Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มิถุนายน 2556 (บทความ) 4G LTE สำหรับเมืองไทย // ชี้ชัด จะใช้คลื่น 1800 2100 2300 2600 ทำ4G ก็ไม่ผิดเพราะ กสทช. อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการอนุญาตให้ประกอบกิจการ ปรับเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีได้เอง โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือขอจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่



ประเด็นหลัก




                สำหรับประเทศไทยคณะกรรมการ กสทช. เองได้ทำการจัดสรรคลื่นความถี่  โดยวางอยู่บนหลักการดังกล่าว  เห็นได้จากแผนแม่บทโทรคมนาคม (พ.ศ. 2555 – 2559) ซึ่งประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน  ตามยุทธศาสตร์ข้อ 5.2  ได้กำหนดให้การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการอนุญาตให้ประกอบกิจการ  เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมได้มีโอกาสเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมอย่างเสรีและเป็นธรรม  โดยผู้ให้บริการแต่ละรายที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่สามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีได้เอง  โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือขอจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่  เมื่อเห็นว่า  เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันไม่ดีพอหรืออาจมีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใหม่ในอนาคต

                การประกอบธุรกิจโทรคมนาคมที่วางอยู่บนหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยีข้างต้น  สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงก็คือ  แม้คลื่นความถี่ช่วงใดช่วงหนึ่งจะสามารถใช้ได้กับเทคโนโลยีหลายระดับ  แต่สิ่งที่ผู้ให้บริการต้องให้ความสำคัญก็คือ  ในประเทศของตนเองมีโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่รองรับเทคโนโลยีระดับใด  หรือใช้กับคลื่นความถี่ช่วงใดเป็นหลักด้วย  เช่น  การนำเทคโนโลยี 4G ไปใช้กับคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz หรือ 2600 MHz ย่อมทำให้ผู้ใช้บริการต้องซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ที่สามารถรองรับระบบ 4G ได้  แต่หากนำเอาคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz หรือ 1800 MHz มาจัดสรรเพื่อใช้กับ 4G แล้ว  นอกจากจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการไม่ต้องซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่แล้ว  ยังถือเป็นการใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่แล้วอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

             


______________________________________






4G LTE สำหรับเมืองไทย


การนำคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz มาทำการจัดสรรด้วยวิธีการประมูลเมื่อเดือนตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา  โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทยเกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดไปสู่การนำเทคโนโลยีแบบ 3G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายความเร็วสูงมาใช้ ขณะนี้ผู้ให้บริการรายหลักทั้ง 3 รายที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าว ต่างกำลังแข่งขันดึงลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการในระบบของตนเองอย่างเข้มข้น

                ท่ามกลางการแข่งขันให้บริการระบบ 3Gบนคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHzปรากฏว่ามีผู้ให้บริการบางรายเปิดตัวบริการ 4G บนความถี่เดียวกันขึ้นมา เป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอาจเกิดข้อสงสัยว่า จะสามารถให้บริการ 4G ได้จริงหรือไม่ นอกจากนี้การให้บริการดังกล่าวถือเป็นการดำเนินการที่อยู่นอกเหนือจากประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz หรือไม่

                เมื่อมองย้อนกลับไปในช่วงก่อนการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz จะเห็นได้ว่า  การประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวถูกเชื่อมโยงอยู่กับระบบ 3G เท่านั้น  ซึ่งอาจมาจากเหตุผลที่ว่า เพื่อต้องการให้ผู้คนในสังคมมีความรู้สึกว่า กำลังจะได้ใช้เทคโนโลยีแบบ 3G อย่างแท้จริง  และเพื่อทดแทนการใช้ระบบ 3G บนคลื่นความถี่เดิมของแต่ละค่ายที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

