Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มิถุนายน 2556 ICT ไทย (ประกาศปรับปรุงอินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 30 ปี) เร่งแผนปฏิบัติการระยะสั้น!! ดูแลเปิดให้บริการเชื่อมต่อและใช้งานที่รองรับ IPv6 ภายในเดือนธันวาคม 2558 ให้หน่วยงานรัฐและผู้ให้บริการต้องเชื่อมต่อกันได้



ประเด็นหลัก


2. การเปลี่ยนถ่ายอินเทอร์เน็ตสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 (IPv6) จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนหมายเลข IP ได้ เนื่องจาก IPv6 มีจำนวนหมายเลข IP มากมายมหาศาล IPv6 คือชุดตัวเลขสัญลักษณ์ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตทั่วโลกรุ่นใหม่ โดย IPv4 มีจำนวนหมายเลขประมาณ 4 พันล้าน ขณะที่ IPv6 มีจำนวนหมายเลขจำนวน 340 ล้านล้านล้านล้านเลขหมาย นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ประสิทธิภาพและความปลอดภัย เพื่อรองรับระบบแอพพลิเคชั่นใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การเข้าสู่ IPv6 จึงนับว่าเป็นการปรับปรุงอินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 30 ปี ตั้งแต่เริ่มมีอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ การวางแผนเพื่อการปรับเปลี่ยนการใช้งาน IPv6 เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่อการขยายตัวอย่างมั่นคงของอินเทอร์เน็ตต่อวงการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก

3. ทก. เห็นว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว และจำนวนหมายเลขไอพีของ IPv4 ในโลกกำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าผู้ใช้ในประเทศต่างๆ จะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้นได้อีก ขณะที่หมายเลข IPv4 ในภูมิภาคเอเชียได้หมดลงในเดือนเมษายน 2554 ทำให้ไม่มีหมายเลข IPv4 ใหม่ที่จะใช้งานในเครือข่าย และที่สำคัญประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียจะไม่มีหมายเลขไอพีใหม่ใช้งานนอกเสียจากการนำ IPv6 มาใช้งาน อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้เข้าสู่ IPv6 นั้นต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงการวางแผนนโยบายและทรัพยากรในการดำเนินการ ดังนั้น การผลักดันให้มีการใช้งาน IPv6 ในประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทก. จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวขึ้น โดยมีเป้าหมายและแผนงาน/กิจกรรมที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน สรุปได้ดังนี้

3.1 เป้าหมายของการดำเนินการคือเป็นแผนปฏิบัติการระยะสั้น โดยดำเนินการในระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2556 - 2558) ดังนี้ 3.1.1 หน่วยงานภาครัฐระดับกรมขึ้นไปทุกหน่วยงาน มีการเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ตที่รองรับ IPv6 ภายในเดือนธันวาคม 2558 3.1.2 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกราย ซึ่งครอบคลุมผู้ให้บริการในระบบใช้สาย และไร้สาย เปิดให้บริการเชื่อมต่อและใช้งานที่รองรับ IPv6 ภายในเดือนธันวาคม 2557 3.1.3 โครงข่ายของสถาบันการศึกษาของรัฐทุกระดับ (NEdNet และ UniNet) ให้สามารถใช้งาน IPv6 ได้อย่างน้อย 10,000 สถาบัน ภายในเดือนธันวาคม 2558 3.1.4 จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการ IPv6 เพื่อให้คำปรึกษา อบรม ทดสอบ ตรวจประเมินด้าน  IPv6 ของประเทศไทย ภายในเดือนธันวาคม 2556 3.1.5 แผนงาน/กิจกรรมและตัวชี้วัด 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการส่งเสริมการใช้งาน IPv6 แบ่งแผนงานกิจกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือ แผนงานกิจกรรมด้านการเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานในหน่วยงานภาครัฐ และแผนงานกิจกรรมด้านการพัฒนาโครงข่ายการให้บริการอินเทอร์เน็ต (2) การพัฒนาบุคลากร มีกิจกรรมที่จะช่วยในการสนับสนุนและส่งเสริมทั้งด้านความเข้าใจ ความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในด้าน IPv6 โดยได้แบ่งแผนงานกิจกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แผนงานกิจกรรมในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของบุคลากรภาครัฐ และแผนงานกิจกรรมในการเตรียมความพร้อมของบุคลากรด้าน ICT ของประเทศไทยโดยรวม (3) การส่งเสริมการใช้งาน IPv6 นอกจากการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านบุคลากรแล้ว การส่งเสริมการให้บริการ (e-service) โดยเฉพาะบริการสาธารณะของหน่วยงานให้สามารถรองรับการใช้งาน IPv6 ได้นั้น จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การใช้งาน IPv6 มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น (4) การสร้างความตระหนักและส่งเสริมการใช้งาน IPv6 เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการที่จะช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานตามร่างแผนปฏิบัติการฯ บรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้





