20 พฤษภาคม 2556 กิตติรัตน์ รมว.คลัง++ ไม่กีดกัน CAT TOT ร่วมประมูลงานทุกชนิด เพราะไม่ได้เป็นเรกูเลเตอร์ แล้ว!! ขอให้เอกชน1รายรวมด้วยเป็นพอ
ประเด็นหลัก
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า กนร. ยังพิจารณาแผนงานฟื้นฟูกิจการบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ในฐานะที่บริษัททั้ง 2 แห่งยุติการทำหน้าที่เป็นเรกูเลเตอร์ และเหลือเพียงบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งต้องเข้าสู่การแข่งขันทางธุรกิจเต็มตัว ทำให้มีความจำเป็นต้องทบทวนกฎระเบียบ คือ การเข้าประมูลแข่งขันให้บริการกับเอกชนต้องทำได้แล้ว ที่เดิมกำหนดห้าม 2 องค์กรนี้เข้าร่วมการประมูลเดียวกัน เพราะมีผู้ถือหุ้นใหญ่รายเดียวกัน คือ กระทรวงการคลัง และทำให้กลายเป็นการฮั้วประมูลไป
ดังนั้น ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จึงเสนอ กนร.ให้แก้ระเบียบในเรื่องนี้ เพราะปัจจุบัน การประมูลงานของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจมีเอกชนรายอื่นๆ เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น หากกีดกันองค์กรใดองค์กรหนึ่งยิ่งจะทำให้การแข่งขันลดลง
______________________________________
เผย รสก. ฟันกำไรปี 55 กระฉูด 2.89 แสนล้าน เล็งเปิดช่อง “ทีโอที-กสท” ประมูลแข่งได้
“ขุนคลัง” ปลื้ม “รัฐวิสาหกิจไทย” ฟันกำไรปี 2555 สูงถึง 2.89 แสนล้านบาท เล็งเปิดช่อง “ทีโอที-กสท” ประมูลแข่งขันได้ ลั่นหากกีดกันองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ยิ่งจะทำให้การแข่งขันลดลง
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ประธานกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เปิดเผยว่า กนร.ได้รับทราบผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ประจำปี 2555 ในการกำกับดูแลของกระทรวง จำนวน 56 แห่ง มีทรัพย์สินรวมรวมกัน 10.98 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.85%
นอกจากนี้ มีรายได้รวม 4.95 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% และมีกำไรสุทธิ 2.89 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.45%
ขณะเดียวกัน รัฐวิสาหกิจยังสามารถนำส่งรายได้แผ่นดินสูงถึงปี 2555 ได้ 1.22 แสนล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้นำส่งถึง 1.87 หมื่นล้านบาท หรือ 15.27% อีกทั้งยังสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ถึง 80% ของงบลงทุนที่ได้อนุมัติ จำนวน 3.78 แสนล้านบาท
สำหรับในปี 2556 รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม ณ เดือน มี.ค.2556 ไปแล้ว จำนวน 6.09 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 70.5%
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า กนร. ยังพิจารณาแผนงานฟื้นฟูกิจการบริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ในฐานะที่บริษัททั้ง 2 แห่งยุติการทำหน้าที่เป็นเรกูเลเตอร์ และเหลือเพียงบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม การที่รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งต้องเข้าสู่การแข่งขันทางธุรกิจเต็มตัว ทำให้มีความจำเป็นต้องทบทวนกฎระเบียบ คือ การเข้าประมูลแข่งขันให้บริการกับเอกชนต้องทำได้แล้ว ที่เดิมกำหนดห้าม 2 องค์กรนี้เข้าร่วมการประมูลเดียวกัน เพราะมีผู้ถือหุ้นใหญ่รายเดียวกัน คือ กระทรวงการคลัง และทำให้กลายเป็นการฮั้วประมูลไป
ดังนั้น ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จึงเสนอ กนร.ให้แก้ระเบียบในเรื่องนี้ เพราะปัจจุบัน การประมูลงานของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจมีเอกชนรายอื่นๆ เข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น หากกีดกันองค์กรใดองค์กรหนึ่งยิ่งจะทำให้การแข่งขันลดลง
http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000059877&Keyword=%a1%ca%b7
ไม่มีความคิดเห็น: