Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 มิถุนายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) มหาวิทยาลัยรัฐ 27 แห่ง ผนึก ม.เอกชน 6 แห่ง ลงขันประมูล TV สาธารณะทันที+!! กำหนดใช้สถานที่ตั้งของจุฬาฯ บนพื้นที่เดียวกับสถานีวิทยุจุฬาฯ ฝช้งบจุฬาเยอะสุด



ประเด็นหลัก


เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ร่วมกับ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมผู้แทนมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนรวม 33 แห่ง ร่วมกันแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือ "เครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อบริการสาธารณะ" เพื่อร่วมกันยื่นขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง ต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

นายสมคิด กล่าวว่า ทปอ.มีมติร่วมกันที่จะดำเนินการขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลช่องบริการสาธารณะ จาก กสทช. ทันทีที่มีการประกาศเชิญชวน โดยมหาวิทยาลัยต่างๆ ค่อนข้างมีความพร้อม เนื่องจากมีคณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และคณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งมีสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ และดำเนินรายงานต่างๆ ของตนเอง จึงมีความพร้อมทั้งสถานที่ อุปกรณ์ บุคลากร ที่จะผลิตรายการที่มีคุณภาพ ไม่แพ้ทีวีทุกช่องที่มีอยู่ และคาดว่าจะได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.แน่นอน โดย ทปอ.มอบหมายจุฬาฯ เป็นเสนอแผนงานต่อ กสทช.

นพ.ภิรมย์ กล่าวว่า ทีวีดิจิตอลของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อบริการสาธารณะ จะบริหารสถานีในรูปแบบคณะกรรมการบริหาร ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทน 3 ฝ่าย ได้แก่ ผู้แทนมหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และตัวแทนภาคประชาชน บริหารงานอย่างมีอิสระปราศจากการครอบงำ เป็นต้นแบบการปฏิรูปสื่อที่เป็นรูปธรรม เนื้อหาแบ่งเป็นข่าวสารสาระความรู้ 75% และสาระบันเทิง 25% ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง งบประมาณดำเนินการปีละ 200 ล้านบาท



นพ.ดร.สิทธิชัย กล่าวว่า ขณะนี้จุฬาฯ มีความพร้อมในการยื่นขอใบอนุญาตจาก กสทช.ทันทีที่มีประกาศเชิญชวน โดยรายละเอียดการดำเนินงานได้กำหนดใช้สถานที่ตั้งของจุฬาฯ บนพื้นที่เดียวกับสถานีวิทยุจุฬาฯ และมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับดำเนินการออกอากาศทันทีที่ได้รับอนุญาต โดยกำหนดผลิตรายการใหม่ในสัดส่วนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะเป็นการนำเอาศาสตร์ของทุกมหาวิทยาลัยมาเผยแพร่ให้ความรู้สู่ประชาชนอย่างแท้จริง สำหรับงบประมาณจะใช้งบจากจุฬาฯ และรวบรวมงบฯ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เป็นเครือข่ายร่วมกัน

นายทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะผู้แทน ม.เอกชนทั้ง 6 แห่ง กล่าวว่า อธิการบดี ม.เอกชนทั้ง 6 แห่ง มีความกังวลอยู่แล้วว่า มีความกังวลในการประมูลช่องทีวีดิจิตอลทั้ง 12 ช่อง ต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่อยากให้ตกไปอยู่ในการการครอบครองของภาครัฐที่ไม่มีความเหมาะสม ซึ่งทำให้เสียงบประมาณผลิตรายการไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย แต่ใน ความพร้อมของ ทปอ.และม.เอกชน แล้ว เชื่อว่ามีศักยภาพเกินมาตรฐานสำหรับการยื่นขอใบอนุญญาต ทั้งนี้ยืนยันว่าการดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยจะต้องคำนึงถึงการเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ไม่ใช่คำนึงถึงเฉพาะกลุ่มคนส่วนใหญ่ และด้วยความพร้อมของมหาวิทยาลัยเอกชนต่างๆ เมื่อรวมกับการริเริ่มโดย ทปอ.ทำให้ตนมั่นใจว่าประชาชนส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์และคิดว่าจะเป็นแบบอย่างในการจัดทำรายการให้แก่โทรทัศน์ทุกช่อง



