Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 พฤษภาคม 2556 นักวิเคราะห์อาวุโสฯ ไอดีซี ชี้ (ศึกแย่งชิงลูกค้า3G) จุดตายไม่ได้อยู่คนชนชั้นกลาง แต่อยู่ที่ตลาด"แมส" ที่จะออกแพ็คเกจไม่จำกัดไปสู้คนรายได้น้อย นักเรียนนักศึกษามากเท่าไหน


ประเด็นหลัก



นักวิเคราะห์อาวุโสฯ ไอดีซี ประเทศไทย กล่าวต่อว่า แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เห็นได้ชัดจะมาจากตลาดกลุ่ม "แมส" มากกว่า ถ้าผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถนำเสนอแพ็กเกจการใช้งานข้อมูลแบบไม่จำกัดปริมาณการใช้ให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย นักเรียนนักศึกษาและกลุ่มคนหนุ่มสาวได้ จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้

แพ็กเกจแบบไม่จำกัดปริมาณการใช้งานนั้นเริ่มเสื่อมความนิยมลงเรื่อยๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงในภูมิภาคอาเซียนด้วย เนื่องจากต้นทุนของการให้บริการได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่สำหรับตลาดเกิดใหม่อย่างประเทศไทยนั้น แพ็กเกจลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการเครือข่าย ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากต้องการกระตุ้นตลาดการให้บริการโมบายล์อินเทอร์เน็ตและการให้บริการอื่นๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือให้เติบโตขึ้น ซึ่งหากราคาไม่สูงเกินไป แพ็กเกจแบบไม่จำกัดจะได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้ที่มีรายได้ระดับกลางขึ้นไป



______________________________________







คาดศึก3จีเดือด ทำเกิดมหกรรมย้ายลูกค้าครั้งใหญ่


ไอดีซี วิเคราะห์ถึงสภาวะ การแข่งขันบริการ3G จากโปรโมชั่นแพ็กเกจของทั้ง 3 ค่าย เชื่อช่วง 6 เดือนข้างหน้านี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้น จนอาจทำให้เกิดการย้ายค่ายครั้งใหญ่ของผู้ใช้งาน หากโอเปอเรเตอร์รายหนึ่งรายใดเพลี่ยงพล้ำ...

นางสาวนีรนุช กนกวิไลรัตน์ นักวิเคราะห์อาวุโสสายงานศึกษาตลาดการให้บริการโทรคมนาคมประจำไอดีซีประเทศไทย เปิดเผยว่า การแข่งขันนี้จะตัดสินกันที่ราคาเป็นอันดับแรก จากนั้นยกถัดไปจะเป็นการตัดสินที่คุณภาพของการให้บริการ เชื่อว่าสำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับกลางนั้น สิ่งที่สำคัญคือความทันสมัยของเทคโนโลยีของดีไวซ์ และนั่นหมายความว่าแพ็กเกจแบบไม่จำกัดปริมาณการใช้งานจะได้รับความนิยมในหมู่คนกลุ่มนี้มากกว่า ดังเราจะเห็นตัวอย่างได้จากลักษณะการใช้งานของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ที่เน้นการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์แทบจะตลอดเวลา อีกทั้งยังมีการใช้งานด้านวิดีโอและเล่นเกมในปริมาณมากอีกด้วย



นักวิเคราะห์อาวุโสฯ ไอดีซี ประเทศไทย กล่าวต่อว่า แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เห็นได้ชัดจะมาจากตลาดกลุ่ม "แมส" มากกว่า ถ้าผู้ให้บริการเครือข่ายสามารถนำเสนอแพ็กเกจการใช้งานข้อมูลแบบไม่จำกัดปริมาณการใช้ให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย นักเรียนนักศึกษาและกลุ่มคนหนุ่มสาวได้ จะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้

แพ็กเกจแบบไม่จำกัดปริมาณการใช้งานนั้นเริ่มเสื่อมความนิยมลงเรื่อยๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงในภูมิภาคอาเซียนด้วย เนื่องจากต้นทุนของการให้บริการได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่สำหรับตลาดเกิดใหม่อย่างประเทศไทยนั้น แพ็กเกจลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการเครือข่าย ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้หากต้องการกระตุ้นตลาดการให้บริการโมบายล์อินเทอร์เน็ตและการให้บริการอื่นๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือให้เติบโตขึ้น ซึ่งหากราคาไม่สูงเกินไป แพ็กเกจแบบไม่จำกัดจะได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้ที่มีรายได้ระดับกลางขึ้นไป

ด้าน นายจาริตร์ สิทธุ นักวิเคราะห์สายงานศึกษาตลาดไคลเอนต์ดีไวซ์ประจำไอดีซีประเทศไทย กล่าวว่า ในความเป็นจริงแล้ว การเปิดตัวการให้บริการ 3G อาจไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดสมาร์ทโฟนมากนัก เนื่องจากสมาร์ทโฟนระดับกลางถึงระดับบนส่วนใหญ่ที่วางขายอยู่ในขณะนี้ได้รองรับ 3G แล้ว โดยเวนเดอร์ได้นำสินค้าที่รองรับ 3G เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมาเป็นเวลา 2-3 ปีแล้ว แต่ผลกระทบที่เห็นได้ชัดจะอยู่ในตลาดระดับล่างมากกว่า ไอดีซีเชื่อว่าผู้ให้บริการเครือข่ายจะพยายามจำหน่ายสมาร์ทโฟนราคาถูกเพื่อให้ผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนเปลี่ยนมาใช้สมาร์ทโฟน ที่กระตุ้นปริมาณการใช้ดาต้ามากขึ้น อีกทั้งเรายังจะได้เห็นการนำเสนอบริการและคอนเทนต์ใหม่ๆ เช่น บริการอีบุ๊กและบริการฟังเพลงหรือดูวิดีโอผ่านเครือข่าย 3G



นักวิเคราะห์สายงานศึกษาตลาดไคลเอนต์ดีไวซ์ ไอดีซี ประเทศไทย กล่าวอีกว่า ดังนั้นการเปิดตัวบริการ 3G จะไม่ส่งผลกระทบต่อยอดจัดส่งสมาร์ทโฟนในประเทศไทยมากนัก เพราะไทยได้เปิดตัวบริการนี้หลังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเป็นเวลาหลายปี โดยความแพร่หลายของบริการ 3G ในภูมิภาคทำให้บรรดาผู้ผลิตสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตจนสามารถลดต้นทุนของสมาร์ทโฟนที่รองรับ 3G ได้ และนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จะมีบริการ 3G เสียด้วยซ้ำ การบ้านสำคัญของผู้ให้บริการเครือข่ายจึงมิใช่เป็นเรื่องของการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคใช้อุปกรณ์ที่รองรับ 3G แต่เป็นการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้แพ็กเกจที่มีราคาสูงขึ้นเสียมากกว่า

นายจาริตร์ กล่าวด้วยว่า สำหรับกลยุทธ์ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องให้ความสนใจในระยะยาว คือการขยายเครือข่ายของเสาสัญญาณเพื่อรองรับปริมาณการใช้งานที่สูงขึ้น ทั้งในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใหญ่ๆ ทั่วประเทศ แต่อย่างไรก็ดีงบประมาณการลงทุนก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน นอกเหนือจากการลดราคาแล้ว ผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละราย จำเป็นต้องหาจุดสมดุลระหว่างคุณภาพของการให้บริการและความครอบคลุมของเครือข่ายให้ได้





โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/345018

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.