การโฆษณาประชาสัมพันธ์ลักษณะดังกล่าว ด้านหนึ่งทำให้ผู้คนในสังคมเข้าใจไปว่า  คลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz ใช้ได้กับเทคโนโลยี 3G เท่านั้น  ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว คลื่นความถี่ช่วงใดช่วงหนึ่งสามารถใช้ได้กับเทคโนโลยีหรือระบบมากกว่า 1 ระบบ  ซึ่งส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแต่ละประเทศว่า  จะนำเอาคลื่นความถี่ใดไปใช้กับเทคโนโลยีแบบใดแบบหนึ่ง  เป็นวิธีการที่เป็นไปตามหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality) และเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้กับคลื่นความถี่แบบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเกิดในอนาคต  โดยไม่ผูกติดกับเทคโนโลยีปัจจุบันเท่านั้น

                สำหรับประเทศไทยคณะกรรมการ กสทช. เองได้ทำการจัดสรรคลื่นความถี่  โดยวางอยู่บนหลักการดังกล่าว  เห็นได้จากแผนแม่บทโทรคมนาคม (พ.ศ. 2555 – 2559) ซึ่งประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน  ตามยุทธศาสตร์ข้อ 5.2  ได้กำหนดให้การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และการอนุญาตให้ประกอบกิจการ  เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมได้มีโอกาสเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโทรคมนาคมอย่างเสรีและเป็นธรรม  โดยผู้ให้บริการแต่ละรายที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่สามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีได้เอง  โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือขอจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่  เมื่อเห็นว่า  เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันไม่ดีพอหรืออาจมีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใหม่ในอนาคต

                การประกอบธุรกิจโทรคมนาคมที่วางอยู่บนหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยีข้างต้น  สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงก็คือ  แม้คลื่นความถี่ช่วงใดช่วงหนึ่งจะสามารถใช้ได้กับเทคโนโลยีหลายระดับ  แต่สิ่งที่ผู้ให้บริการต้องให้ความสำคัญก็คือ  ในประเทศของตนเองมีโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่รองรับเทคโนโลยีระดับใด  หรือใช้กับคลื่นความถี่ช่วงใดเป็นหลักด้วย  เช่น  การนำเทคโนโลยี 4G ไปใช้กับคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz หรือ 2600 MHz ย่อมทำให้ผู้ใช้บริการต้องซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่ที่สามารถรองรับระบบ 4G ได้  แต่หากนำเอาคลื่นความถี่ย่าน 2100 MHz หรือ 1800 MHz มาจัดสรรเพื่อใช้กับ 4G แล้ว  นอกจากจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการไม่ต้องซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหม่แล้ว  ยังถือเป็นการใช้คลื่นความถี่ที่มีอยู่แล้วอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

                องค์กรกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมในหลายๆประเทศ ต่างทำการจัดสรรคลื่นความถี่บนหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี เช่น  ประเทศอังกฤษจะใช้นโยบายการออกใบอนุญาตแบบ Technology and Service Neutrality หรือประเทศสิงคโปร์การออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่จะเป็นแบบ Facilities Based Operator (FBO) ซึ่งการอนุญาตทั้ง 2 แบบดังกล่าวจะไม่มีการจำกัดเทคโนโลยีที่ใช้

                การที่ผู้ให้บริการบางรายเปิดตัวการให้บริการในระบบ 4G จึงถือได้ว่าเป็นการนำเสนอในสิ่งที่เป็นไปได้  เพราะเทคโนโลยีแบบใดแบบหนึ่งอาจนำมาใช้กับคลื่นความถี่ที่เพิ่งมีการประมูลไปก็ได้  การดำเนินการดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการได้เล็งเห็นแล้วว่า  จะเป็นช่องทางใหม่ในการติดต่อสื่อสาร  แต่ความคาดหวังของผู้ให้บริการจะเป็นจริงหรือไม่เพียงใด  ย่อมอยู่ที่ประชาชนผู้ใช้บริการจะเป็นผู้ให้คำตอบว่าสิ่งนั้นเหมาะสมสำหรับตนเองหรือไม่

รุจิระ บุนนาค

http://www.naewna.com/business/54660

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.