Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

6 พฤษภาคม 2556 (บทความ) “สมาร์ทการ์ด” เจ้ากรรม สารพันปัญหา บัตรขาดแคลน – เล็งเลิกบัตรเด็ก // ชี้ รัฐขาดการบริหารจัดการที่ดีพอไม่เกี่ยวกับบัตรเด็กแถมยังมีประเภทอยากทำใหม่เพราะถ่ายรูปไม่สวย


ประเด็นหลัก


 “วันนั้นจะไปทำ พอไปถึงพนักงานบอกว่าไม่มีบัตร อาทิตย์นี้ได้บัตรมา 200-300 ใบแค่นั้น แล้วคนก็ไปทำเยอะ ไม่พอ คือบัตรหมดอายุแล้ว รอมาเดือนกว่าแล้ว ทำอะไรก็ไม่ได้”
   
        สำหรับเหตุผลที่ออกมาอ้างไม่ใช่อื่นใด เพราะฟังกันจนแทบจะท่องได้แล้วว่า บริษัทที่จัดจ้างไม่สามารถผลิตและจัดส่งให้ทันตามวันที่กำหนดได้ โดยล็อตที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้มีจำนวน 16 ล้านใบ และต้องจัดส่งตั้งแต่เมื่อเดือนที่แล้ว หลังเทศกาลสงกรานต์ นอกจากจะจัดส่งให้ไม่ทันแล้ว ในระหว่างช่วงการประมูลก็มีปัญหาเรื่องราคาบัตรที่สูงเกินไป รวมทั้งเกิดข้อร้องเรียนเข้ามา จึงทำให้ล่าช้า และถึงแม้ในเวลาขณะนั้นเอง มีการสั่งซื้อบัตรล็อตย่อยเพิ่มจำนวน 1.9 ล้านใบเข้ามา แต่ก็จัดส่งบัตรให้ไม่ทันเช่นเดียวกัน
   
        ข้อมูลที่เคยเปิดเผยเมื่อครั้งบัตรขาดแคลนในช่วงเวลาปลายปีที่แล้วระบุว่า บริษัทคู่สัญญาเอกชนจะส่งให้ 8-9 แสนใบต่อเดือนไม่เพียงพอ โดยบางพื้นที่ใช้บัตรจำนวนมากถึง 1ล้านใบต่อเดือน ทำให้ต้องนำบัตรจากบางสำนักงานเขต ไปเพิ่มในสำนักงานเขตที่ขาดแคลน และครั้งนั้นก็มีการจำกัดจำนวนบัตรของแต่ละเขตจำนวน 15 เขต เขตละ 100 ใบ ซึ่งใครไปไม่ทันก็จะได้ใบแทนบัตรประชาชน หรือใบเหลืองไปก่อน และให้สัญญาว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 เป็นต้นไป บริษัทเอกชนจะสามารถนำบัตรประชาชนมาส่งได้ตามที่กำหนดไว้กว่า 1 ล้านใบ
   
        สำหรับราคาที่ว่าแพงนั้น หากคิดเฉลี่ยออกมา บัตรประชาชนหนึ่งใบรวมต้นทุนค่าบัตร รวมถึงการลงโปรแกรมข้อมูลและเลขหลังบัตร ราคาอยู่ที่ประมาณ 100 บาทต่อใบ ซึ่งถือว่าสูงมาก และจำนวนความต้องการที่มากกว่า 1 ล้านใบต่อเดือน ก็น่าจะทำให้บัตรประชาชนเป็นอีกหนึ่งการจัดซื้อ-จัดจ้าง ที่ควรจับตามองว่ามีการซุกอะไรไว้ใต้พรมหรือเปล่า
   
       โบ้ย บัตรเด็กทำขาดแคลน
   
        หลังข่าวบัตรประชาชนจวนจะหมดเต็มที ก็มีเสียงตอบรับออกมาทันควันว่าจะยกเลิกบัตรประชาชนของเด็ก ด้วยเหตุผลที่ว่า เปลืองงบ!! และคาดว่านี่คือเหตุผลอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้บัตรมีจำนวนไม่เพียงพอ หลังออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ที่กำหนดให้เด็กอายุ 7 ขวบขึ้นไปต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน
   
