Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มิถุนายน 2556 กสทช. ห้ามขาย!!! แต่บ้านหม้อมีแล้ว+++ ล่าสุดรับสัญญาณทีวีดิจิทัล ราคาเริ่มต้นที่ 1,500 บาท ถึง 3,500 บาท ติดตั้งได้ง่าย เพื่อดึงสัญญาณดิจิทัลมาใช้ ดูได้เกือบทุกช่องเพราะกำลังทดลองออกอากาศ



ประเด็นหลัก



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจพื้นที่บริเวณบ้านหม้อที่มีวางจำหน่ายกล่องรับสัญญาณ และจานดาวเทียมขนาดต่าง ๆ พบว่า มีร้านค้าบางแห่งวางจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัล แม้ กสทช.จะสั่งห้ามจำหน่าย ราคาเริ่มต้นที่ 1,500 บาท ถึง 3,500 บาท ติดตั้งได้ง่าย เพียงนำไปต่อกับสายสัญญาณ หรือ RF ที่มาจากเสาก้างปลาเพื่อดึงสัญญาณดิจิทัลมาใช้ ปัจจุบันรับชมฟรีทีวีได้เกือบทุกช่อง เพราะทุกรายกำลังทดสอบการส่งสัญญาณ แต่จำกัดพื้นที่แค่ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดบางแห่ง

ขณะที่เว็บไซต์ www.dvbt2tv.com ก็มีประกาศขายกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลหลายรูปแบบ พร้อมรับประกัน 1 ปี มีทั้ง Set Top Box ที่ใช้ในบ้าน และตัวรับสัญญาณติดรถยนต์ มีการสอนการติดตั้ง และเผยแพร่ข้อมูลการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัลอีกด้วย




______________________________________






กสทช.ไฟเขียวขายกล่องทีวีดิจิทัล เริ่มก.ค.นี้"บ้านหม้อ-เว็บไซต์"ปืนไวพรึ่บทั้งตลาด


"กสทช." พร้อมกดปุ่มให้วางขาย "เซตท็อปบ็อกซ์ และทีวีดิจิทัล" ก.ค.นี้ ฟาก "ร้านค้าบ้านหม้อ-บนเว็บไซต์" เสือปืนไววางขายก่อนพรึ่บ "ผู้ผลิตและผู้นำเข้า" รอลุ้นเงื่อนไขรับคูปองส่วนลด 690 บาท 22 ล้านครัวเรือน



พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการแจกคูปองส่วนลดสำหรับซื้อกล่องแปลงสัญญาณ (Set Top Box) คำนวณจากราคาตั้งต้นการประมูลช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง มูลค่ารวม 15,190 ล้านบาท หารเฉลี่ยครัวเรือนในประเทศไทยจำนวน 22 ล้านครัวเรือน ทำให้แต่ละครอบครัวได้รับคูปองส่วนลด 690 บาท แต่จะมีการเพิ่มเติมเงินสนับสนุนเพิ่มหรือไม่ยังไม่ได้พิจารณา เพราะอาจกระทบการตัดสินใจของผู้เข้าร่วมประมูลที่อาจมีแนวคิดแจก Set Top Box เพื่อขยายฐานคนดูเอง คาดว่าจะพิจารณาหลังสิ้นสุดการประมูลไปแล้ว

นายทนงศักดิ์ สุขะนินทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานขับเคลื่อนโทรทัศน์เคลื่อนที่ และโทรทัศน์ระบบไอพี (พส.) สำนักงาน กสทช. เปิดเผยว่า ในสัปดาห์ที่ 3 เดือน ก.ค.นี้ จะเปิดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้ากล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัล และโทรทัศน์ที่รับสัญญาณดิจิทัลนำสินค้ามาวางจำหน่ายได้ หลังมอบใบอนุญาตให้ผู้ให้บริการโครงข่าย 4 ราย ได้แก่ กองทัพบก, อสมท, กรมประชาสัมพันธ์ และไทยพีบีเอส

โดยก่อนนำเข้ามาจำหน่าย กสทช.ได้เตรียมสติ๊กเกอร์ไว้ให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้านำไปติดที่ตัวสินค้า ซึ่งจะมีหมายเลขระบุการนำเข้าอย่างถูกต้อง ผู้ผลิตและผู้นำเข้าควรนำตัวเลขดังกล่าวไปพิมพ์ไว้ในคู่มือเพื่อเป็นหลักฐานประกอบการนำเข้า

นายทนงศักดิ์กล่าวว่า สิ่งที่ผู้ผลิตและผู้นำเข้าค่อนข้างกังวลคือ เรื่องใบอนุญาตให้ค้าอุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อการพาณิชย์ เพราะจากเดิมไทยใช้โทรทัศน์แอนะล็อกไม่ต้องขออนุญาตขายสินค้า ทำให้ร้านค้าปลีกหรือร้านค้าเล็ก ๆ ทั่วไปจำหน่ายได้ แต่เมื่อเป็นโทรทัศน์ดิจิทัล และ Set Top Box จัดอยู่ในอุปกรณ์โทรคมนาคม ทำให้ร้านค้าปลีกและร้านเล็ก ๆ ขออนุญาตขายเช่นกัน

ขณะที่ บริษัทโตชิบาได้ส่งทีมงานจากญี่ปุ่นมาร่วมรับฟัง และได้สอบถามเกี่ยวกับคูปองลดราคาทีวีดิจิทัล มูลค่า 690 บาท ที่ กสทช.จะแจกให้กับประชาชน แต่ได้รับคำตอบว่า ต้องรอการประมูลเสร็จก่อน

นายศุภชัย พรมศรี ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท เวิล์ดเทค อีเล็คโทรนิค จำกัด กล่าวว่า มาตรฐานดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมเรื่องการใช้งานในรถยนต์ จึงปิดกั้นโอกาสในการขายสินค้า ต้องการให้ กสทช.ชี้แจงด้วย เพื่อให้อุตสาหกรรมเครื่องเสียงในรถยนต์เดินหน้าต่อได้เท่าเทียมสินค้าอื่น ๆ ที่รับสัญญาณทีวีดิจิทัลได้ ปัจจุบันบริษัทผลิตสินค้าเกี่ยวกับเครื่องเสียงทั้งในบ้านและรถยนต์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจพื้นที่บริเวณบ้านหม้อที่มีวางจำหน่ายกล่องรับสัญญาณ และจานดาวเทียมขนาดต่าง ๆ พบว่า มีร้านค้าบางแห่งวางจำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัล แม้ กสทช.จะสั่งห้ามจำหน่าย ราคาเริ่มต้นที่ 1,500 บาท ถึง 3,500 บาท ติดตั้งได้ง่าย เพียงนำไปต่อกับสายสัญญาณ หรือ RF ที่มาจากเสาก้างปลาเพื่อดึงสัญญาณดิจิทัลมาใช้ ปัจจุบันรับชมฟรีทีวีได้เกือบทุกช่อง เพราะทุกรายกำลังทดสอบการส่งสัญญาณ แต่จำกัดพื้นที่แค่ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดบางแห่ง

ขณะที่เว็บไซต์ www.dvbt2tv.com ก็มีประกาศขายกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิทัลหลายรูปแบบ พร้อมรับประกัน 1 ปี มีทั้ง Set Top Box ที่ใช้ในบ้าน และตัวรับสัญญาณติดรถยนต์ มีการสอนการติดตั้ง และเผยแพร่ข้อมูลการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิทัลอีกด้วย


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1372001476

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.