Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

1 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) สุภิญญา กสทช. จับมือนักวิชาการธวัชชัย เร่งร่างเกณฑ์การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติได้รับใบอนุญาตโดยใช้วิธีให้คะแนน(ทำมาตรฐานกลาง ”บิวตี้คอนเทสต์”)ทั้งการบริหาร/เนื้อหา/ที่มาของเงิน/ธรรมาภิบาล/ความพร้อมในการผลิต (เปรย หากบอร์ดไม่รับ อาจลงมือฟ้องร้องเอง)


ประเด็นหลัก



   ทั้งนี้ ได้ให้ทีมงานร่างโมเดลขึ้นมา 5 เรื่อง คือ 1. โครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรทีวีสาธารณะ อิสระ เป็นกลางทางการเมือง มืออาชีพ บริหารสถานีได้ สูงสุด 30 คะแนน โดยผู้ที่มาขอรับใบอนุญาตนั้น จะต้องลงรายละเอียด 3 แบบ และต้องเป็นองค์กรมหาชน/องค์กรอิสระจากนักวิชาการ คนนอก ภาคสังคม คล้ายกับโมเดลไทยพีบีเอส และหากทำเป็นประชาสังคม ซึ่งภาควิชาการ ราชการ มูลนิธิ หากการเสนอมี 3 ฝ่ายร่วมกันขอ จะสะท้อนว่าได้คะแนนสูงในการพิจารณา 2. ความพร้อมด้านเนื้อหารายการ ร้อยละ 25 ซึ่งต้องมีคุณค่าต่อสังคม มีความแตกต่างช่องธุรกิจ คิดสร้างสรรค์ ตอบสนองประโยชน์สาธารณะ 3. ที่มาของเงิน แผนลงทุน และรายได้ 20% แนวทางหาโฆษณาภาพลักษณ์ 4. ธรรมาภิบาล 20% องค์กรสาธารณะ 5. ความพร้อมในการผลิตในระบบดิจิตอล 10%
    "ปลายสัปดาห์นี้จะเสนอบรรจุเป็นวาระในการประชุมบอร์ดวันที่ 7 พ.ค.นี้ ที่ต้องเร่งรีบเพราะต้นเดือนพฤษภาคมอาจมีความเคลื่อนไหวเรื่องแผนการประมูลทีวีช่องธุรกิจ เพราะผลการศึกษาราคาประมูล และราคาตั้งต้นช่องธุรกิจใกล้เสร็จแล้ว ซึ่งเกณฑ์ที่ออกมามั่นใจว่าจะมีประโยชน์ และทำให้มีเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาได้กว่าการไม่มีเกณฑ์ เพราะขณะนี้เห็นว่าการออกแบบที่ผิดพลาดจะส่งผลต่อการประกอบกิจการของช่องธุรกิจด้วย" นางสาวสุภิญญา กล่าว.


ทั้งนี้ หากบอร์ด กสท. มีการพิจารณาร่างประกาศฯ ที่เสนอ ก็ต้องการให้บอร์ดเห็นชอบจัดทำเป็น "ประกาศ" หลักเกณฑ์บิวตี้ คอนเทสต์ ทีวีสาธารณะ เนื่องจากเข้าข่ายการจัดสรรคลื่นฯ ใหม่ และจะเป็นประกาศที่ผ่านการพิจารณาของบอร์ดใหญ่ กสทช. ขณะที่การจัดทำประกาศหลักเกณฑ์ในรูปแบบหนังสือชี้ชวน (IM) จะไม่ผ่านการพิจารณาของบอร์ดใหญ่ และอาจเป็นดุลพินิจการจัดสรรคลื่นฯ ของบอร์ด กสท. เสียงข้างมากเท่านั้น

"โดยส่วนตัวไม่เห็นเหตุผลที่จะไม่จัดทำประกาศหลักเกณฑ์ บิวตี้ คอนเทสต์ ทีวีสาธารณะ เพราะว่า บอร์ด กสท. ได้จัดทำประกาศหลักเกณฑ์ย่อยการประมูล ทีวีดิจิทัลธุรกิจเช่นกัน มองว่าการไม่จัดทำเกณฑ์ บิวตี้ คอนเทสต์ บอร์ด กสท. มีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องจากภาคประชาสังคม รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล สาธารณะ เช่นกัน" นางสาวสุภิญญา กล่าว


______________________________________







สุภิญญาดึงแนวร่วมกดดันบอร์ดกสท.