        วิกฤตบัตรเจ้าปัญหานี้เลยทำป่วนกันไปทั้งประเทศ แม้กระทั่งอธิบดีกรมการปกครอง ชวน ศิรินันท์พร ยังต้องออกปากให้ทบทวนกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อยกเลิกการทำบัตรประชาชนให้เด็กๆ กลุ่มนี้ เพราะต้องยอมรับว่าสิ้นเปลืองงบประมาณพอสมควร และยังทำให้ปริมาณการใช้บัตรฯ เพิ่มสูงขึ้น จนเกิดกรณีไม่เพียงพออย่างที่เห็น ซึ่งก็น่าคิดว่าการทำบัตรประชาชนเด็กนอกจากจะทำให้สิ้นเปลืองแล้ว เด็กๆ มีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องพกบัตรฯ ?? เพราะมีโอกาสน้อยมาก ที่เด็กอายุ 7-14 จะทำธุรกรรมใดๆ โดยที่ไม่มีผู้ปกครอง
   
        เมื่อมองอีกมุมหนึ่งผ่านผู้ใช้นามแฝงว่า Shabu&Sugar&Shadow ในกระทู้ “จากใจ คนที่มีหน้าที่ทำบัตรประจำตัวประชาชน” เว็บพันทิป ก็เคยได้กล่าวอธิบายคำถามที่ว่า บริหารจัดการอย่างไร บัตรประชาชนถึงไม่เพียงพอ ไม่มีการเตรียมการอะไรเลยหรือ ซึ่งผู้ใช้คนนี้ระบุว่า “เจ้าหน้าที่ทุกเขต ทุกอำเภอ มีการเตรียมเบิก โดยใช้สถิติหรือปริมาณในการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนว่าประมาณเท่าไหร่เทียบกับจำนวนราษฎรที่ต้องทำบัตรฯ แล้วจึงจัดส่งโควต้าบัตรประจำตัวประชาชนไปให้ ทั้งนี้ที่ต้องมีการควบคุมก็เนื่องจากว่าหากปล่อยให้มีการเบิกบัตรฯ โดยไม่จำกัดแล้ว บัตรประจำตัวประชาชนก็อาจจะถูกนำไปใช้ในการทุจริต อาทิ เช่น การปลอมแปลง หรือ การแอบนำไปขาย”
   
        อีกเหตุผลหนึ่งเกิดจากความมักง่ายของประชาชนเอง เนื่องจากหากทำบัตรฯ สูญหาย สามารถทำบัตรใหม่ได้โดยเสียค่าธรรมเนียมเพียง 20 บาท และด้วยระยะเวลาในการทำบัตรฯ ตอนนี้ก็เพียงแค่ประมาณ 15 นาที (ในกรณีที่ไม่มีคนรอคิว) ดังนั้น นอกไปจากคนที่ทำบัตรหายแล้วจริงๆ จึงมักมีคนที่อยากทำใหม่ เพราะถ่ายรูปไม่สวย ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องขำแต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงสำหรับใครหลายๆ คน
   
       “สมาร์ทการ์ด” เจ้าปัญหา
   
        อย่างที่กล่าวถึงตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า ต้นทุนในการทำบัตรฯ แบบสมาร์ทการ์ดนั้นสูงถึง 100 บาทต่อใบ เนื่องด้วยบัตรสมาร์ทการ์ดจะมีลักษณะแตกต่างจากบัตรทุกรุ่นที่ผ่านมา คือ ตัวบัตรทำด้วยพลาสติกชนิดพิเศษ มีความแข็งแรงทนทาน รายการในบัตรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษกำกับในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างสากล มีไอซี ชิพ (IC Chip) สำหรับจัดเก็บข้อมูลจากหลายหน่วยงาน พร้อมลายพิมพ์นิ้วมือเจ้าของบัตร เพื่อใช้ในการพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลในการขอรับบริการต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และมีสัญลักษณ์สำหรับตรวจสอบป้องกันการปลอมแปลงบัตรที่มีประสิทธิภาพยากแก่การปลอมแปลง
   
        แน่นอนว่าระบบราชการไทยค่อนข้างไม่โปร่งใสเท่าที่ควร หลายความคิดเห็นจึงคิดไปต่างต่างนานาว่า เหตุการณ์บัตรประชาชนขาดแคลนครั้งนี้อาจเกิดจากการแอบรับผลประโยชน์กันเบื้องหลัง ซึ่งเมื่อทีมงาน ASTV ผู้จัดการ Live ได้สอบถามความคิดเห็นจาก ผศ.ดร.ทวี สุรฤทธิกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็ได้รับคำตอบว่าเรื่องนี้ค่อนข้างพูดยาก เพราะมันไม่ใช่ประเด็นทุจริต ยังไม่ค่อยชัดเจน ยังไม่มีหลักฐาน และเกรงว่าจะเป็นการไปกล่าวหาเอาเอง
   
