให้บริการเฉพาะ 3G เท่านั้น ทำให้ผู้ให้บริการบางรายซึ่งมีความพร้อมด้านคุณภาพการให้บริการข้อมูลบนระบบ 3G เดิม สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันโดยการตัดแบ่งแถบคลื่นความถี่บนคลื่น 2.1 GHz บางส่วนมาให้บริการ 4G ซึ่งมีความเร็วสูงกว่าบริการ 3G ราว 5 เท่า โดยเริ่มทยอยเปิดให้บริการในเขตพื้นที่ใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ การเร่งสร้างพันธมิตร รวมถึงพัฒนาบริการด้านข้อมูลใหม่ๆ

จากแนวโน้มและปัจจัยสำคัญต่างๆ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าภาพรวมของตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2556 จะเติบโตประมาณร้อยละ 12.8-15.2 โดยมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 213,600-217,100 ล้านบาท จาก 189,400 ล้านบาทในปี 2555 ในจำนวนนี้คิดเป็นแรงหนุนจากการใช้บริการด้านข้อมูลคิดเป็นมูลค่า 70,900-74,800 ล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 39.7-47.5 ขณะที่บริการด้านเสียงอาจจะเติบโตในกรอบจำกัดที่ประมาณร้อยละ 2.9-3.4 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 2555” ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ

ขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจกาโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ที่จะเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2556 แล้ว จะมีผู้ใช้ระบบ 3G ที่อยู่ภายใต้สัมปทานของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะทยอยเปลี่ยนผู้ให้บริการไปใช้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ซึ่งจะกระทบต่อรายได้จากค่าสัมปทานที่เคยได้รับ อาทิ จากบริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค


_______________________________



3G ดันธุรกิจมือถือโต 47%


ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มอง 3G ใหม่ ขับเคลื่อนบริการดาต้าบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ปี 56 โตได้ถึง 47%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์การขยายโครงข่าย 3G ที่มีผลต่อธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยระบุว่า ธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2555 ที่ผ่านมา มีการเติบโตที่แข็งแกร่ง โดยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการขยายโครงข่ายบริการ 3G เชิงพาณิชย์บนคลื่นความถี่เดิมที่ครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น พร้อมทั้งการเพิ่มขึ้นของฐานผู้บริโภคที่ใช้บริการ 3G บนโครงข่ายดังกล่าว ตลอดจนแรงหนุนจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ส่งผลให้ตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยรวมของปี 2555 เติบโต 11.5% ใกล้เคียงกับปี 2554 ซึ่งมีการเติบโต 11.8% โดยมีแรงผลักดันหลักจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการใช้บริการด้านข้อมูล ซึ่งมีการขยายตัวสูงถึง 44.1% เทียบกับที่ขยายตัว 34.7% ในปีก่อนหน้า ในขณะที่การใช้บริการด้านเสียงมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอลงจาก 7.1% ในปี 2554 มาอยู่ที่ 3.0% ในปี 2555

สำหรับแนวโน้มโดยรวมในปี 2556 นั้น การทยอยเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ตามเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 คาดว่า จะเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันการเติบโตของธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะบริการด้านข้อมูล เนื่องจาก จะช่วยขจัดข้อจำกัดด้านคุณภาพการให้บริการข้อมูลในบริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ประกอบกับแรงหนุนจากการออกโปรโมชั่นทางการตลาดของผู้ให้บริการโทรคมนาคมเพื่อจูงใจผู้บริโภคให้หันมาใช้บริการ 3G ใหม่ เพื่อลดต้นทุนจากการจ่ายส่วนแบ่งรายได้สัมปทานราว 25-30% ไปสู่การจ่ายค่าธรรมเนียมจากรายได้เพียง 2% และยังเป็นการลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการบางรายที่สัญญาสัมปทานในระบบ 2G จะหมดลงในอนาคตอันใกล้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จำนวนผู้บริโภคที่หันมาใช้บริการ 3G ใหม่ ในปี 2556 น่าจะมีมากกว่า 20 ล้านราย ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้ใช้บริการที่ย้ายมาจากระบบ 2G หรือ 3G เดิม