______________________________________





ไอซีที'ชงครม.ยกเครื่องเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ สู่ยุค IPv6


ไอซีที ชง ครม.ยกเครื่องเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่สู่ยุค IPv6

วันที่ 2 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม ครม.วันที่ 4 มิ.ย. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) ขอความเห็นชอบ ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด และติดตามผลการดำเนินงาน IPv6 ในประเทศไทย ดังนี้  1. ขอความเห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด และติดตามผลการดำเนินงานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 (Internet Protocol version 6: IPv6) ในประเทศไทย 2. ขอให้มอบหมายให้ ทก. เป็นหน่วยงานหลักทำหน้าที่ในการกำกับดูแล บริหารจัดการตามแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด และติดตามผลการดำเนินงาน IPv6 ในประเทศไทย ให้เป็นวาระแห่งชาติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ 3. ขอให้มอบหมายให้กระทรวง ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจทุกหน่วยงาน พิจารณาดำเนินการตามกิจกรรม และความรับผิดชอบของหน่วยงาน ตามที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด และติดตามผลการดำเนินงาน IPv6 ในประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาระสำคัญของเรื่อง ทาง ทก. รายงานว่า 1. ปัจจุบันเครือข่ายอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ยังคงทำงานอยู่บนหมายเลขอินเทอร์เน็ตรุ่นเดิม หรือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งกำลังประสบปัญหาที่สำคัญคือ หมายเลขอินเทอร์เน็ต หรือหมายเลข IPv4 (IPv4 Address) กำลังจะหมดลงในเวลาอันใกล้นี้ การหมดลงของหมายเลข IPv4 ทำให้การขยายตัวและการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีปัญหาอย่างมากในอนาคตอันใกล้ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการใช้งานโทรศัพท์ 3G โดยเฉพาะ LTE (Long Term Evolution) และ 4G จะมีปัญหาด้วย

2. การเปลี่ยนถ่ายอินเทอร์เน็ตสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 (IPv6) จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนหมายเลข IP ได้ เนื่องจาก IPv6 มีจำนวนหมายเลข IP มากมายมหาศาล IPv6 คือชุดตัวเลขสัญลักษณ์ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตทั่วโลกรุ่นใหม่ โดย IPv4 มีจำนวนหมายเลขประมาณ 4 พันล้าน ขณะที่ IPv6 มีจำนวนหมายเลขจำนวน 340 ล้านล้านล้านล้านเลขหมาย นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ประสิทธิภาพและความปลอดภัย เพื่อรองรับระบบแอพพลิเคชั่นใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การเข้าสู่ IPv6 จึงนับว่าเป็นการปรับปรุงอินเทอร์เน็ตครั้งใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 30 ปี ตั้งแต่เริ่มมีอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ การวางแผนเพื่อการปรับเปลี่ยนการใช้งาน IPv6 เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญต่อการขยายตัวอย่างมั่นคงของอินเทอร์เน็ตต่อวงการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโลก

3. ทก. เห็นว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว และจำนวนหมายเลขไอพีของ IPv4 ในโลกกำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าผู้ใช้ในประเทศต่างๆ จะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้นได้อีก ขณะที่หมายเลข IPv4 ในภูมิภาคเอเชียได้หมดลงในเดือนเมษายน 2554 ทำให้ไม่มีหมายเลข IPv4 ใหม่ที่จะใช้งานในเครือข่าย และที่สำคัญประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียจะไม่มีหมายเลขไอพีใหม่ใช้งานนอกเสียจากการนำ IPv6 มาใช้งาน อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้เข้าสู่ IPv6 นั้นต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญ รวมถึงการวางแผนนโยบายและทรัพยากรในการดำเนินการ ดังนั้น การผลักดันให้มีการใช้งาน IPv6 ในประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทก. จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าวขึ้น โดยมีเป้าหมายและแผนงาน/กิจกรรมที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน สรุปได้ดังนี้