        “มันก็เป็นเรื่องที่พูดยากนะครับ เราก็คงเคยได้ยินมาเมื่อ2-3 ปีที่แล้ว มันก็เป็นปัญหามาตลอด ประมาณว่าเหมือนการจองกฐิน คือเค้ามีผลประโยชน์ มีการเกี่ยวข้องกับบางบริษัท ไม่ใช่ฮั้วนะครับ อันนั้นมันจะมีหลายๆ กลุ่มมารวมกัน ซึ่งที่มันเกิดปัญหาบัตรฯ ขาดแคลนขึ้นมาอีกก็คงเกิดขึ้นจากประเด็นเดิม คือเรื่องของตัวผู้ผลิต ผู้ขาย ตอนนั้นจำได้ว่ามีปัญหาระหว่างกระทรวงไอซีทีกับกระทรวงมหาดไทยเลยนะครับ ก็จะพบเลยว่าปัญหามันก็ยังเดิมๆ ก็คือพวกใครพวกมัน แล้วก็ไม่แบ่งกัน ก็เลยมีการกั๊ก เห็นเค้าก็บอกว่าอีกไม่กี่วันก็เสร็จ เรียบร้อย เดี๋ยวบัตรจะมาแล้ว นี่คือถ้าเกิดไม่มีคนรู้ ก็มุบมิบกันทำต่อไป ผมก็รู้มาประมาณนี้นะครับ”
   
     








______________________________________






“สมาร์ทการ์ด” เจ้ากรรม สารพันปัญหา บัตรขาดแคลน – เล็งเลิกบัตรเด็ก



ปัญหาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ “สมาร์ทการ์ด” ทำเอาป่วนอีกรอบ หลังเพิ่งขาดแคลนไปเมื่อสิ้นปี แต่ผ่านไปไม่ถึงครึ่งปีก็ดันมีปัญหาอีกคราว เมื่อบริษัทจัดจ้างผลิตไม่ทันส่งอีกครั้ง ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อน ทั้งๆ ที่เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ แต่กลับปล่อยปละหละหลวม จนประชาชนไม่มีใช้ แถมยังพูดแก้ขัด เล็งยกเลิกบัตรเด็ก เพราะสิ้นเปลือง โถ!! แค่เรื่องสำรองบัตรประชาชนให้พอใช้ รัฐบาลยังทำอะไรไม่ได้ ไปไม่เป็น บ่งบอกประสิทธิภาพในการบริหารงานได้เป็นอย่างดีเสียเหลือเกิน
     
       ประชาชนเซ็ง บัตรหมด (อีกแล้ว)
     
        ไม่รู้มีวิธีบริหารจัดการกันอย่างไร บัตรประชาชนถึงไม่เพียงพอมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว เข้าศักราชใหม่ปัญหาก็ยังซ้ำซากอยู่เหมือนเดิม โดยเมื่อวันแรงงานที่ผ่านมา มีการเปิดเผยจากกรมการปกครองว่า ขณะนี้มีประชาชนในหลายจังหวัดเริ่มเดือดร้อนจากปัญหาการทำบัตรประชาชนใหม่ เพราะขณะนี้สำนักบริหารการทะเบียนมีปัญหาบัตรหมด ไม่สามารถจัดส่งบัตรไปให้ในหลายพื้นที่ โดยปัญหาครั้งนี้ค่อนข้างส่งผลกระทบในวงกว้าง เพราะการทำธุรกรรมบางอย่างนั้น ต้องใช้บัตรประชาชนร่วมด้วย ซึ่งบนโลกออนไลน์ต่างวิพากษ์วิจารณ์กันด้วยความไม่พอใจ
     
        “มันเป็นมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ทุกเขตใน กทม. เหมือนกันหมด เราไปมา 5 ครั้ง ถึงจะได้มีบัตรประชาชน มันเสียเวลามาก ไปรอเป็นวัน”
     
        “ขนาดบัตรเหลืองยังไม่มีอ่ะ ต้องใช้ใบรับรองแทน”
     