แนวโน้มทางการตลาดและการแข่งขันของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในระบบ 3G ใหม่

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเปิดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกจุดหนึ่งต่อรูปแบบการทำการตลาดและการแข่งขันในธุรกิจบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังนี้

-เร่งขยายโครงข่าย 3G ใหม่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศเร็วขึ้นสำหรับผู้ให้บริการที่มีข้อจำกัดด้านคุณภาพการให้บริการข้อมูลบน 3G เดิม

สำหรับผู้ให้บริการที่มีข้อจำกัดด้านคุณภาพการให้บริการบนระบบ 3G เดิม น่าจะเร่งสร้างศักยภาพด้านการแข่งขันสำหรับบริการด้านข้อมูล โดยเร่งขยายโครงข่าย 3G ใหม่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศเร็วขึ้นกว่าผู้ให้บริการรายอื่นที่ไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ให้บริการที่ไม่มีข้อจำกัดด้านคุณภาพการให้บริการบนระบบ 3G เดิม น่าจะวางแผนขยายโครงข่าย 3G ใหม่ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับเงื่อนไขการได้รับใบอนุญาต   เนื่องจากผู้ให้บริการดังกล่าวสามารถให้บริการ 3G ใหม่ในลักษณะโรมมิ่ง (บริการข้ามเครือข่าย) กับโครงข่าย 3G เดิม ซึ่งได้มีการวางโครงข่ายครอบคลุมเกือบทั่วประเทศไปในช่วงก่อนหน้าแล้ว

-เร่งขยายตลาดโพสต์เพด ในขณะที่ไม่ทิ้งตลาดพรีเพด

จากพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ในปัจจุบันที่ต้องการช่องทางสื่อสารที่เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาอย่างอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่งผลให้ผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวเกิดความต้องการใช้งานบริการด้านข้อมูลที่ไม่จำกัดปริมาณการใช้งาน   โดยมักจะพบในแพ็คเกจโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโพสต์เพด ซึ่งจำนวนผู้ใช้งานบริการโพสต์เพดมีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดดหลังโครงข่ายบริการ 3G บนคลื่นความถี่เดิมครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2555 โดยเติบโตจาก 9.4% ในปี 2554 สู่ระดับ 23.2% ในปี 2555 ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการโพสต์เพดต่อเดือน (ARPU) ซึ่งทรงตัวที่ระดับ 580 บาทในช่วงหลายปีก่อนหน้า ก็เติบโตสู่ระดับ 621 บาท ในปี 2555 คิดเป็นอัตราเติบโต 7.1% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาค่าแพ็คเกจที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเปิดให้บริการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง 3G บนคลื่นความถี่เดิม

ทั้งนี้ จากแรงจูงใจด้านรายได้ต่อผู้ใช้บริการที่สูงขึ้นและสม่ำเสมอในแต่ละเดือนดังกล่าว น่าที่จะส่งผลต่อเนื่องให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ออกแคมเปญทางการตลาดหลังการเปิดให้บริการ 3G ใหม่ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาใช้บริการในลักษณะโพสต์เพดมากยิ่งขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จำนวนผู้ใช้งานบริการโพสต์เพดทั้งบนระบบ 2G และ 3G ในปี 2556 น่าจะเติบโตจาก 9.7 ล้านรายในปี 2555 สู่ระดับ 13.1-14.2 ล้านราย คิดเป็นอัตราเติบโตราว 34.2-45.1%   เร่งตัวจาก 23.2% ในปี 2555

