Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤศจิกายน 2557 TOT เตรียมแผนการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิทธิในคลื่นความถี่ 900 MHz และเปลื่ยนตู้โทรศัพท์สาธารณะ ( เช่นบริการเติมเงิน โดยจะไม่ผูกมัดกับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง)



ประเด็นหลัก

สำหรับแผนการลงทุนเพิ่มเติมจะดำเนินการหลังจากสามารถหาความชัดเจนทางธุรกิจในหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิทธิในคลื่นความถี่ 900 MHz เนื่องจากใกล้สิ้นสุดสัมปทานแล้ว ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลด้วย

อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่รอความชัดเจนในหลายเรื่อง บริษัทได้ดำเนินการปรับปรุงการบริหารทรัพยากรไปพร้อมกัน เช่น บริการโทรศัพท์สาธารณะที่ยังคงมีอยู่ก็จำเป็นต้องลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา เพราะปัจจุบันค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้แต่ต้องให้บริการต่อไปตามหน้าที่ในการให้บริการแก่สาธารณะ

และมีความเป็นไปได้ที่จะนำตู้โทรศัพท์สาธารณะ มาสร้างเพิ่มมูลค่าในรูปแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่โฆษณาหรือปรับเปลี่ยนเป็นตู้เติมเงิน รวมถึงเป็นจุดให้บริการ WiFi hotspot เป็นต้น ขณะนี้มีผู้ติดต่อเข้ามาหลายราย ซึ่งบอร์ดทีโอทีอยู่ระหว่างการพิจารณาผลตอบแทนที่คุ้มค่าและเหมาะสม

ปัจจุบันทีโอทีร่วมกับบริษัท ฟอร์ทสมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการระบบเติมเงิน "บุญเติม" นำตู้โทรศัพท์สาธารณะจำนวน 749 ตู้ จากที่มีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 170,000 ตู้ ไปให้บริการเติมเงินด้วย และกำลังพิจารณาขยายความร่วมมือเพิ่มเติม โดยจะไม่ผูกมัดกับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง



______________________________







ทีโอทีเร่งปิดดีลหาพันธมิตรธุรกิจ มุ่งแชร์ใช้โครงข่ายเพิ่มขีดแข่งขันไม่ยึดติดรูปแบบ


"ทีโอที" เร่งปิดดีลเจรจาหาพันธมิตรสร้างความแข็งแกร่ง 6 กลุ่มธุรกิจ เปิดทางทั้งไทยและเทศ ไม่ยึดติดรูปแบบ ย้ำการลงทุนยุคใหม่มุ่งแชร์ใช้โครงข่ายลดการลงทุนซ้ำซ้อน มั่นใจจุดแข็งด้านโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งเตรียมแผนลงทุนเพิ่มหลังได้ข้อสรุปสิทธิใช้คลื่น 900 MHz พร้อมขานรับยักษ์ "หัวเว่ย" ลงทุนบรอดแบนด์ในไทยเสริมส่งนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล

นายธันวา เลาหศิริวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า กรณีบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี สนใจเข้ามาลงทุนบรอดแบนด์ในประเทศไทยถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะเข้ามาพัฒนา เศรษฐกิจดิจิทัลในภาพรวมและสอดคล้องนโยบายของรัฐบาล ซึ่งคงต้องดูว่าการเข้ามาลงทุนดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด

หากมาในฐานะผู้ให้บริการก็อาจส่งผลกระทบกับทีโอทีในฐานะเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ แต่ทีโอทีก็มีหน้าที่ในการพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อให้แข่งขันในตลาดได้ตลอดเวลาอยู่แล้ว

ขณะเดียวกันทีโอทีอยู่ระหว่างการหาพันธมิตรทั้ง 6 กลุ่มธุรกิจหลัก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มเสาโทรคมนาคม กลุ่มอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ กลุ่มโทรศัพท์ กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่และบรอดแบนด์ และกลุ่มบริการด้านไอที ซึ่งหัวเว่ยสามารถเข้ามาเป็นพันธมิตรได้ จึงเชื่อว่าไม่กระทบต่อแผนธุรกิจของบริษัทอย่างแน่นอน

