Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 มกราคม 2558 Samsung เน้นแรงจูงใจเงินเดือน!! ส่งพนักงานขายเข้าไปในร้านขายปลีกโทรศัพท์มือถือทุกรายเป็นอีกกลยุทธ์ในการสร้างรายได้ และส่วนแบ่งการตลาดให้เติบโตอย่างรวดเร็ว

ประเด็นหลัก


ซัมซุงเน้นแรงจูงใจเงินเดือน

ด้านนายวิชัย พรพระตั้ง รองประธานองค์กร ธุรกิจโทรคมนาคม และไอที บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การส่งพนักงานขายเข้าไปในร้านขายปลีกโทรศัพท์มือถือทุกรายเป็นอีกกลยุทธ์ในการสร้างรายได้ และส่วนแบ่งการตลาดให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเริ่มทำมาแล้ว 5 ปี ตั้งแต่นำสมาร์ทโฟนเข้ามาทำตลาด เพราะเป็นสินค้าที่อาศัยความเข้าใจเทคโนโลยี บริษัทจึงตัดสินใจส่งพนักงานขายเข้าไปช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการสร้างยอดขาย

"ถึงจะทำโปรโชั่นแรงขนาดไหน ถ้าลูกค้าไม่เข้าใจสินค้า โอกาสขายได้แทบไม่มี พนักงานขายช่วยปิดการขายได้ง่ายขึ้น ซึ่งเรามีมากกว่าพันคน กระจายอยู่ในซัมซุง โมบายล์ ช็อป 100 สาขา และร้านค้าปลีก การเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดมือถือทำให้ปีนี้ยังต้องจ้างเพิ่ม พนักงานขายทุกคนของเราจะมีการฝึกฝนให้เรียนรู้ข้อมูลสินค้ารุ่นต่าง ๆ เพื่อต่อยอดการทำงานในระยะยาว ในแง่ผลตอบแทนซัมซุงให้เทียบเท่าแบรนด์อื่น แต่เน้นที่เงินเดือนเพื่อจูงใจให้ทำงานต่อเนื่องจึงมีการไหลออกของพนักงานเพียง 5-10%"


ออปโป้เพิ่มพนักงาน 3.5 พันคน

นายจรูญ วิริยะพรพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย ออปโป้ จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทจะจ้างพนักงานขายเพื่อเข้าไปในร้านค้าปลีกต่าง และจุดจำหน่ายต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยคน จากที่มีอยู่แล้ว 2,800 คน เพิ่มเป็น 3,500 คน เนื่องจากเป็นวิธีหลักที่ทำให้ออปโป้เข้ามามีบทบาทในตลาดสมาร์ทโฟนอีกครั้ง โดยปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเป็น 10% หรือมียอดขาย 2 ล้านเครื่อง จากปีที่แล้วที่ทำได้เกือบ 1 ล้านเครื่อง ตลาดรวมที่ 18 ล้านเครื่อง เป็นอันดับ 3 ของตลาด เน้นรุ่นที่มีราคาตั้งแต่ 8,000 บาทขึ้นไป

ขณะที่นายไพโรจน์ ถาวรสภานันท์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีจี เซลลูล่าร์ เวิลด์ จำกัด เจ้าของร้านค้าปลีก "ทีจีโฟน" กล่าวว่า ความพยายามดึงตัวพนักงานระหว่างแบรนด์ต่างๆ เริ่มชัดเจนขึ้น หลังจากแบรนด์จีนหน้าใหม่เข้ามาในตลาดสมาร์ทโฟนจริงจัง เช่น ออปโป้, วีโว่ และหัวเว่ย เป็นต้น ต่างใช้กลยุทธ์แบบเดียวกับซัมซุง คือทุ่มเงินโปรโมตแบรนด์ผ่านสื่อโฆษณา และจ้างพนักงานให้ไปประจำตามร้านค้าปลีกเพื่อให้ช่วยขายสินค้า ดังนั้นพนักงานขายที่มีประสบการณ์ หรือสามารถปิดการขายได้เก่ง จะได้ผลตอบแทนสูงขึ้น

"การดึงตัวมีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ปีนี้จะเข้มข้นขึ้น เพราะแต่ละเจ้าอยากได้มือดีไปช่วยขาย ซึ่งผลตอบแทนนอกจากเงินเดือนแล้วก็จะมีค่าขายต่อเครื่อง ซึ่งแบรนด์ต่างๆ ใช้จุดนี้มาจูงใจ ขณะที่ร้านค้าปลีกไม่มี กรณีร้านทีจีโฟน เมื่อพนักงานขายของแบรนด์เข้ามาอยู่ในร้านจะขึ้นตรงกับผู้จัดการร้านสาขานั้นๆ ซึ่งจะต้องช่วยขายสินค้าที่ไม่ใช่แบรนด์ตนเองด้วย"

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า แบรนด์ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดขณะนี้คือออปโป้ มีทั้งเงินเดือนประจำหลักหมื่นบาท ค่าคอมมิสชั่นหลัก 100 บาท/เครื่อง เป็นต้น ถัดมาเป็นวีโว่ และซัมซุงใกล้เคียงกัน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเงินเดือนของพีซีรวมค่าคอมมิสชั่นจะมีรายได้อยู่ที่ 20,000-30,000 บาท หากขายเก่งมากๆ อาจได้ถึงเดือนละ 50,000 บาท














_____________________________________________________
















สมาร์ทโฟนแข่งดุ เปิดศึกชิง"พนง.ขาย" แบรนด์จีนแห่อัดฉีด"คอมมิสชั่น"จูงใจ



ศึกชิงพนักงานขายมือถือ "ผู้ผลิต" หน้าใหม่ตบเท้าชิงเค้ก "สมาร์ทโฟน" ใจป้ำอัดฉีดผลตอบแทน "ออปโป้" มาแรงรับเพิ่ม 700 ตำแหน่ง หวังปั๊มยอด 2 ล้านเครื่อง เจ้าตลาด "ซัมซุง" ไม่หวั่น ด้านเชนสโตร์ดัง "เจมาร์ท-ทีจีโฟน" ฟันธงแย่งนักขายมือดีระอุตลอดปี

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า การเข้ามาทำตลาดเมืองไทยของผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแบรนด์ต่างๆ ทำให้พนักงานขายหรือพีซี (Product Consultant) มีความต้องการเพิ่มขึ้นมาก จากการที่แต่ละแบรนด์ต้องการมีพนักงานประจำแบรนด์เพื่อให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ และผลักดันยอดขาย ประกอบกับปัจจุบันเครือข่ายร้านค้าปลีกโทรศัพท์มือถือขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยทั้งรายเดิม และผู้ค้าสินค้าไอทีที่เบนเข็มมาขายสมาร์ทโฟน เป็นต้น


เจมาร์ทส่งพีซีประกบ 2 คน

นายนราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส บมจ.เจมาร์ท เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พนักงานขายของแบรนด์โทรศัพท์มือถือกำลังเป็นที่ต้องการของร้านขายปลีก และคู่แข่งที่เป็นผู้ผลิตด้วยกัน เพราะเป็นตัวแปรสำคัญในการปิดการขาย เพราะสมาร์ทโฟนเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการข้อมูลเกี่ยวกับตัวเครื่องก่อนตัดสินใจซื้อ ทำให้พนักงานขายที่มีประสบการณ์เป็นที่ต้องการจึงมีการดึงตัวกันเพิ่มมากขึ้น

"เรื่องการแย่งตัวพีซีเป็นประเด็นที่เริ่มมีมากขึ้น เชื่อว่าในปีนี้จะมีตลอดเวลา เพราะมีแบรนด์ใหม่ๆ มากขึ้น และทุกรายต่างมีกลยุทธ์คล้ายกันทำให้เห็นประกาศรับสมัครพีซีอยู่เรื่อยๆ พีซีส่วนใหญ่อยู่กันไม่นาน คนที่เก่งจริงก็ยังไม่มากจึงเกิดการชิงตัว โดยแต่ละแบรนด์จะแข่งขันกันด้วยเงินเดือน, เบี้ยขยัน, ผลตอบแทนเมื่อขายเครื่องได้ และโบนัสพิเศษเมื่อทำยอดเป้า"

สำหรับแบรนด์ที่ลงทุนเรื่องพีซีอย่างจริงจัง หนีไม่พ้นออปโป้ รองลงมาเป็นซัมซุง และแบรนด์น้องใหม่ "วีโว่" ในมุมของเจมาร์ท ปัจจุบันมี 260 สาขาทั่วประเทศจะพยายามบาลานซ์ระหว่างพนักงานขายของแบรนด์ และพนักงานประจำร้านไว้ในสัดส่วนเท่าๆ กัน เพื่อดูแลภาพรวมของร้านและช่วยขายสินค้าแบรนด์อื่น ๆ ด้วย เฉพาะสาขาขนาดใหญ่จึงเปิดให้บางแบรนด์ส่งพนักงานขายมาประจำได้ 2 คน


