Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤศจิกายน 2557

ICT.เมธินี ระบุ จะเปลี่ยนชื่อเป็น "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" มีหน่วยงานระดับกรม 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานปลัดกระทรวง มีกองงานสำคัญได้แก่ กองกิจการระหว่างประเทศ กองกิจการอวกาศแห่งชาติ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กองนโยบายและติดตามประเมินผล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกองงานที่กระทรวงไอซีทีมีอยู่เดิม

ประเด็นหลัก


อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงไอซีที ได้เริ่มพิจารณาความเหมาะสมของบุคลากรในแต่ละตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่แล้ว โดยในเบื้องต้นตามโครงสร้างใหม่จะมีการขยายงานของกระทรวงให้กว้างขึ้นกว่าเดิม และเปลี่ยนชื่อเป็น "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" มีหน่วยงานระดับกรม 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานปลัดกระทรวง มีกองงานสำคัญได้แก่ กองกิจการระหว่างประเทศ กองกิจการอวกาศแห่งชาติ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กองนโยบายและติดตามประเมินผล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกองงานที่กระทรวงไอซีทีมีอยู่เดิม


______________________________







เร่งสปีดแจ้งเกิดกระทรวงดิจิทัล ดีเดย์4ธันวาจ่อลดเกรด"กสทช."


สปีดเต็มสตรีมหวังกดปุ่มเผยโฉม "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" ทัน 4 ธ.ค.นี้ "วงใน" ระบุ "อุ๋ย" เร่งเครื่อง แต่มีสิทธิ์ยื้ออีกเดือน หลังโครงสร้างยังไม่นิ่ง เลื่อนเป็นของขวัญปีใหม่ 4 ม.ค.58 ปมใหญ่ลดบทบาท "กสทช." เป็นองค์การมหาชน "ปลัดไอซีที" เดินหน้าจัดคนลงโครงสร้างใหม่

แหล่งข่าวจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ต้องการเปิดตัวกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นกระทรวงใหม่ที่จะขึ้นมาทำหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล โดยเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างเดิมของกระทรวงไอซีทีใหม่ให้ทันในวันที่ 4 ธ.ค. 2557 นี้ เนื่องจากเป็นช่วงวันมหามงคลจึงได้สั่งการให้เร่งกระบวนการทุกอย่างให้เสร็จทันวันดังกล่าว แต่ยังไม่ชัดเจนนักว่าทุกอย่างจะเสร็จทันหรือไม่ เพราะยังมีโครงสร้างหลายส่วนที่ไม่นิ่ง อาทิ สถานะของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ที่คณะทำงานดิจิทัลอีโคโนมีต้องการให้โอนย้ายไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและยกระดับองค์กรให้ใหญ่ขึ้น ให้มีรูปแบบคล้ายสภาพัฒน์ คือมีทั้งการเก็บข้อมูลพื้นฐานและการต่อยอดข้อมูลในเชิงวิเคราะห์และคาดการณ์เศรษฐกิจ ขณะที่กระทรวงไอซีทีเห็นว่าสถิติเป็นพื้นฐานสำคัญของดิจิทัลอีโคโนมีจึงน่าจะอยู่กับกระทรวงใหม่มากกว่า หรือกรณีสำนักงาน กสทช. หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่ปัจจุบันมีสถานะเป็นองค์กรอิสระ แต่โครงสร้างใหม่ลดสถานะเป็น "องค์การมหาชน" และมาอยู่ใต้สังกัดกระทรวงใหม่ ซึ่งคาดว่า กสทช.ไม่ยอมแน่นอน และกำลังเจรจากันอยู่ แต่ถ้าจบไม่ทันวันที่ 4 ธ.ค.นี้ก็เป็นไปได้ว่าจะขยับไปเพื่อให้เสร็จในวันที่ 4 ม.ค. 2558 ถือเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงไอซีที ได้เริ่มพิจารณาความเหมาะสมของบุคลากรในแต่ละตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่แล้ว โดยในเบื้องต้นตามโครงสร้างใหม่จะมีการขยายงานของกระทรวงให้กว้างขึ้นกว่าเดิม และเปลี่ยนชื่อเป็น "กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" มีหน่วยงานระดับกรม 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานปลัดกระทรวง มีกองงานสำคัญได้แก่ กองกิจการระหว่างประเทศ กองกิจการอวกาศแห่งชาติ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กองนโยบายและติดตามประเมินผล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกองงานที่กระทรวงไอซีทีมีอยู่เดิม

ถัดมาเป็นกรมใหม่คือกรมเศรษฐกิจดิจิทัล ทำหน้าที่ด้านเลขานุการให้คณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติ ใต้สังกัดมีกองงานสำคัญ ได้แก่ สำนักงานเลขานุการกรม กองงานฮาร์ดอินฟราสตรักเจอร์, กองงานซอฟต์อินฟราสตรักเจอร์, กองงานเซอร์วิสอินฟราสตรักเจอร์, กองส่งเสริมอุตสาหกรรมไอซีที และกองส่งเสริมและพัฒนาการใช้ไอซีที ทั้ง 2 กองงานหลังมีในกระทรวงไอซีทีเดิมอยู่แล้ว ส่วนกรมสุดท้ายคือกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งแหล่งข่าวจากกระทรวงไอซีทีระบุว่า กระทรวงไอซีทีเคยประสานงานขอให้สำนักนายกรัฐมนตรี รับโอนกรมอุตุนิยมวิทยาไปดูแล เนื่องจากมองว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับไอซีทีโดยตรง แต่ได้รับการปฏิเสธ

ขณะที่องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจใต้สังกัดไอซีทีเดิมจะยังอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงใหม่ทั้งหมด แต่ขยายบทบาทความรับผิดชอบให้มากขึ้น ได้แก่ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) โดย สรอ.จะเข้าไปดูแลด้านบริการ e-Government ของภาครัฐทั้งหมดอย่างเข้มข้น ส่วน สพธอ.จะรับผิดชอบงานด้านความมั่นคงปลอดภัย ด้านไอทีและไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของประเทศเต็มตัว รวมถึงการผลักดันให้ภาครัฐทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะส่งผลให้เอกชนทำธุรกรรมแบบไร้กระดาษได้ครบวงจรภายใน 3 ปีจากนี้ รวมถึงการปรับลดสถานะของ กสทช.ให้เป็นองค์การมหาชนภายใต้สังกัดกระทรวงใหม่

ก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กำลังเร่งดำเนินการตั้งคณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติขึ้นมาบริหารนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (ดิจิทัลอีโคโนมี) เป็นการเฉพาะ เพื่อให้มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน เนื่องจากถือเป็นวาระแห่งชาติสำหรับรัฐบาลนี้ ซึ่งภายใต้คณะกรรมการชุดใหญ่จะมีอนุกรรมการขึ้นมาดูแลในงานแต่ละด้าน ประกอบด้วยตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนส่งร่างกฎหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และส่งต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา

"คณะกรรมการต้องเร่งผลักดันให้เกิดผลงาน อะไรที่ทำให้เกิดได้ต้องทำเลย งานด้านฮาร์ดอินฟราสตรักเจอร์และซอฟต์อินฟราสตรักเจอร์น่าจะเสร็จได้ เพื่อให้รัฐบาลชุดใหม่ไม่มีทางเลือกที่จะต้องสานต่อ เพราะจะมีเสียงเรียกร้องจากสังคมว่า เขาทำไปถึงเท่านี้แล้วทำไมไม่ทำต่อ"

ด้านนายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หนึ่งในคณะทำงานดิจิทัลอีโคโนมีกล่าวว่า ภายในปีนี้จะมีกฎหมายอย่างน้อย 2 ฉบับ จาก 13 ฉบับที่เร่งปรับปรุง ได้แก่ พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และหน่วยงานใต้สังกัด และ พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิทัลแห่งชาติที่ สนช.จะพิจารณาเสร็จสิ้นและเริ่มดำเนินการได้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416313618

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.