Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 พฤษภาคม 2556 (บทความ) การปรับตัวของ "เว็บบราวเซอร์" แข่งเพิ่มลูกเล่น เติมฟังก์ชั่นใหม่พรึ่บ // หลังม่านของตลาดเว็บบราวเซอร์ โปรแกรมเสริมประเภท "แอด-ออน" และแอปพลิเคชั่น ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ เช่น โครม (Chrome)



ประเด็นหลัก



"เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" รายงานว่า บริษัทเว็บบราวเซอร์ยักษ์ใหญ่ไล่ตั้งแต่กูเกิลไปจนถึงบริษัทหน้าใหม่ต่างอยู่ในช่วงเปิดตัวฟังก์ชั่นใหม่ ๆ

ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ผู้ใช้งานสร้างและฝากไฟล์ข้อความไว้, การใส่ฟังก์ชั่นสั่งงานด้วยเสียง, โทร.ทางไกลทั้งภาพและเสียง รวมถึงการส่งข้อความสนทนา นอกจากนี้ผู้เล่นในตลาดบราวเซอร์ยังปฏิวัติเว็บบราวเซอร์ให้รองรับอุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์อย่างรถยนต์ได้ด้วย

ตัวอย่างของการทดลองพัฒนาเว็บบราวเซอร์รูปแบบหนึ่ง คือแม็กซ์ทอน (Maxthon Ltd.) ที่เพิ่มฟังก์ชั่นให้ผู้ใช้งานเชื่อมการดาวน์โหลดไฟล์ให้ได้ในทุกอุปกรณ์ เพียงเปิดใช้บราวเซอร์ ถือเป็นการออกตัวเข้าแข่งขันกับบริการแบ่งปันไฟล์ข้อมูลของ "ดรอปบ็อกซ์ (Dropbox)" โดยตรงโดย

ผู้ใช้จะดาวน์โหลดและส่งข้อมูลให้ไปเก็บไว้ในบัญชีคลังข้อมูล "คลาวด์" ของตนหรือบนอุปกรณ์ชนิดอื่นที่ใช้เว็บบราวเซอร์ของแม็กซ์ทอน ด้วยวิธีง่าย ๆ เพียงลากไฟล์ที่ต้องการเก็บไปใส่ในเมนูบราวเซอร์เท่านั้น


"คาร์ล แมตต์สัน" รองประธานและ

ผู้จัดการทั่วไป แม็กซ์ทอนกล่าวว่า เป็นที่แน่นอนแล้วว่าโลกของเรากำลังเปลี่ยนเข้าสู่ยุคที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบ นั่นทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย แต่เว็บบราวเซอร์ของเรานำไปใช้งานได้อย่างไม่ติดขัดกับการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้

อุตสาหกรรมเว็บบราวเซอร์อาจดูค่อนข้างนิ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยตลาดส่วนใหญ่ยังอยู่ในความครอบครองจากบริษัทเทคโนโลยีรายยักษ์ไม่กี่ราย ได้แก่ ไมโครซอฟท์, กูเกิล และแอปเปิล ข้อมูลจากบริษัทเน็ต แอพพลิเคชั่นส์ (Net Applications) ระบุว่า เว็บบราวเซอร์ "อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์" ของไมโครซอฟท์ยังเป็นเจ้าตลาดบนแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป ด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 56% จากทั่วโลก ส่วนบราวเซอร์ "ซาฟารี" ของแอปเปิลผู้นำบนแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือและแท็บเลต มีส่วนแบ่งตลาด 59% จากกระแสความนิยมในไอโฟนและไอแพดเป็นหลัก

แต่หลังม่านของตลาดเว็บบราวเซอร์ ผู้เล่นหลายรายต่างพยายามพัฒนาและปรับปรุงภาพลักษณ์ของบราวเซอร์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถ ทำงานรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเว็บบราวเซอร์ได้โดยตรงแบบไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานนั้น ๆ ลงบนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งชุดเทคนิคใหม่ ๆ ในการเขียนโปรแกรมให้ผู้ใช้สามารถทำงานบนเว็บบราวเซอร์โดยตรงมักเรียกว่า "เอชทีเอ็มแอล 5"