  "สุภิญญา-ธวัชชัย" ดึงนักวิชาการ-ภาคสังคม สู้กรรมการเสียงข้างมาก จี้ทำมาตรฐานกลาง ”บิวตี้คอนเทสต์” ชงบอร์ด 7 พ.ค.นี้ เปรย หากบอร์ดไม่รับ อาจลงมือฟ้องร้องเอง
           นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ตน และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการด้านกิจการกระจายเสียง ได้ทำร่างเกณฑ์การคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติได้รับใบอนุญาต โดยได้เสนอแนวคิดกับบอร์ดกระจายเสียงไปหลายครั้งแล้วว่า ควรร่างเกณฑ์เฉพาะ เนื่องจากเกณฑ์ช่องธุรกิจก็มีเกณฑ์เฉพาะเหมือนกัน เช่น ราคาตั้งต้น แต่ในกลุ่มสาธารณะใช้บิวตี้คอนเทสต์ โดยใช้คะแนนเป็นตัวตัดสินใจ
    ทั้งนี้ ได้ให้ทีมงานร่างโมเดลขึ้นมา 5 เรื่อง คือ 1. โครงสร้างการบริหารจัดการองค์กรทีวีสาธารณะ อิสระ เป็นกลางทางการเมือง มืออาชีพ บริหารสถานีได้ สูงสุด 30 คะแนน โดยผู้ที่มาขอรับใบอนุญาตนั้น จะต้องลงรายละเอียด 3 แบบ และต้องเป็นองค์กรมหาชน/องค์กรอิสระจากนักวิชาการ คนนอก ภาคสังคม คล้ายกับโมเดลไทยพีบีเอส และหากทำเป็นประชาสังคม ซึ่งภาควิชาการ ราชการ มูลนิธิ หากการเสนอมี 3 ฝ่ายร่วมกันขอ จะสะท้อนว่าได้คะแนนสูงในการพิจารณา 2. ความพร้อมด้านเนื้อหารายการ ร้อยละ 25 ซึ่งต้องมีคุณค่าต่อสังคม มีความแตกต่างช่องธุรกิจ คิดสร้างสรรค์ ตอบสนองประโยชน์สาธารณะ 3. ที่มาของเงิน แผนลงทุน และรายได้ 20% แนวทางหาโฆษณาภาพลักษณ์ 4. ธรรมาภิบาล 20% องค์กรสาธารณะ 5. ความพร้อมในการผลิตในระบบดิจิตอล 10%
    "ปลายสัปดาห์นี้จะเสนอบรรจุเป็นวาระในการประชุมบอร์ดวันที่ 7 พ.ค.นี้ ที่ต้องเร่งรีบเพราะต้นเดือนพฤษภาคมอาจมีความเคลื่อนไหวเรื่องแผนการประมูลทีวีช่องธุรกิจ เพราะผลการศึกษาราคาประมูล และราคาตั้งต้นช่องธุรกิจใกล้เสร็จแล้ว ซึ่งเกณฑ์ที่ออกมามั่นใจว่าจะมีประโยชน์ และทำให้มีเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาได้กว่าการไม่มีเกณฑ์ เพราะขณะนี้เห็นว่าการออกแบบที่ผิดพลาดจะส่งผลต่อการประกอบกิจการของช่องธุรกิจด้วย" นางสาวสุภิญญา กล่าว.

http://www.thaipost.net/news/010513/72904

_________________________________




ประเด็นหลัก




______________________________________







ชงเกณฑ์ไลเซ่นทีวีสาธารณะ บริหารอิสระ

"สุภิญญา-ธวัชชัย"บอร์ด กสท.เสียงข้างน้อย ภาคประชาสังคม เสนอร่างหลักเกณฑ์"บิวตี้ คอนเทสต์"กำหนด 5 คุณสมบัติ ผู้ขอไลเซ่น"ทีวีสาธารณะ"