สำหรับตลาดพรีเพด แม้ว่าในปี 2555 มี ARPU อยู่ที่ 164 บาท ซึ่งต่ำกว่าของตลาดโพสต์เพดอยู่ 3.8 เท่า แต่กลับมีจำนวนผู้ใช้บริการสูงถึง 74.2 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วน 88.4% ของผู้ใช้บริการทั้งหมด ส่งผลให้รายได้โดยรวมจากตลาดพรีเพดในปี 2555 มีสัดส่วนสูงถึง 66.7% ของรายได้รวมของทั้งสองตลาด แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของตลาดโพสต์เพดในปัจจุบันที่ยังคงเป็นแหล่งรายได้สำคัญ ทำให้คาดได้ว่า แม้ว่าผู้ให้บริการจะเริ่มให้ความสำคัญต่อการเพิ่มสัดส่วนผู้ใช้งานบริการโพสต์เพด แต่ก็ยังคงไม่ทิ้งการออกแคมเปญทางการตลาดสำหรับรักษาและขยายฐานผู้ใช้บริการพรีเพดของตน โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จำนวนผู้ใช้งานบริการพรีเพดทั้งบนระบบ 2G และ 3G ในปี 2556 น่าจะเติบโตจาก 74.2 ล้านรายในปี 2555 สู่ระดับ 76.1 ถึง 79.2 ล้านราย คิดเป็นอัตราเติบโตราว 2.5 - 6.7% ชะลอตัวจาก 6.8% ในปี 2555





-การเปิดให้บริการ 3G ใหม่ควบคู่กับบริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz

เนื่องจากใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ไม่ได้จำกัดว่าต้องนำไปให้บริการเฉพาะ 3G เท่านั้น ทำให้ผู้ให้บริการบางรายซึ่งมีความพร้อมด้านคุณภาพการให้บริการข้อมูลบนระบบ 3G เดิม ได้สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันโดยการตัดแบ่งแถบคลื่นความถี่บนคลื่น 2.1 GHz บางส่วนมาให้บริการ 4G ซึ่งมีความเร็วสูงกว่าบริการ 3G ราว 5 เท่า โดยจะเปิดให้บริการควบคู่ไปกับบริการ 3G ใหม่ และ 3G เดิมตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยบริการ 4G จะเริ่มทยอยเปิดให้บริการในเขตพื้นที่ใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณการใช้งานดาต้าในระดับสูงก่อน อย่างไรก็ดี สำหรับคลื่นความถี่มาตรฐานที่ทาง กทค. ได้จัดสรรให้บริการ 4G จะอยู่บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งปัจจุบันถูกใช้สำหรับการให้บริการ 2G บนระบบสัญญาสัมปทาน โดยจะสิ้นสุดสัญญาในช่วงเดือนกันยายนปีนี้ ทั้งนี้ กทค.ได้กำหนดช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่านหลังสิ้นสุดสัมปทานที่ 1 ปี จากนั้นจะนำคลื่นความถี่ 1800 MHz มาเปิดประมูลเพื่อให้บริการ 4G ซึ่งหากไม่มีประเด็นปัญหาจากการเปลี่ยนผ่าน การเปิดประมูลคลื่นความถี่1800 MHz น่าจะเกิดขึ้นได้ในราวปลายปี 2557

-เร่งสร้างพันธมิตร รวมถึงพัฒนาบริการด้านข้อมูลใหม่ๆ

การเปิดบริการ 3G นับได้ว่าเป็นแรงผลักดันอันสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการบริการด้านข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ และส่งผลให้เกิดการพัฒนาบริการเสริมด้านข้อมูลที่เน้นการบริโภคเนื้อหาในลักษณะออนไลน์มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริการบันเทิงออนไลน์แบบต่างๆ หรือการประชุมออนไลน์ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเห็นหน้าผู้ประชุม หรือแม้แต่บริการข้อมูลข่าวสารมัลติมีเดียแบบออนไลน์ โดยเฉพาะบริการความบันเทิงแบบพกพา ที่ผู้บริโภคสามารถชมทีวี ฟังเพลง หรือเล่นเกม ในขณะที่เชื่อมต่อการใช้บริการได้ทันที สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจของผู้ให้บริการคอนเทนต์ที่อาจจะเข้ามาเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อพัฒนาและอาศัยฐานลูกค้าของผู้ให้บริการโทรคมนาคมแต่ละราย โดยเฉพาะลูกค้าโพสต์เพดที่มีกำลังซื้อ ในการนำเสนอบริการด้านข้อมูลใหม่ๆบนช่องทางการสื่อสารรูปแบบใหม่นี้ ทั้งนี้ อาจรวมไปถึงการจับมือกับหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อให้บริการที่เป็นคุณประโยชน์ต่อสังคม เช่น บริการการแพทย์ทางไกลบนโครงข่าย 3G เป็นต้น



จากแนวโน้มและปัจจัยสำคัญต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ภาพรวมของตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2556 จะเติบโตประมาณ 12.8-15.2% โดยมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 213,600-217,100 ล้านบาท จาก 189,400 ล้านบาทในปี 2555 ในจำนวนนี้คิดเป็นแรงหนุนจากการใช้บริการด้านข้อมูลคิดเป็นมูลค่า 70,900-74,800 ล้านบาท ขยายตัวราว 39.7-47.5% ในขณะที่บริการด้านเสียงอาจจะเติบโตในกรอบจำกัดที่ประมาณ 2.9-3.4% เทียบกับที่ขยายตัว 3.0% ในปี 2555

ประเด็นที่ต้องติดตามสำหรับการเปิดให้บริการ 3G ใหม่

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวบรวมประเด็นที่ควรติดตาม ซึ่งมีผลเกี่ยวพันกับการเปิดให้บริการ 3G ใหม่ ดังนี้

-ข้อจำกัดการให้บริการคงสิทธิเลขหมายต่อการเร่งโอนย้ายลูกค้าสู่ 3G ใหม่

สำหรับผู้บริโภคที่ใช้บริการบนระบบ 2G หรือ 3G เดิม แล้วต้องการที่จะใช้บริการ 3G ใหม่บนเลขหมายเดิม จำเป็นที่จะต้องใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย (Mobile Number Portability: MNP) ซึ่งปัจจุบันทางคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติให้ระบบเคลียริ่งเฮาส์สำหรับบริการดังกล่าวสามารถดำเนินการโอนย้ายลูกค้าได้ประมาณ 4 หมื่นเลขหมายต่อวันเท่านั้น ซึ่งผู้ให้บริการมีความเป็นกังวลว่าอาจจะเป็นข้อจำกัดในการทำการตลาดเพื่อโอนย้ายลูกค้าสู่บริการ 3G ใหม่ โดยก่อนหน้านี้ ผู้ให้บริการเคยเสนอที่จะใช้รูปแบบการโอนย้ายอัตโนมัติที่สามารถทำได้ 1 แสนเลขหมายต่อวันเพื่อเร่งโอนย้ายลูกค้าสู่ 3G ใหม่ โดยเฉพาะในช่วงต้นของการเปิดให้บริการ 3G ใหม่ ซึ่งมีการคาดกันว่าน่าจะมีความต้องการโอนย้ายมากกว่า 1 แสนรายต่อวัน

-การลดราคาค่าบริการด้านเสียงและข้อมูลลงอย่างน้อย 15%

จากเงื่อนไขการได้รับใบอนุญาตในการเปิดให้บริการ 3G ใหม่ ที่มีการระบุว่าผู้ให้บริการต้องลดค่าบริการด้านเสียงและข้อมูลลงอย่างน้อย 15% เนื่องจากผู้ให้บริการ 3G ใหม่จะมีต้นทุนการจ่ายค่าธรรมเนียมรายได้เพียง 2% ซึ่งลดลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับการจ่ายแบ่งรายได้ถึงราว 25-30% ในระบบสัมปทานเดิม ซึ่งการลดค่าบริการลงดังกล่าว นอกเหนือจากการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการย้ายบริการจากระบบ 2G ที่มีค่าบริการสูงกว่า ไปยังบริการ 3G ใหม่ที่มีค่าบริการลดลง อย่างไรก็ดี มีผู้ให้บริการบางรายได้เสนอทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการลดค่าบริการโดยตรง โดยเสนอที่จะเพิ่มการใช้งานเสียงและปริมาณข้อมูลขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 เช่น แพ็กเกจ 599 บาท จำกัดการใช้งานบริการข้อมูล 2 กิกะไบต์ และบริการเสียง 400 นาที จะเพิ่มเวลาการใช้บริการเสียงและข้อมูลให้มากกว่ามูลค่า 15% เป็นต้น อย่างไรก็ดี แนวทางดังกล่าวต้องรอความชัดเจนจากทาง กทค. ก่อนการดำเนินการ


http://www.posttoday.com/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B
8%B4%E0%B8%88-
%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%
B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81
%E0%B8%B4%E0%B8%88/217477/3G-
%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%
B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.