Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 กรกฎาคม 2556 กสทช. เตรียมดึงคลื่น800 DTAC หลังหมดสป. ความถี่ทั้งหมด 4 MHz กันข้างละ 3 MHz (ควบคุมขนส่งรถไฟระบบรางรถไฟฟ้าควมเร็วสูง)


ประเด็นหลัก






ปัจจุบันคลื่นความถี่ดังกล่าว บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ให้บริการคลื่นความถี่ย่าน 800 จำนวน 10 MHz อายุสัญญา 27 ปี สิ้นสุดสัญญา 15 กันยายน 2561 นี้

ทั้งนี้ในหลายประเทศในยุโรป อเมริกา หรือแม้ประเทศจีนเองได้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวเพื่อระบบขนส่งรถไฟระบบราง ซึ่งการที่บอร์ดต้องพิจารณาเพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาลไทยได้ยกร่าง พระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินราว
2 ล้านล้านบาท สำหรับใช้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งโครงการที่ถูกบรรจุอยู่ในเนื้อหาของพ.ร.บ.แล้ว โดยมีแนวทางที่รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าของระบบรางและให้สัมปทานการดำเนินงานแก่เอกชน และวางแผนให้สามารถทำการประกวดราคาได้ภายใน สิ้นปี โดยในเบื้องต้นรัฐบาลได้กำหนดให้มีการทดลองเปิดวิ่งรถไฟความเร็วสูงในปี 2561 และในปี 2562 จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ

“ตอนนี้บอร์ดต้องหารือกับรถไฟฟ้า บีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน และการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ว่าหากมีการพัฒนาไปสู่รถไฟความเร็วสูงตามนโยบายของรัฐบาลนั้น จะต้องใช้คลื่นความถี่ใดในการบริหารควบคุม เชื่อมต่อและรักษาความปลอดภัยภายในรถไฟ”


   
       ปัจจุบันคลื่นความถี่ 800 MHz มีคลื่นความถี่ใช้งานอยู่ 10 MHz ซึ่งเป็นของดีแทค แต่หากจะใช้ในระบบรางของรถไฟความเร็วสูงจะต้องใช้ความถี่ทั้งหมด 4 MHz ส่วนที่เหลือ 6 MHz จะกันย่านความถี่ไว้ข้างละ 3 MHz เพื่อป้องกันปัญหาคลื่นรบกวนการให้บริการ







________________________________________________


กสทช. เล็งนำ 800 MHz ควบคุมขนส่งรถไฟระบบราง



       กสทช.เผยอยู่ระหว่างศึกษาคลื่น 800 MHz เพื่อนำมาใช้กับขนส่งรถไฟระบบรางในประเทศ คาดต้องได้ข้อสรุปก่อนหมดสัญญาสัมปทานในปี 2561 ด้าน 'การบินไทย' ชงเรื่องขอให้บริการไวไฟบนเครื่องบิน
     
       นายเจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคาแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในตอนนี้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กำลังศึกษาพิจารณาแนวทางการนำคลื่นความถี่ 800 MHz ภายหลังหมดสัญญาว่าจะนำมาจัดสรรในกิจการด้านใด และทำในธุรกิจใด
     
       ซึ่งปัจจุบันคลื่นความถี่ 800 MHz ทางบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือดีแทค ให้บริการอยู่จำนวน 10 MHz โดยมีอายุสัญญา 27 ปี และจะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 15 ก.ย.2561
     
       ทั้งนี้สาเหตที่บอร์ดกทค.ต้องนำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาในตอนนี้เนื่องจากหลายประเทศในยุโรป และอเมริกา หรือประเทศจีนเองต่างนำคลื่นความถี่ 800 MHz มาใช้เพื่อขนส่งรถไฟระบบราง และที่สำคัญประเทศไทยเองรัฐบาลได้มีนโยบายเอาไว้ในการยกร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินราว 2 ล้านล้านบาท สำหรับใช้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
     
       โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงถือเป็นโครงการหนึ่งที่ถูกบรรจุอยู่ในเนื้อหาของพรบ.ฉบับดังกล่าวด้วย ซึ่งมีแนวทางที่รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าของระบบราง และให้สัมปทานการดำเนินงานแก่เอกชน และวางแผนให้สามารถทำการประกวดราคาได้ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้มีการทดลองเปิดวิ่งรถไฟความเร็วสูงในปี 2561 และในปี 2562 จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
     
       นายเจษฎา กล่าวว่า เบื้องต้นบอร์ดได้หารือกับรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน และการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่าหากมีการพัฒนาไปสู่รถไฟความเร็วสูงตามนโยบายของรัฐบาลนั้น จะต้องใช้คลื่นความถี่ใดในการบริหารควบคุมระบบการขับเคลื่อน ระบบเชื่อมต่อทรานมิชชั่น ระบบสั่งการภายในรถ และรักษาความปลอดภัยภายในรถไฟ ซึ่งในต่างประเทศได้ใช้คลื่นนี้ในระบบการขนส่งแล้ว ซึ่งเมื่อมีการสรุปแล้ว จำเป็นที่บอร์ดกสทช.จะต้องมีการลงมติเพื่อกำหนดแนวทางการจัดสรรอย่างเป็นทางการ รองรับสัญญาสัมปทานของดีแทคที่จะหมดในปี 2561 พอดี
     