วานนี้ (30 เม.ย.) นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสท. ซึ่งเป็น กรรมการเสียงข้างน้อยในการลงมติ "ไม่เห็นชอบ" กับคณะกรรมการฯ ที่ไม่ดำเนินการจัดทำ "ประกาศ" หลักเกณฑ์คัดเลือก (บิวตี้ คอนเทสต์) ผู้ได้รับใบอนุญาต โทรทัศน์ระดับดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) ประเภทสาธารณะ ที่จะดำเนินการจัดสรร 12 ช่อง ได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นกลุ่มย่อย (โฟกัส กรุ๊ป) กลุ่มนักวิชาการด้านสื่อ และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมเสนอความคิดเห็นการออกแบบ ร่างประกาศหลักเกณฑ์บิวตี้ คอนเทสต์ ทีวีดิจิทัล สาธารณะ เพื่อเสนอให้บอร์ด กสท.พิจารณา

นายธวัชชัย กล่าวว่า การจัดทำประกาศหลักเกณฑ์บิวตี้ คอนเทสต์ สำหรับคัดเลือก "ทีวีสาธารณะ" เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะใช้เป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ใบอนุญาตคลื่นความถี่สาธารณะของประเทศ จึงไม่ควรใช้หลักการพิจารณา โดยดุลพินิจของกรรมการเพียง 3 คน ที่จะมีสิทธิชี้นิ้วเลือกผู้ได้รับใบอนุญาต โดยไม่ต้องจ่ายค่าไลเซ่นเหมือนการประมูลในประเภทธุรกิจ ซึ่งถือเป็นเรื่อง "อันตราย" มากในการจัดสรรคลื่นฯ

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การพิจารณาจัดสรรคลื่นฯ ทีวีสาธารณะในต่างประเทศ จะมีความชัดเจนมาก เรื่องการให้น้ำหนักหรือคะแนนในการคัดเลือก โดยองค์ประกอบหลักๆ จะมาจากความพร้อมด้านเนื้อหา, เทคนิคการผลิต และการเงิน ซึ่งบอร์ด กสท. ควรออกแบบหลักเกณฑ์การคัดเลือกทีวีสาธารณะให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน

เสนอร่างฯตั้งเกณฑ์ 5 ข้อ

นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า ข้อสรุปจากเวทีโฟกัสกรุ๊ปกลุ่มนักวิชาการด้านสื่อจากมหาวิทยาลัยต่างๆ และ ภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันจัดทำร่างประกาศหลักเกณฑ์

บิวตี้ คอนเทสต์ ทีวีสาธารณะ เพื่อเป็นร่างฯ ตุ๊กตา หรือร่างฯ เงา เสนอบอร์ด กสท. พิจารณาในวาระการประชุมวันที่ 7 พ.ค. นี้

โดยสรุปหลักเกณฑ์บิวตี้ คอนเทสต์ เป็น 5 เกณฑ์หลัก คือ 1.โครงสร้างบริหารองค์กรมีความอิสระ เป็นกลาง และน่าเชื่อถือ โดยจัดทำในรูปแบบ "องค์กรมหาชน" โดยหากเป็นหน่วยงานรัฐ ควรแยกมาจากหน่วยงานราชการ หรือตั้งองค์กรที่มีโครงสร้างบริหารที่เป็นอิสระ หรือมีภาคีเครือข่าย โดยการจับมือ 3 กลุ่มผู้มีคุณสมบัติขอใบอนุญาต คือ ภาครัฐ องค์กรหรือมูลนิธิ และภาควิชาการ เพื่อลดการผูกขาดอำนาจและเพิ่มความหลากหลายและรับประกันความคุ้มค่าในแง่การใช้คลื่นฯ สาธารณะ ให้คะแนนในการพิจารณา 30%

เกณฑ์ที่ 2 เรื่องผังและเนื้อหารายการ ที่มีความหลากหลาย ตอบสนองเนื้อหารายการที่เป็นประโยชน์และไม่มีในฟรีทีวีอนาล็อก เช่น เนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ โดยตัวชี้วัดสำคัญในเรื่องเนื้อหา เช่น การสร้างคุณค่าทางสังคม คุณภาพรายการ เช่น คุณค่าทางการผลิต สร้างความปลอดภัย กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ให้คะแนน 25%

เกณฑ์ที่ 3 การเงิน และการหารายได้ พิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการ โดยควรหารายได้แบบพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้ ให้คะแนน 20%

เกณฑ์ที่ 4 ธรรมาภิบาลและความโปร่งใสของสถานี มีคณะกรรมการเป็นอิสระในการเป็นเจ้าของและการดำเนินการ มีมาตรฐานคุ้มค่าการลงทุน กระบวนการแต่งตั้ง มีกลไกตรวจสอบที่เปิดเผยโปร่งใส มีคณะกรรมการที่มีความเป็นอิสระ ให้คะแนน 15%