หลายบริษัทเปิดรับกับโปรแกรมเสริมประเภท "แอด-ออน" และแอปพลิเคชั่น เพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถเปิดโปรแกรมจำพวกเกมหรือซอฟต์แวร์อื่น ๆ ขึ้นมาใช้งานบนหน้าจอเว็บบราวเซอร์ได้ในทันที โดยเมื่อปี 2555 "กูเกิล" เจ้าของเว็บบราวเซอร์ "โครม (Chrome)" ได้ออกซอฟต์แวร์ที่ทำให้นักพัฒนาสามารถเพิ่มฟังก์ชั่นการสั่งงานด้วยเสียงเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของตนเองได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถท่องเว็บไซต์ได้ผ่านการพูด

นอกจากนี้ "กูเกิล" ยังเปิดตัวแอปพลิเคชั่นสำหรับเว็บบราวเซอร์โครม เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อความและเก็บบันทึกไว้บนหน่วยความจำแบบคลาวด์ชื่อว่า "กูเกิลไดรฟ์" ได้ในทันที

ทางฝั่ง "ไมโครซอฟท์" เองก็ปรับแต่งเว็บบราวเซอร์อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ให้รองรับการสั่งการแบบ "หน้าจอสัมผัส" โดยเน้นให้บราวเซอร์ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วบนอุปกรณ์แท็บเลต เช่น "เซอร์เฟซ (Surface)" เป็นต้น











______________________________________






การปรับตัวของ "เว็บบราวเซอร์" แข่งเพิ่มลูกเล่น เติมฟังก์ชั่นใหม่พรึ่บ

คอลัมน์ คลิกเวิร์ด

การมาถึงของสมาร์ทโฟนและแท็บเลตทำให้พฤติกรรมการท่องอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร เนื่องจากบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ต่างพยายามปรับเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงเว็บไซต์เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้งานทั่วไป ส่งผลให้คนทั่วไปเปลี่ยนมาเข้าถึงเนื้อหาในเว็บไซต์ผ่านการเปิดใช้

แอปพลิเคชั่นแทนหน้าต่าง "เว็บบราวเซอร์" ทำให้บรรดาเว็บบราวเซอร์ทั้งหลายต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

"เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" รายงานว่า บริษัทเว็บบราวเซอร์ยักษ์ใหญ่ไล่ตั้งแต่กูเกิลไปจนถึงบริษัทหน้าใหม่ต่างอยู่ในช่วงเปิดตัวฟังก์ชั่นใหม่ ๆ

ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ผู้ใช้งานสร้างและฝากไฟล์ข้อความไว้, การใส่ฟังก์ชั่นสั่งงานด้วยเสียง, โทร.ทางไกลทั้งภาพและเสียง รวมถึงการส่งข้อความสนทนา นอกจากนี้ผู้เล่นในตลาดบราวเซอร์ยังปฏิวัติเว็บบราวเซอร์ให้รองรับอุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์อย่างรถยนต์ได้ด้วย

ตัวอย่างของการทดลองพัฒนาเว็บบราวเซอร์รูปแบบหนึ่ง คือแม็กซ์ทอน (Maxthon Ltd.) ที่เพิ่มฟังก์ชั่นให้ผู้ใช้งานเชื่อมการดาวน์โหลดไฟล์ให้ได้ในทุกอุปกรณ์ เพียงเปิดใช้บราวเซอร์ ถือเป็นการออกตัวเข้าแข่งขันกับบริการแบ่งปันไฟล์ข้อมูลของ "ดรอปบ็อกซ์ (Dropbox)" โดยตรงโดย

ผู้ใช้จะดาวน์โหลดและส่งข้อมูลให้ไปเก็บไว้ในบัญชีคลังข้อมูล "คลาวด์" ของตนหรือบนอุปกรณ์ชนิดอื่นที่ใช้เว็บบราวเซอร์ของแม็กซ์ทอน ด้วยวิธีง่าย ๆ เพียงลากไฟล์ที่ต้องการเก็บไปใส่ในเมนูบราวเซอร์เท่านั้น

ก่อนหน้านี้ "แม็กซ์ทอน" เคยเปิดตัวฟังก์ชั่นการจดและเชื่อมไฟล์ข้อความให้ทั่วถึงกันบนเว็บบราวเซอร์มาแล้ว