3.1 เป้าหมายของการดำเนินการคือเป็นแผนปฏิบัติการระยะสั้น โดยดำเนินการในระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2556 - 2558) ดังนี้ 3.1.1 หน่วยงานภาครัฐระดับกรมขึ้นไปทุกหน่วยงาน มีการเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ตที่รองรับ IPv6 ภายในเดือนธันวาคม 2558 3.1.2 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกราย ซึ่งครอบคลุมผู้ให้บริการในระบบใช้สาย และไร้สาย เปิดให้บริการเชื่อมต่อและใช้งานที่รองรับ IPv6 ภายในเดือนธันวาคม 2557 3.1.3 โครงข่ายของสถาบันการศึกษาของรัฐทุกระดับ (NEdNet และ UniNet) ให้สามารถใช้งาน IPv6 ได้อย่างน้อย 10,000 สถาบัน ภายในเดือนธันวาคม 2558 3.1.4 จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการ IPv6 เพื่อให้คำปรึกษา อบรม ทดสอบ ตรวจประเมินด้าน  IPv6 ของประเทศไทย ภายในเดือนธันวาคม 2556 3.1.5 แผนงาน/กิจกรรมและตัวชี้วัด 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการส่งเสริมการใช้งาน IPv6 แบ่งแผนงานกิจกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือ แผนงานกิจกรรมด้านการเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานในหน่วยงานภาครัฐ และแผนงานกิจกรรมด้านการพัฒนาโครงข่ายการให้บริการอินเทอร์เน็ต (2) การพัฒนาบุคลากร มีกิจกรรมที่จะช่วยในการสนับสนุนและส่งเสริมทั้งด้านความเข้าใจ ความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในด้าน IPv6 โดยได้แบ่งแผนงานกิจกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แผนงานกิจกรรมในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของบุคลากรภาครัฐ และแผนงานกิจกรรมในการเตรียมความพร้อมของบุคลากรด้าน ICT ของประเทศไทยโดยรวม (3) การส่งเสริมการใช้งาน IPv6 นอกจากการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านบุคลากรแล้ว การส่งเสริมการให้บริการ (e-service) โดยเฉพาะบริการสาธารณะของหน่วยงานให้สามารถรองรับการใช้งาน IPv6 ได้นั้น จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การใช้งาน IPv6 มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น (4) การสร้างความตระหนักและส่งเสริมการใช้งาน IPv6 เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการที่จะช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานตามร่างแผนปฏิบัติการฯ บรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้

ทั้งนี้ กิจกรรมต่างๆ มีเป้าประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ ได้เห็นถึงความสำคัญและเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนไปสู่ IPv6 นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้งานและการใช้ประโยชน์จาก IPv6 อย่างยั่งยืนต่อไป 4. กิจกรรมสำคัญเร่งด่วน (Flagship Project) ที่จะต้องดำเนินการ คือ “การจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการ IPv6” เพื่อใช้เป็นศูนย์อบรม ให้คำปรึกษา ทดสอบตรวจประเมินด้าน IPv6 ของประเทศไทย โดยมีภาระหน้าที่หลัก ดังนี้ (1) จัดทำข้อกำหนดคุณลักษณะพื้นฐานและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้าน IPv6 ของอุปกรณ์เครือข่าย (2) จัดตั้งหน่วยทดสอบอุปกรณ์และทดสอบความพร้อมของเครือข่าย (Testbed) เพื่อทดสอบอุปกรณ์ว่าสามารถรองรับและเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน IPv6 หรือไม่ (3) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (4) จัดอบรมทั้งแก่หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่สนใจ (5) จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆ ด้าน IPv6 (6) ตรวจประเมินตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่ระบุในร่างแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด และติดตามผลการดำเนินงาน IPv6 ประเทศไทย

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/348607

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.