และเกณฑ์ที่ 5 ความพร้อมด้าน"เทคนิค" การประเมินศักยภาพของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้านเนื้อหา เช่น digital archive, สามารถบูรณาการในด้านเทคโนโลยีและเนื้อหาในระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น และแผนพัฒนาความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างจากระบบอนาล็อก ให้คะแนน 10%

"เหตุผลที่ต้องเรียกร้องให้มีหลักเกณฑ์บิวตี้ คอนเทสต์ ในการพิจารณาให้ใบอนุญาต เพื่อคัดเลือกหน่วยงานที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมและพร้อมดำเนินกิจการด้านสื่อ เพราะไม่เช่นนั้นหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรร อาจนำไปปล่อยเวลาเช่าช่วงในอัตราสูง แม้ว่า กสทช. จะเปิดช่องทางให้ดำเนินการได้ แต่ผู้ได้รับใบอนุญาตควรทำหน้าที่การผลิตรายการเป็นหลัก เช่น บีบีซี ผลิตรายการเองถึง 80%" นางสาวสุภิญญา กล่าว

เปิดช่องภาคประชาสังคมร้องศาล

นางสาวสุภิญญา กล่าวอีกว่า ปัจจุบันฟรีทีวี อนาล็อก 6 ช่อง หน่วยงานรัฐดำเนินการเอง หรือเป็นเจ้าของสื่อ 2 ช่อง คือ ช่อง 5 และ ช่อง 11 ขณะที่การจัดสรรทีวีดิจิทัล สาธารณะกำหนดสัดส่วนไว้ที่ 12 ช่อง เท่ากับทีวีสาธารณะ ที่หน่วยงานรัฐมีสิทธิเป็น "เจ้าของ" เพิ่มขึ้นจากเดิม "ไม่ได้ลดลง"

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องออกแบบหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ใบอนุญาต และเงื่อนไขในการประกอบกิจการอย่างรัดกุม และคัดเลือกเฉพาะผู้มีศักยภาพในการประกอบกิจการเท่านั้น

ทั้งนี้ เห็นว่าการออก "ประกาศ" หลักเกณฑ์บิวตี้ คอนเทสต์ ทีวีสาธารณะ เป็นการออกประกาศฯ หลักเกณฑ์ย่อย ที่บอร์ด กสท. ควรต้องดำเนินการ เช่นเดียวกับการออกประกาศหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง ซึ่งสามารถออกดำเนินการจัดทำ ร่างประกาศฯ หลักเกณฑ์ และเปิดเวทีสาธารณะ ไปพร้อมกัน

ทั้งนี้ หากบอร์ด กสท. มีการพิจารณาร่างประกาศฯ ที่เสนอ ก็ต้องการให้บอร์ดเห็นชอบจัดทำเป็น "ประกาศ" หลักเกณฑ์บิวตี้ คอนเทสต์ ทีวีสาธารณะ เนื่องจากเข้าข่ายการจัดสรรคลื่นฯ ใหม่ และจะเป็นประกาศที่ผ่านการพิจารณาของบอร์ดใหญ่ กสทช. ขณะที่การจัดทำประกาศหลักเกณฑ์ในรูปแบบหนังสือชี้ชวน (IM) จะไม่ผ่านการพิจารณาของบอร์ดใหญ่ และอาจเป็นดุลพินิจการจัดสรรคลื่นฯ ของบอร์ด กสท. เสียงข้างมากเท่านั้น

"โดยส่วนตัวไม่เห็นเหตุผลที่จะไม่จัดทำประกาศหลักเกณฑ์ บิวตี้ คอนเทสต์ ทีวีสาธารณะ เพราะว่า บอร์ด กสท. ได้จัดทำประกาศหลักเกณฑ์ย่อยการประมูล ทีวีดิจิทัลธุรกิจเช่นกัน มองว่าการไม่จัดทำเกณฑ์ บิวตี้ คอนเทสต์ บอร์ด กสท. มีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องจากภาคประชาสังคม รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการจัดสรรคลื่นฯ ทีวีดิจิทัล สาธารณะ เช่นกัน" นางสาวสุภิญญา กล่าว


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130501/503234/%E0%B8%8A%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%
81%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%
B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%
E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0-
%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B
8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B0.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.