______________________________________





ทปอ.ยื่นขอไลเซ่นส์ทีวีดิจิตอลบริการสาธารณะประเภท 1

มหาวิทยาลัยรัฐ 27 แห่ง ผนึก ม.เอกชน 6 แห่ง สร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อบริการสาธารณะ ยื่นขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง ต่อ กทสช. มอบจุฬาฯ เสนอแผนงาน ลั่นมีความพร้อมทุกด้าน...

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ร่วมกับ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมผู้แทนมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนรวม 33 แห่ง ร่วมกันแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือ "เครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อบริการสาธารณะ" เพื่อร่วมกันยื่นขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง ต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

นายสมคิด กล่าวว่า ทปอ.มีมติร่วมกันที่จะดำเนินการขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลช่องบริการสาธารณะ จาก กสทช. ทันทีที่มีการประกาศเชิญชวน โดยมหาวิทยาลัยต่างๆ ค่อนข้างมีความพร้อม เนื่องจากมีคณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และคณะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งมีสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ และดำเนินรายงานต่างๆ ของตนเอง จึงมีความพร้อมทั้งสถานที่ อุปกรณ์ บุคลากร ที่จะผลิตรายการที่มีคุณภาพ ไม่แพ้ทีวีทุกช่องที่มีอยู่ และคาดว่าจะได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.แน่นอน โดย ทปอ.มอบหมายจุฬาฯ เป็นเสนอแผนงานต่อ กสทช.

นพ.ภิรมย์ กล่าวว่า ทีวีดิจิตอลของเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อบริการสาธารณะ จะบริหารสถานีในรูปแบบคณะกรรมการบริหาร ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทน 3 ฝ่าย ได้แก่ ผู้แทนมหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และตัวแทนภาคประชาชน บริหารงานอย่างมีอิสระปราศจากการครอบงำ เป็นต้นแบบการปฏิรูปสื่อที่เป็นรูปธรรม เนื้อหาแบ่งเป็นข่าวสารสาระความรู้ 75% และสาระบันเทิง 25% ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง งบประมาณดำเนินการปีละ 200 ล้านบาท

นายทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้แทนมหาวิทยาลัยเอกชน กล่าวว่า ม.เอกชน ที่ร่วมเป็นเครือข่าย ประกอบด้วย ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ม.กรุงเทพ ม.หอการค้าไทย ม.เนชั่น ม.ศรีปทุม ม.รังสิต พร้อมร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยรัฐ เนื่องจากเป็นห่วงว่า ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการจัดสรรทีวีดิจิตอลสาธารณะ มีแนวโน้มที่เอื้อต่อการกลับสู่การครอบงำของภาครัฐ จะทำให้เราเสียงบประมาณจำนวนมากโดยใช่เหตุ และผลิตรายการที่ไม่เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ในส่วนทีวีของมหาวิทยาลัยน่าจะผลิตรายการที่เข้าถึงประชาชนได้ทุกกลุ่ม ไม่ใช่ภาพลวงตาที่ใช้งบฯ โดยไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง.





โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/349101

__________________________________________


33มหาวิทยาลัย ลงขัน200ล้านชิงฟรีทีวี

มหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน 33 แห่ง ผนึกกำลังชิงฟรีทีวี-ลงขัน 200 ล้านบาท

นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธาน ทปอ. พร้อมตัวแทนมหาวิทยาลัยรัฐที่เป็นสมาชิก ทปอ. 27 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชน 6 แห่ง ได้แก่ ม.กรุงเทพ ม.ศรีปทุม ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ม.รังสิต ม.หอการค้าไทย และม.เนชั่น รวมทั้งหมด 33 มหาวิทยาลัย ลงนามในความร่วมมือ "เครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อบริการสาธารณะ" เพื่อแสดงความพร้อมในการยื่นขอใบอนุญาทีวีดิจิตอลช่องบริการสาธารณะประเภทที่ 1