        “แค่บัตรประชาชนยังไม่มีปัญญาทําให้พอ ชาวบ้านเดือดร้อนอีกตามเคย นี่แหละประจาน รมต.มหาดไทย ยิ่งกว่าผู้ช่วย 30 ก.พ. ออกมาโวยเสียอีก”
     
        “ผมว่า ใช้บัตรธรรมดาดีกว่า ใช้สมาร์ทการ์ด ก็ไม่เห็นได้ใช้ประโยชน์อะไรเลย แถมรูปก็ลอกเร็วจนดูไม่ออกเป็นหน้าตัวเอง เปลืองงบเปล่าๆ”
     
        “วันนั้นจะไปทำ พอไปถึงพนักงานบอกว่าไม่มีบัตร อาทิตย์นี้ได้บัตรมา 200-300 ใบแค่นั้น แล้วคนก็ไปทำเยอะ ไม่พอ คือบัตรหมดอายุแล้ว รอมาเดือนกว่าแล้ว ทำอะไรก็ไม่ได้”
     
        สำหรับเหตุผลที่ออกมาอ้างไม่ใช่อื่นใด เพราะฟังกันจนแทบจะท่องได้แล้วว่า บริษัทที่จัดจ้างไม่สามารถผลิตและจัดส่งให้ทันตามวันที่กำหนดได้ โดยล็อตที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้มีจำนวน 16 ล้านใบ และต้องจัดส่งตั้งแต่เมื่อเดือนที่แล้ว หลังเทศกาลสงกรานต์ นอกจากจะจัดส่งให้ไม่ทันแล้ว ในระหว่างช่วงการประมูลก็มีปัญหาเรื่องราคาบัตรที่สูงเกินไป รวมทั้งเกิดข้อร้องเรียนเข้ามา จึงทำให้ล่าช้า และถึงแม้ในเวลาขณะนั้นเอง มีการสั่งซื้อบัตรล็อตย่อยเพิ่มจำนวน 1.9 ล้านใบเข้ามา แต่ก็จัดส่งบัตรให้ไม่ทันเช่นเดียวกัน
     
        ข้อมูลที่เคยเปิดเผยเมื่อครั้งบัตรขาดแคลนในช่วงเวลาปลายปีที่แล้วระบุว่า บริษัทคู่สัญญาเอกชนจะส่งให้ 8-9 แสนใบต่อเดือนไม่เพียงพอ โดยบางพื้นที่ใช้บัตรจำนวนมากถึง 1ล้านใบต่อเดือน ทำให้ต้องนำบัตรจากบางสำนักงานเขต ไปเพิ่มในสำนักงานเขตที่ขาดแคลน และครั้งนั้นก็มีการจำกัดจำนวนบัตรของแต่ละเขตจำนวน 15 เขต เขตละ 100 ใบ ซึ่งใครไปไม่ทันก็จะได้ใบแทนบัตรประชาชน หรือใบเหลืองไปก่อน และให้สัญญาว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 เป็นต้นไป บริษัทเอกชนจะสามารถนำบัตรประชาชนมาส่งได้ตามที่กำหนดไว้กว่า 1 ล้านใบ
     
        สำหรับราคาที่ว่าแพงนั้น หากคิดเฉลี่ยออกมา บัตรประชาชนหนึ่งใบรวมต้นทุนค่าบัตร รวมถึงการลงโปรแกรมข้อมูลและเลขหลังบัตร ราคาอยู่ที่ประมาณ 100 บาทต่อใบ ซึ่งถือว่าสูงมาก และจำนวนความต้องการที่มากกว่า 1 ล้านใบต่อเดือน ก็น่าจะทำให้บัตรประชาชนเป็นอีกหนึ่งการจัดซื้อ-จัดจ้าง ที่ควรจับตามองว่ามีการซุกอะไรไว้ใต้พรมหรือเปล่า
     
       โบ้ย บัตรเด็กทำขาดแคลน
     
        หลังข่าวบัตรประชาชนจวนจะหมดเต็มที ก็มีเสียงตอบรับออกมาทันควันว่าจะยกเลิกบัตรประชาชนของเด็ก ด้วยเหตุผลที่ว่า เปลืองงบ!! และคาดว่านี่คือเหตุผลอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้บัตรมีจำนวนไม่เพียงพอ หลังออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ที่กำหนดให้เด็กอายุ 7 ขวบขึ้นไปต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน
     
