Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 กรกฎาคม 2556 กสทช.มีมติส่ง SMS เตือนย้ายโครงข่าย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ กับTRUEMOVEและGSM1800 ( เตือนหมดสป. ) และร้องให้ CAT ทำหน้าที่ดูแลโครงข่ายเอง และดูแลลูกค้าเอง โดยจ้างรายเดิมช่วยบริหาร



ประเด็นหลัก



       นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) วันนี้ (10 ก.ค.) ที่ประชุมรับทราบมาตรการข้อเสนอการเยียวยาของผู้ให้บริการ 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ให้บริการ ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้ พร้อมทั้งให้นำข้อเสนอดังกล่าวส่งต่อไปยังคณะกรรมการกำหนดมาตรการเยียวยาดูแลผู้ใช้บริการเป็นผู้พิจารณาต่อไป
   
       ทั้งนี้ ข้อเสนอของทรูมูฟ และดีพีซีเป็นไปในแนวทางทางใกล้เคียงกัน คือต้องการเป็นผู้ดูแลลูกค้าที่มีอยู่เดิมเองทั้งหมด โดยการไปเช่าโครงข่าย และอุปกรณ์โทรคมนาคมจาก กสท ซึ่งทรูมูฟมีลูกค้าประมาณ 16.2 ล้านเลขหมาย ดีพีซีประมาณ 80,000 เลขหมาย
   
       ขณะที่ กสท ในฐานะเจ้าของสัญญาสัมปทานที่คู่สัญญาสัมปทานต้องโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้ กสท นั้นก็จะทำหน้าที่ดูแลโครงข่ายเอง และดูแลลูกค้าเอง ซึ่งอาจจะใช้วิธีการจ้างบริษัทอื่นๆ หรืออาจเป็นคู่สัญญาสัมปทานเป็นผู้ให้บริการต่อไปจนกว่าประเด็นเรื่องคลื่นความถี่ 1800 MHz จะมีความชัดเจน


       นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือและถ้อยคำเกี่ยวกับการเยียวยากรณี 1800 MHz ไปยังทรูมูฟ และดีพีซี เพื่อได้แจ้งให้ลูกค้ารับทราบด้วยวิธีการส่งข้อความสั้น (SMS) เกี่ยวกับสัญญาสัมปทานสิ้นสุดแต่ยังสามารถใช้บริการต่อไปจนกว่าจะมีผู้รับใบอนุญาตรายใหม่ได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยการให้จัดส่งซ้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับข้อความอย่างทั่วถึง





______________________________________






กทค.ไฟเขียวสั่งเอกชนส่ง SMS เตือนก่อน 1800 MHz สิ้นสัมปทาน


       บอร์ด กทค.รับทราบข้อเสนอเยียวยา 3 ราย พร้อมมีมติให้สำนักงาน กสทช.สั่งผู้ประกอบการ ทรู-ดีพีซี ส่ง SMS แจ้งเตือนลูกค้าทั้ง 17 ล้านรายให้รับทราบก่อนสิ้นสุดสัมปทาน 1800 MHz ภายใน 2 สัปดาห์ต่อจากนี้
     
       นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) วันนี้ (10 ก.ค.) ที่ประชุมรับทราบมาตรการข้อเสนอการเยียวยาของผู้ให้บริการ 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ให้บริการ ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้ พร้อมทั้งให้นำข้อเสนอดังกล่าวส่งต่อไปยังคณะกรรมการกำหนดมาตรการเยียวยาดูแลผู้ใช้บริการเป็นผู้พิจารณาต่อไป
     
       ทั้งนี้ ข้อเสนอของทรูมูฟ และดีพีซีเป็นไปในแนวทางทางใกล้เคียงกัน คือต้องการเป็นผู้ดูแลลูกค้าที่มีอยู่เดิมเองทั้งหมด โดยการไปเช่าโครงข่าย และอุปกรณ์โทรคมนาคมจาก กสท ซึ่งทรูมูฟมีลูกค้าประมาณ 16.2 ล้านเลขหมาย ดีพีซีประมาณ 80,000 เลขหมาย
     
       ขณะที่ กสท ในฐานะเจ้าของสัญญาสัมปทานที่คู่สัญญาสัมปทานต้องโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้ กสท นั้นก็จะทำหน้าที่ดูแลโครงข่ายเอง และดูแลลูกค้าเอง ซึ่งอาจจะใช้วิธีการจ้างบริษัทอื่นๆ หรืออาจเป็นคู่สัญญาสัมปทานเป็นผู้ให้บริการต่อไปจนกว่าประเด็นเรื่องคลื่นความถี่ 1800 MHz จะมีความชัดเจน
     
       นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้สำนักงาน กสทช.ทำหนังสือและถ้อยคำเกี่ยวกับการเยียวยากรณี 1800 MHz ไปยังทรูมูฟ และดีพีซี เพื่อได้แจ้งให้ลูกค้ารับทราบด้วยวิธีการส่งข้อความสั้น (SMS) เกี่ยวกับสัญญาสัมปทานสิ้นสุดแต่ยังสามารถใช้บริการต่อไปจนกว่าจะมีผู้รับใบอนุญาตรายใหม่ได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยการให้จัดส่งซ้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับข้อความอย่างทั่วถึง
     
       “เบื้องต้นสำนักงาน กสทช.จะใช้เวลาการดำเนินงานประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนส่งคำสั่งไปยังผู้ประกอบการทั้ง 2 รายเพื่อดำเนินการส่ง SMS ไปยังผู้ใช้บริการทั้ง 17 ล้านเลขหมาย หรือประมาณช่วงเดือน ส.ค.นี้”
     
       นายก่อกิจกล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบการแก้ไขประกาศมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในกิจการโทรคมนาคม จากเดิมระบุว่าจะต้องรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แก้ไข เป็นต้องได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) แทน
     
       เนื่องจากมีหลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ แต่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก สมอ. ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมที่ผลิตในประเทศไทย จึงต้องแก้ไขประกาศฉบับดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000084346

________________________________________




กทค.ยังคลำทางออก ปมหมดสัมปทานคลื่น 1800 ไม่เจอ





บอร์ด กทค.ยังคลำหาทางออกรองรับสัญญาสัมปทานสิ้นสุดไม่เจอ ไม่มีทางออกที่ชัดเจนสำหรับลูกค้า 17 ล้านราย เหตุคลื่นความถี่ 1800MHz ไร้ข้อสรุปใครจะเป็นเจ้าของ...

เมื่อวันที่ 10 ก.ค.นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) รับทราบข้อเสนอการขอเยียวยาผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 17 ล้านเลขหมาย ภายหลังสัญญาสัมปทานของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ที่ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิตรซ์ (MHz) จะสิ้นสุดในวันที่ 16 กันยายนนี้ และให้นำข้อเสนอดังกล่าวส่งต่อไปยังคณะกรรมการกำหนดมาตรการเยียวยาดูแลผู้ใช้บริการเป็นผู้พิจารณาต่อไป

รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ทั้งนี้สำนักงาน กสทช. จะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังทรูมูฟและดีพีซี แจ้งให้ลูกค้ารับทราบ ด้วยวิธีการส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) เกี่ยวกับสัญญาสัมปทานสิ้นสุดแต่ยังสามารถใช้บริการต่อไปจนกว่าจะมีผู้รับใบอนุญาตรายใหม่ ทั้งนี้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และให้ส่งซ้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยคาดว่าจะเริ่มส่งเอสเอ็มเอสได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุด 2 เดือน ซึ่งลูกค้าที่ใช้บริการทรูมูฟและดีพีซี มีประมาณ 17 ล้านเลขหมาย

นายก่อกิจ กล่าวอีกว่า สำหรับข้อเสนอ ทรูมูฟ และดีพีซี มีแนวทางใกล้เคียงกัน โดยเสนอเป็นผู้ดูแลลูกค้าที่มีอยู่เดิมเองทั้งหมด โดยเช่าโครงข่ายจาก กสท หรือสร้างโครงข่ายของตัวเอง ซึ่งทรูมูฟมีลูกค้าประมาณ 16.2 ล้านเลขหมาย ดีพีซีประมาณ 80,000 เลขหมาย รวมถึงจะอำนวยความสะดวกในการย้ายค่ายแต่เลขหมายคงเดิม หรือการคงสิทธิเลขหมาย ขณะที่ กสท ในฐานะเจ้าของสัญญาสัมปทานที่คู่สัญญาสัมปทานต้องโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้ กสท นั้น ก็จะทำหน้าที่ดูแลโครงข่ายเองและดูแลลูกค้าเอง ซึ่งอาจจะจ้างบริษัทอื่นๆ หรืออาจเป็นคู่สัญญาสัมปทานเป็นผู้ให้บริการต่อไป จนกว่าประเด็นเรื่องคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะมีความชัดเจน

รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบการแก้ไขประกาศมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในกิจการโทรคมนาคม จากเดิมระบุว่าจะต้องรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แก้ไข เป็นต้องได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (สมอ.) แทน เนื่องจากมีหลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ แต่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก สมอ. ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์โทรคมนาคมที่ผลิตในประเทศไทย จึงต้องแก้ไขประกาศฉบับดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

ขณะที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ประเด็นคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ยังไม่มีข้อยุติ เนื่องจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ยื่นเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวต่อไปจนกว่าใบอนุญาตประกอบกิจการของ กสท จะสิ้นสุดในปี 2565 ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเพื่อนำเรื่องเสนอ ครม. ขณะที่ กสทช.ก็ได้ยืนยันว่า คลื่นดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานนับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนนี้ เป็นต้นไป กสท จะต้องคืนคลื่นดังกล่าวมายัง กสทช.เพื่อนำไปจัดสรรและเปิดประมูลต่อไป.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/356372

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.