นายสมคิด กล่าวว่า พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดให้สถาบันการศึกษามีสิทธิขอรับใบอนุญาตช่องกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์โดยใช้คลื่นความถี่ประเภทสาธารณะ(Free TV ) เพราะฉะนั้น ในการประชุม ทปอ.เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 56 จึงมีมติให้ยื่นขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่งจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยื่น โดยมอบให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้แทน ทปอ.ในการยื่นขอใบอนุญาต ซึ่งทางจุฬาฯทำหนังสือแจ้งมายัง ทปอ.เมื่อวันที่ 23 พ.ค. ที่ผ่านมา ว่า ได้จัดทำแผนยื่นขอใบอนุญาต เรียบร้อยแล้ว

"สาระสำคัญในแผนดังกล่าวนั้น กำหนดหลักการให้มหาวิทยาลัยรัฐ 27 แห่ง และม.เอกชน 6 แห่ง ร่วมมือกันในชื่อ เครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อบริการสาธารณะ เพื่อยื่นขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลช่องบริการสาธารณะประเภทที่ 1 เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่น ๆ สุขภาพอนามัย กีฬาและการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นการให้บริการสาธารณะเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้คนไทย ซึ่งตามบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยยาลัยทุกแห่งนั้น นอกจากจะต้องให้ความรู้แก่นักศึกษาแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดจากมหาวิทยาลัยไปสู่สังคมด้วย"นายสมคิด กล่าว

นายสมคิด กล่าวต่อว่า เพราะฉะนั้น มหาวิทยาลัยทั้ง 33 แห่ง จึงจัดพิธีลงนามความร่วมมือในวันนี้ เพื่อแสดงความพร้อมในการยื่นขอรับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลสาธารณะ เพื่อผลิตรายการที่มีสาระและคุณภาพนำเสนอต่อประชาชน ทั้งนี้ที่ผ่านมาแต่ละมหาวิทยาลัยมีการดำเนินการรายการทีวีอยู่แล้ว แต่ขาดช่องทางสาธารณะ ดังนั้นตนมั่นใจว่ามหาวิทยาลัยจะได้รับโอกาสจาก กสทช. และยืนยันว่าการผลิตรายการต่างๆ จะมีมาตรฐานที่สูงเท่ากันกับสถานนีโทรทัศน์ทุกช่องในประเทศไทย และจะเพิ่มมาตรฐานให้สูงขึ้นไปสู่ระดับนานาชาติต่อไป

"เรื่องการจัดผังรายการในขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการหารือรายละเอียด โดยพิจารณาควบคู่ไปกับการดำเนินการเพื่อขอรับใบอนุญาต ซึ่งตามเป้าหมายแล้วรายการที่จะนำมาออกอากาศ มั่นใจ 100 % ว่าจะได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ผมหวังว่า กสทช.จะพิจารณาเราพอสมควร เพราะสามารถมองเห็นประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับจากกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เป็นเครือข่ายบริการสาธารณะนี้ และยืนยันว่า จะเป็นโทรทัศน์ที่เป็นมืออาชีพ ไม่ใช่ใครอยากทำก็ทำ หรือไม่ใช่มาแบ่งเวลากันแล้วใครอยากทำอะไรก็ทำ หรือเอานักศึกษาฝึกงาน หรือใครๆ มาทำก็ได้ แต่จะหามืออาชีพมาช่วยบริหารจัดการผังรายการ เลือกผลิตรายการที่ตอบสนองความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อของประชาชน ไม่ใช่อยากจะใส่อะไรลงไปก็ใส่ เราอยากเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการสถานีที่มีรายการทีดีและมีสาระเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง"นายสมคิด กล่าว