ฟังก์ชั่นใหม่สำหรับบราวเซอร์ที่ว่านี้มีจุดประสงค์เพื่อลอกเลียนแบบบริการของเว็บไซต์ดังบางแห่ง ไม่ว่าจะเป็นกูเกิลไดรฟ์หรือดรอปบ็อกซ์

ผู้บริหารจากแม็กซ์ทอนระบุว่า เมื่อฟีเจอร์เหล่านี้นำมาผูกกับบราวเซอร์จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้และควรนำมาผนวกเข้าด้วยกันตั้งแต่แรก เพราะการใช้เซอร์วิสเฉพาะตัวยุ่งยากจนเกินความจำเป็น

แม็กซ์ทอนให้ข้อมูลว่า เว็บบราวเซอร์เล็ก ๆ ของตนมีฐานผู้ใช้งานเฉลี่ย 120 ล้านคนต่อเดือน มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็น

ผู้ใช้จากจีน บริษัทตั้งเป้าว่าจะหารายได้จากการเก็บค่าบริการกับผู้บริโภคที่ต้องการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลของตนจากอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงเปิดตัวเว็บบราวเซอร์สำหรับเดสก์ทอป, โทรศัพท์

มือถือ, แท็บเลต ไปจนถึงระบบในรถยนต์ และเมื่อเม.ย.ที่ผ่านมา ทำความร่วมมือกับ

ไพโอเนียร์ อีเล็คทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงเว็บไซต์จากอุปกรณ์ติดตั้งในรถที่ใช้การสั่งการแบบหน้าจอสัมผัส

"คาร์ล แมตต์สัน" รองประธานและ

ผู้จัดการทั่วไป แม็กซ์ทอนกล่าวว่า เป็นที่แน่นอนแล้วว่าโลกของเรากำลังเปลี่ยนเข้าสู่ยุคที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบ นั่นทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย แต่เว็บบราวเซอร์ของเรานำไปใช้งานได้อย่างไม่ติดขัดกับการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้

อุตสาหกรรมเว็บบราวเซอร์อาจดูค่อนข้างนิ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยตลาดส่วนใหญ่ยังอยู่ในความครอบครองจากบริษัทเทคโนโลยีรายยักษ์ไม่กี่ราย ได้แก่ ไมโครซอฟท์, กูเกิล และแอปเปิล ข้อมูลจากบริษัทเน็ต แอพพลิเคชั่นส์ (Net Applications) ระบุว่า เว็บบราวเซอร์ "อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์" ของไมโครซอฟท์ยังเป็นเจ้าตลาดบนแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป ด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 56% จากทั่วโลก ส่วนบราวเซอร์ "ซาฟารี" ของแอปเปิลผู้นำบนแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือและแท็บเลต มีส่วนแบ่งตลาด 59% จากกระแสความนิยมในไอโฟนและไอแพดเป็นหลัก

แต่หลังม่านของตลาดเว็บบราวเซอร์ ผู้เล่นหลายรายต่างพยายามพัฒนาและปรับปรุงภาพลักษณ์ของบราวเซอร์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถ ทำงานรูปแบบต่าง ๆ ผ่านเว็บบราวเซอร์ได้โดยตรงแบบไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานนั้น ๆ ลงบนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งชุดเทคนิคใหม่ ๆ ในการเขียนโปรแกรมให้ผู้ใช้สามารถทำงานบนเว็บบราวเซอร์โดยตรงมักเรียกว่า "เอชทีเอ็มแอล 5"

หลายบริษัทเปิดรับกับโปรแกรมเสริมประเภท "แอด-ออน" และแอปพลิเคชั่น เพื่อทำให้ผู้ใช้งานสามารถเปิดโปรแกรมจำพวกเกมหรือซอฟต์แวร์อื่น ๆ ขึ้นมาใช้งานบนหน้าจอเว็บบราวเซอร์ได้ในทันที โดยเมื่อปี 2555 "กูเกิล" เจ้าของเว็บบราวเซอร์ "โครม (Chrome)" ได้ออกซอฟต์แวร์ที่ทำให้นักพัฒนาสามารถเพิ่มฟังก์ชั่นการสั่งงานด้วยเสียงเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของตนเองได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถท่องเว็บไซต์ได้ผ่านการพูด