        วิกฤตบัตรเจ้าปัญหานี้เลยทำป่วนกันไปทั้งประเทศ แม้กระทั่งอธิบดีกรมการปกครอง ชวน ศิรินันท์พร ยังต้องออกปากให้ทบทวนกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อยกเลิกการทำบัตรประชาชนให้เด็กๆ กลุ่มนี้ เพราะต้องยอมรับว่าสิ้นเปลืองงบประมาณพอสมควร และยังทำให้ปริมาณการใช้บัตรฯ เพิ่มสูงขึ้น จนเกิดกรณีไม่เพียงพออย่างที่เห็น ซึ่งก็น่าคิดว่าการทำบัตรประชาชนเด็กนอกจากจะทำให้สิ้นเปลืองแล้ว เด็กๆ มีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องพกบัตรฯ ?? เพราะมีโอกาสน้อยมาก ที่เด็กอายุ 7-14 จะทำธุรกรรมใดๆ โดยที่ไม่มีผู้ปกครอง
     
        เมื่อมองอีกมุมหนึ่งผ่านผู้ใช้นามแฝงว่า Shabu&Sugar&Shadow ในกระทู้ “จากใจ คนที่มีหน้าที่ทำบัตรประจำตัวประชาชน” เว็บพันทิป ก็เคยได้กล่าวอธิบายคำถามที่ว่า บริหารจัดการอย่างไร บัตรประชาชนถึงไม่เพียงพอ ไม่มีการเตรียมการอะไรเลยหรือ ซึ่งผู้ใช้คนนี้ระบุว่า “เจ้าหน้าที่ทุกเขต ทุกอำเภอ มีการเตรียมเบิก โดยใช้สถิติหรือปริมาณในการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนว่าประมาณเท่าไหร่เทียบกับจำนวนราษฎรที่ต้องทำบัตรฯ แล้วจึงจัดส่งโควต้าบัตรประจำตัวประชาชนไปให้ ทั้งนี้ที่ต้องมีการควบคุมก็เนื่องจากว่าหากปล่อยให้มีการเบิกบัตรฯ โดยไม่จำกัดแล้ว บัตรประจำตัวประชาชนก็อาจจะถูกนำไปใช้ในการทุจริต อาทิ เช่น การปลอมแปลง หรือ การแอบนำไปขาย”
     
        อีกเหตุผลหนึ่งเกิดจากความมักง่ายของประชาชนเอง เนื่องจากหากทำบัตรฯ สูญหาย สามารถทำบัตรใหม่ได้โดยเสียค่าธรรมเนียมเพียง 20 บาท และด้วยระยะเวลาในการทำบัตรฯ ตอนนี้ก็เพียงแค่ประมาณ 15 นาที (ในกรณีที่ไม่มีคนรอคิว) ดังนั้น นอกไปจากคนที่ทำบัตรหายแล้วจริงๆ จึงมักมีคนที่อยากทำใหม่ เพราะถ่ายรูปไม่สวย ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องขำแต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงสำหรับใครหลายๆ คน
     
       “สมาร์ทการ์ด” เจ้าปัญหา
     
        อย่างที่กล่าวถึงตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่า ต้นทุนในการทำบัตรฯ แบบสมาร์ทการ์ดนั้นสูงถึง 100 บาทต่อใบ เนื่องด้วยบัตรสมาร์ทการ์ดจะมีลักษณะแตกต่างจากบัตรทุกรุ่นที่ผ่านมา คือ ตัวบัตรทำด้วยพลาสติกชนิดพิเศษ มีความแข็งแรงทนทาน รายการในบัตรมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษกำกับในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อให้ใช้งานได้อย่างสากล มีไอซี ชิพ (IC Chip) สำหรับจัดเก็บข้อมูลจากหลายหน่วยงาน พร้อมลายพิมพ์นิ้วมือเจ้าของบัตร เพื่อใช้ในการพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลในการขอรับบริการต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และมีสัญลักษณ์สำหรับตรวจสอบป้องกันการปลอมแปลงบัตรที่มีประสิทธิภาพยากแก่การปลอมแปลง
     