       ปัจจุบันคลื่นความถี่ 800 MHz มีคลื่นความถี่ใช้งานอยู่ 10 MHz ซึ่งเป็นของดีแทค แต่หากจะใช้ในระบบรางของรถไฟความเร็วสูงจะต้องใช้ความถี่ทั้งหมด 4 MHz ส่วนที่เหลือ 6 MHz จะกันย่านความถี่ไว้ข้างละ 3 MHz เพื่อป้องกันปัญหาคลื่นรบกวนการให้บริการ
     
       “อย่างไรก็ดีในประเด็นดังกล่าวสุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจจากบอร์ดกสทช.อย่างเป็นทางการ และจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อน ว่าจะเห็นด้วยกับการนำคลื่น 800 MHz มาใช้หรือไม่”
     
       ขณะเดียวกัน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังได้สอบถามมายัง กสทช. เพื่อขอความชัดเจนเกี่ยวกับกรณีการขอประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (WiFi) บนเครื่องบิน ได้หรือไม่
     
       ซึ่งในตอนนี้ บอร์ด กสทช.มีนโยบายพยายามจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด แต่ทั้งนี้ก็สอดคล้องกับกฏหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยให้มากที่สุดด้วย โดยปัจจุบันยังไม่มีผู้ให้บริการรายใด ให้บริการได้ในประเทศไทย

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000089698

____________________________________________


กสทช.เล็งเรียกคืน

คลื่นมือถือดีแทค

ใช้รองรับสื่อสาร

รถไฟความเร็วสูง

นายเจษฎา ศิวรักษ์ ในฐานะเลขานุการ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กำลังศึกษาพิจารณาแนวทางการใช้คลื่นความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ในการบริหารควบคุมระบบการขับเคลื่อน ระบบเชื่อมต่อทรานมิชชั่น ระบบสั่งการภายในรถ และรักษาความปลอดภัยภายในรถไฟ ซึ่งในต่างประเทศได้ใช้คลื่นนี้ในระบบการขนส่งแล้ว ซึ่งในอนาคตไทยมีโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) ในหลายโครงการ

ปัจจุบันคลื่นความถี่ดังกล่าว บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ให้บริการคลื่นความถี่ย่าน 800 จำนวน 10 MHz อายุสัญญา 27 ปี สิ้นสุดสัญญา 15 กันยายน 2561 นี้

ทั้งนี้ในหลายประเทศในยุโรป อเมริกา หรือแม้ประเทศจีนเองได้ใช้คลื่นความถี่ดังกล่าวเพื่อระบบขนส่งรถไฟระบบราง ซึ่งการที่บอร์ดต้องพิจารณาเพื่อให้สอดรับกับนโยบายรัฐบาลไทยได้ยกร่าง พระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินราว
2 ล้านล้านบาท สำหรับใช้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งโครงการที่ถูกบรรจุอยู่ในเนื้อหาของพ.ร.บ.แล้ว โดยมีแนวทางที่รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าของระบบรางและให้สัมปทานการดำเนินงานแก่เอกชน และวางแผนให้สามารถทำการประกวดราคาได้ภายใน สิ้นปี โดยในเบื้องต้นรัฐบาลได้กำหนดให้มีการทดลองเปิดวิ่งรถไฟความเร็วสูงในปี 2561 และในปี 2562 จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ

“ตอนนี้บอร์ดต้องหารือกับรถไฟฟ้า บีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน และการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ว่าหากมีการพัฒนาไปสู่รถไฟความเร็วสูงตามนโยบายของรัฐบาลนั้น จะต้องใช้คลื่นความถี่ใดในการบริหารควบคุม เชื่อมต่อและรักษาความปลอดภัยภายในรถไฟ”

สำหรับคลื่นความถี่ 800 MHz มีคลื่นความถี่ใช้งานอยู่ 10 MHz เป็นของดีแทค แต่หากจะใช้ในระบบรางของรถไฟความเร็วสูงจะต้องใช้ความถี่ทั้งหมด 4 MHz ส่วนที่เหลือ 6 เมกะเฮิรตซ์ จะกันย่านความถี่ไว้ข้างละ 3 MHz เพื่อป้องกันปัญหาคลื่นรบกวนการให้บริการ แต่ในสุดท้ายแล้วการตัดสินใจว่าจะกำหนดให้การใช้คลื่น 800 เพื่อระบบขนส่งมวลชนหรือไม่นั้น ต้องมีสรุปจากบอร์ดกสทช.อย่างเป็นทางการและจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)

 http://www.naewna.com/business/60650



ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.