"เราเองเปิดรับทุกเจ้า โดยมองจากผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นหลัก อยู่ที่ว่าหัวเว่ยจะสนใจหรือไม่ ส่วนความคืบหน้าในการหาพันธมิตรธุรกิจของทีโอทีในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการเจรจา โดยวันที่ 18 พ.ย.นี้มีนัดการเจรจากับโอเปอเรเตอร์ต่างชาติเป็นรายแรกเพื่อศึกษาข้อมูลของแต่ละฝ่าย ก่อนที่จะตัดสินใจยื่นข้อเสนอเชิงพาณิชย์ในลำดับถัดไป เราตั้งใจว่าจะพยายามให้ได้ข้อยุติทั้งหมดภายในเดือนครึ่งนับจากนี้"

สำหรับแผนการลงทุนเพิ่มเติมจะดำเนินการหลังจากสามารถหาความชัดเจนทางธุรกิจในหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับสิทธิในคลื่นความถี่ 900 MHz เนื่องจากใกล้สิ้นสุดสัมปทานแล้ว ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลด้วย

อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่รอความชัดเจนในหลายเรื่อง บริษัทได้ดำเนินการปรับปรุงการบริหารทรัพยากรไปพร้อมกัน เช่น บริการโทรศัพท์สาธารณะที่ยังคงมีอยู่ก็จำเป็นต้องลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา เพราะปัจจุบันค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้แต่ต้องให้บริการต่อไปตามหน้าที่ในการให้บริการแก่สาธารณะ

และมีความเป็นไปได้ที่จะนำตู้โทรศัพท์สาธารณะ มาสร้างเพิ่มมูลค่าในรูปแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่โฆษณาหรือปรับเปลี่ยนเป็นตู้เติมเงิน รวมถึงเป็นจุดให้บริการ WiFi hotspot เป็นต้น ขณะนี้มีผู้ติดต่อเข้ามาหลายราย ซึ่งบอร์ดทีโอทีอยู่ระหว่างการพิจารณาผลตอบแทนที่คุ้มค่าและเหมาะสม

ปัจจุบันทีโอทีร่วมกับบริษัท ฟอร์ทสมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการระบบเติมเงิน "บุญเติม" นำตู้โทรศัพท์สาธารณะจำนวน 749 ตู้ จากที่มีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 170,000 ตู้ ไปให้บริการเติมเงินด้วย และกำลังพิจารณาขยายความร่วมมือเพิ่มเติม โดยจะไม่ผูกมัดกับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง

"เทรนด์ของธุรกิจโทรคมนาคมในปัจจุบันไม่ต้องการลงทุนซ้ำซ้อนกันเพราะจะกลายเป็นดับเบิลอิน เวสต์เมนต์ การร่วมมือกับทีโอทีที่มีทรัพยากรครอบคลุมอยู่แล้วจะช่วยให้เขาลงทุนเพื่อต่อยอดบริการไปถึงลูกค้าด้วยเงินที่น้อยลง จึงเปิดโอกาสให้ทุกรายมาศึกษาว่ามีทรัพยากรของทีโอทีส่วนใดที่เขาสนใจจะเข้ามาลงทุนต่อยอดธุรกิจใหม่ ๆ ได้และเมื่อเร็ว ๆ นี้ทีโอทีได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิตในโครงการด้านการจัดการนวัตกรรม"

ความรู้ไร้ขอบเขตเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเป็นการนำโครงสร้างพื้นฐานที่ทีโอทีมีอยู่ทั้งบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตและอินเทอร์เน็ตไร้สายมาสนับสนุนด้านการศึกษาในการเข้าถึงแหล่งความรู้ของเยาวชน ภายใต้โครงการพระดาบสที่มหาวิทยาลัยรังสิตให้โอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัด และทีโอทีอยู่ระหว่างการจัดทำแผนงานเพื่อสนับสนุนงานด้านการศึกษาภายใต้นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลด้วย

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416247514

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.