        แน่นอนว่าระบบราชการไทยค่อนข้างไม่โปร่งใสเท่าที่ควร หลายความคิดเห็นจึงคิดไปต่างต่างนานาว่า เหตุการณ์บัตรประชาชนขาดแคลนครั้งนี้อาจเกิดจากการแอบรับผลประโยชน์กันเบื้องหลัง ซึ่งเมื่อทีมงาน ASTV ผู้จัดการ Live ได้สอบถามความคิดเห็นจาก ผศ.ดร.ทวี สุรฤทธิกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็ได้รับคำตอบว่าเรื่องนี้ค่อนข้างพูดยาก เพราะมันไม่ใช่ประเด็นทุจริต ยังไม่ค่อยชัดเจน ยังไม่มีหลักฐาน และเกรงว่าจะเป็นการไปกล่าวหาเอาเอง
     
        “มันก็เป็นเรื่องที่พูดยากนะครับ เราก็คงเคยได้ยินมาเมื่อ2-3 ปีที่แล้ว มันก็เป็นปัญหามาตลอด ประมาณว่าเหมือนการจองกฐิน คือเค้ามีผลประโยชน์ มีการเกี่ยวข้องกับบางบริษัท ไม่ใช่ฮั้วนะครับ อันนั้นมันจะมีหลายๆ กลุ่มมารวมกัน ซึ่งที่มันเกิดปัญหาบัตรฯ ขาดแคลนขึ้นมาอีกก็คงเกิดขึ้นจากประเด็นเดิม คือเรื่องของตัวผู้ผลิต ผู้ขาย ตอนนั้นจำได้ว่ามีปัญหาระหว่างกระทรวงไอซีทีกับกระทรวงมหาดไทยเลยนะครับ ก็จะพบเลยว่าปัญหามันก็ยังเดิมๆ ก็คือพวกใครพวกมัน แล้วก็ไม่แบ่งกัน ก็เลยมีการกั๊ก เห็นเค้าก็บอกว่าอีกไม่กี่วันก็เสร็จ เรียบร้อย เดี๋ยวบัตรจะมาแล้ว นี่คือถ้าเกิดไม่มีคนรู้ ก็มุบมิบกันทำต่อไป ผมก็รู้มาประมาณนี้นะครับ”
     
        ถึงเป็นปัญหาที่เอาโทษ ลงความผิดใครไม่ได้ แต่ปัญหานี้ก็สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนอยู่ไม่น้อย ส่วนวิธีทางแก้นั้นก็ได้แค่เพียงให้ประชาชนนั่งรอแล้ว รออีก เอาใบเหลืองมาพับใส่กระเป๋า ว่างๆ ก็กางดูต่างหน้าไปก่อน บริษัทคู่สัญญาจัดส่งให้เมื่อไหร่ ก็ไปเปลี่ยนบัตรเมื่อนั้น...
     

     
       นับตั้งแต่เริ่มมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนมาจนถึงฉบับปัจจุบัน คนไทยมีบัตรประจำตัวประชาชนใช้กันมาแล้ว 5 รุ่น ด้วยกัน ได้แก่
     
       บัตรรุ่นที่ 1 ทำด้วยกระดาษ มีลักษณะคล้ายบัตรยืมหนังสือของห้องสมุด พับเป็น 4 ตอน มี 8 หน้า
     
       บัตรรุ่นที่ 2 ทำด้วยกระดาษทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดพกพา มีรูปถ่ายขาว-ดำของผู้ถือบัตร รายการผู้ถือบัตรพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด เคลือบด้วยพลาสติกใส
     
       บัตรรุ่นที่ 3 ทำด้วยกระดาษ คล้ายบัตรรุ่นที่ 2 ต่างกันคือรูปถ่ายผู้ถือบัตรเป็นรูปสี รายการผู้ถือบัตรพิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และเคลือบด้วยวัสดุป้องกันการปลอมแปลงชนิดพิเศษ
     
       บัตรรุ่นที่ 4 ทำด้วยพลาสติก มีลักษณะคล้ายบัตรเครดิต มีแถบแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูล รายการเพิ่มเติมในบัตรรุ่นนี้ คือ การลงหมู่โลหิตและศาสนาลงในบัตร
     
       บัตรรุ่นที่ 5 บัตรประจำตัวประชาชนแบบ อเนกประสงค์ (Smart Card) เกิดขึ้นจากแนวคิดที่จะให้ประชาชนมีบัตรเพียงใบเดียวใช้แทนบัตรทุกประเภทที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000053843

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.