ด้านนพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิกีบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า ทปอ.ได้มอบหมายให้จุฬาฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อเสนอแผนงานเพื่อเตรียมเสนอต่อ กสทช. ตนจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขึ้น โดยมอบหมาย รศ.ทพ.นพ.ดร.สิทธิชัย ทัคศรี รองอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธาน โดยในการแผนยื่นขอใบอนุญาตนั้น จะให้รายละเอียดทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านการผลิต , บริหารผังรายการและงบประมาณ โดยในส่วนของการบริหารงานนั้น จะดำเนิการการในรูปแบบคณะกรรมการ มีตัวแทนจาก 3 ส่วนคือ ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยที่ร่วมเป็นพันธมิตร ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และตัวแทนภาคเอกชน ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย บริหารจัดการเพื่อให้ช่องโทรทัศน์นี้เป็นต้นแบบทีวีสาธารณะของมหาวิทยาลัย ที่หลายหน่วยงานสามารถมีส่วนร่วมเป็นผู้บริหาร เป็นทีวีที่มีความเป็นอิสระปราศจากการครอบงำ เพื่อเป้าหมายในการปฏิรูปสื่อได้อย่างสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยจุดเด่นของสถานีคือการเป็นสื่อสาธารณะที่จะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นแบบอย่างการบริหารจัดการองค์กรที่ดีต่อสื่อมวลชนตามเจตนารมย์ของการปฏิรูปสื่อ

"ส่วนผังรายการนั้น ออกอากาศ 24 ชั่วโมง จะเป็นรายการข่าวสาร ความรู้ไม่น้อยกว่า 75 % ที่เหลือเป็นรายการบันเทิง โดยใช้มืออาชีพจากภายในมหาวิทยาลัยและภายนอก รวมทั้งเครือข่ายของ ม.ต่างๆ มาร่วมกันผลิตรายการ ส่วนงบประมาณตั้งต้นนั้น มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งลงขันกันไว้ 200 ล้านบาท"นพ.ภิรมย์ กล่าว

นพ.ดร.สิทธิชัย กล่าวว่า ขณะนี้จุฬาฯ มีความพร้อมในการยื่นขอใบอนุญาตจาก กสทช.ทันทีที่มีประกาศเชิญชวน โดยรายละเอียดการดำเนินงานได้กำหนดใช้สถานที่ตั้งของจุฬาฯ บนพื้นที่เดียวกับสถานีวิทยุจุฬาฯ และมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับดำเนินการออกอากาศทันทีที่ได้รับอนุญาต โดยกำหนดผลิตรายการใหม่ในสัดส่วนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะเป็นการนำเอาศาสตร์ของทุกมหาวิทยาลัยมาเผยแพร่ให้ความรู้สู่ประชาชนอย่างแท้จริง สำหรับงบประมาณจะใช้งบจากจุฬาฯ และรวบรวมงบฯ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เป็นเครือข่ายร่วมกัน

นายทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ในฐานะผู้แทน ม.เอกชนทั้ง 6 แห่ง กล่าวว่า อธิการบดี ม.เอกชนทั้ง 6 แห่ง มีความกังวลอยู่แล้วว่า มีความกังวลในการประมูลช่องทีวีดิจิตอลทั้ง 12 ช่อง ต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่อยากให้ตกไปอยู่ในการการครอบครองของภาครัฐที่ไม่มีความเหมาะสม ซึ่งทำให้เสียงบประมาณผลิตรายการไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย แต่ใน ความพร้อมของ ทปอ.และม.เอกชน แล้ว เชื่อว่ามีศักยภาพเกินมาตรฐานสำหรับการยื่นขอใบอนุญญาต ทั้งนี้ยืนยันว่าการดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยจะต้องคำนึงถึงการเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ไม่ใช่คำนึงถึงเฉพาะกลุ่มคนส่วนใหญ่ และด้วยความพร้อมของมหาวิทยาลัยเอกชนต่างๆ เมื่อรวมกับการริเริ่มโดย ทปอ.ทำให้ตนมั่นใจว่าประชาชนส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์และคิดว่าจะเป็นแบบอย่างในการจัดทำรายการให้แก่โทรทัศน์ทุกช่อง

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130604/509289/33%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%
B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2-
%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%99200%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0
%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B
5%E0%B8%A7%E0%B8%B5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.