นอกจากนี้ "กูเกิล" ยังเปิดตัวแอปพลิเคชั่นสำหรับเว็บบราวเซอร์โครม เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อความและเก็บบันทึกไว้บนหน่วยความจำแบบคลาวด์ชื่อว่า "กูเกิลไดรฟ์" ได้ในทันที

ทางฝั่ง "ไมโครซอฟท์" เองก็ปรับแต่งเว็บบราวเซอร์อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ให้รองรับการสั่งการแบบ "หน้าจอสัมผัส" โดยเน้นให้บราวเซอร์ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วบนอุปกรณ์แท็บเลต เช่น "เซอร์เฟซ (Surface)" เป็นต้น

อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์เวอร์ชั่นล่าสุดยังออกแบบมาให้ทำงานกับบริการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ "Skydrive" ได้ด้วย

ปัจจุบันโปรแกรมแอปพลิเคชั่นขนาดเล็กเข้ามาแย่งบทเด่นไปจากเว็บบราวเซอร์ เนื่องจากผู้บริโภคค้นหาแอป
ได้รวดเร็ว ทั้งใช้งานง่ายกว่าท่องเว็บไซต์

ปัจจัยนี้เองที่กระตุ้นให้บรรดาเว็บบราวเซอร์ออกมาพัฒนาตนเอง "เจย์ ซัลลิแวน" ซีโอโอบริษัทเว็บบราวเซอร์ "โมซิลล่า (Mozilla)" กล่าวว่า การค้นหาเว็บไซต์มีรูปแบบคล้ายกับโซเชียลเน็ตเวิร์กมากขึ้น โดยผู้ใช้แชร์เว็บไซต์ที่ตนเองกำลังค้นหากับเพื่อนได้ ทำให้การท่องเว็บไซต์มีสีสัน รวดเร็ว และสนุกสนานขึ้น ซึ่งเว็บบราวเซอร์ "โมซิลล่า ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox)" เองก็เปิดความสามารถด้านการใช้งานใหม่ เช่น เชื่อมบราวเซอร์เข้ากับโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นข่าวสารและข้อความใหม่ตลอดเวลาจากบราวเซอร์ เป็นต้น

นอกจากรองรับการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กชื่อดังเฟซบุ๊ก บริษัทยังทดลองใช้กับโซเชียลเน็ตเวิร์ก "เวยป๋อ (Weibo)" โซเชียลเน็ตเวิร์กสำหรับชาวจีนด้วยเช่นกัน

"โมซิลล่า" อยู่ระหว่างการใส่ฟังก์ชั่นด้านการสื่อสารอื่น ๆ เข้าไปในเว็บบราวเซอร์ เช่น ผู้ใช้เปิดหน้าต่างสนทนาขึ้นมาในเว็บบราวเซอร์ได้ รวมถึงลากหน้าเว็บไซต์เข้ามาใส่หน้าต่างสนทนาแชร์ให้คนอื่นดูได้ในทันที

โมซิลล่ายังพยายามโน้มน้าวให้เว็บไซต์ต่าง ๆ นำระบบระบุตัวตนผู้ใช้แบบใหม่ที่ชื่อ "เพอร์โซน่า (Persona)" ไปใช้งาน เพื่อทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องใส่รหัสผ่านเข้าเว็บไซต์ เพราะจะจดจำผู้ใช้และดึงข้อมูลชื่อบัญชีและรหัสผ่านที่เคยบันทึกไว้มาใช้ในทันที

ความพยายามในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในเว็บบราวเซอร์ไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกครั้งไป หนึ่งในบริษัทด้านเว็บบราวเซอร์หน้าใหม่ "ร็อกเมลต์ (Rockmelt)" ที่เคยชูความสามารถในการผนวกรวมกับเฟซบุ๊ก ให้ข้อมูลว่า บราวเซอร์สำหรับแพลตฟอร์มเดสก์ทอปของตนมีฐานผู้ใช้ 4.5 ล้านราย และจะปิดการให้บริการในอีกไม่กี่เดือนต่อจากนี้ โดยจะหันไปให้บริการค้นหาเนื้อหาของเว็บไซต์ที่มีความน่าสนใจแทน

"ทิม โฮวส์" ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีของร็อกเมลต์กล่าวว่า เว็บบราวเซอร์ในวันนี้ก็เป็นเหมือนกับหน้าต่างโง่ ๆ ที่ขวางทางผู้บริโภคอยู่เท่านั้น

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1369920435

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.