ซัมซุงเน้นแรงจูงใจเงินเดือน

ด้านนายวิชัย พรพระตั้ง รองประธานองค์กร ธุรกิจโทรคมนาคม และไอที บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การส่งพนักงานขายเข้าไปในร้านขายปลีกโทรศัพท์มือถือทุกรายเป็นอีกกลยุทธ์ในการสร้างรายได้ และส่วนแบ่งการตลาดให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเริ่มทำมาแล้ว 5 ปี ตั้งแต่นำสมาร์ทโฟนเข้ามาทำตลาด เพราะเป็นสินค้าที่อาศัยความเข้าใจเทคโนโลยี บริษัทจึงตัดสินใจส่งพนักงานขายเข้าไปช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการสร้างยอดขาย

"ถึงจะทำโปรโชั่นแรงขนาดไหน ถ้าลูกค้าไม่เข้าใจสินค้า โอกาสขายได้แทบไม่มี พนักงานขายช่วยปิดการขายได้ง่ายขึ้น ซึ่งเรามีมากกว่าพันคน กระจายอยู่ในซัมซุง โมบายล์ ช็อป 100 สาขา และร้านค้าปลีก การเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดมือถือทำให้ปีนี้ยังต้องจ้างเพิ่ม พนักงานขายทุกคนของเราจะมีการฝึกฝนให้เรียนรู้ข้อมูลสินค้ารุ่นต่าง ๆ เพื่อต่อยอดการทำงานในระยะยาว ในแง่ผลตอบแทนซัมซุงให้เทียบเท่าแบรนด์อื่น แต่เน้นที่เงินเดือนเพื่อจูงใจให้ทำงานต่อเนื่องจึงมีการไหลออกของพนักงานเพียง 5-10%"


ออปโป้เพิ่มพนักงาน 3.5 พันคน

นายจรูญ วิริยะพรพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย ออปโป้ จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทจะจ้างพนักงานขายเพื่อเข้าไปในร้านค้าปลีกต่าง และจุดจำหน่ายต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยคน จากที่มีอยู่แล้ว 2,800 คน เพิ่มเป็น 3,500 คน เนื่องจากเป็นวิธีหลักที่ทำให้ออปโป้เข้ามามีบทบาทในตลาดสมาร์ทโฟนอีกครั้ง โดยปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเป็น 10% หรือมียอดขาย 2 ล้านเครื่อง จากปีที่แล้วที่ทำได้เกือบ 1 ล้านเครื่อง ตลาดรวมที่ 18 ล้านเครื่อง เป็นอันดับ 3 ของตลาด เน้นรุ่นที่มีราคาตั้งแต่ 8,000 บาทขึ้นไป

ขณะที่นายไพโรจน์ ถาวรสภานันท์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีจี เซลลูล่าร์ เวิลด์ จำกัด เจ้าของร้านค้าปลีก "ทีจีโฟน" กล่าวว่า ความพยายามดึงตัวพนักงานระหว่างแบรนด์ต่างๆ เริ่มชัดเจนขึ้น หลังจากแบรนด์จีนหน้าใหม่เข้ามาในตลาดสมาร์ทโฟนจริงจัง เช่น ออปโป้, วีโว่ และหัวเว่ย เป็นต้น ต่างใช้กลยุทธ์แบบเดียวกับซัมซุง คือทุ่มเงินโปรโมตแบรนด์ผ่านสื่อโฆษณา และจ้างพนักงานให้ไปประจำตามร้านค้าปลีกเพื่อให้ช่วยขายสินค้า ดังนั้นพนักงานขายที่มีประสบการณ์ หรือสามารถปิดการขายได้เก่ง จะได้ผลตอบแทนสูงขึ้น

"การดึงตัวมีมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ปีนี้จะเข้มข้นขึ้น เพราะแต่ละเจ้าอยากได้มือดีไปช่วยขาย ซึ่งผลตอบแทนนอกจากเงินเดือนแล้วก็จะมีค่าขายต่อเครื่อง ซึ่งแบรนด์ต่างๆ ใช้จุดนี้มาจูงใจ ขณะที่ร้านค้าปลีกไม่มี กรณีร้านทีจีโฟน เมื่อพนักงานขายของแบรนด์เข้ามาอยู่ในร้านจะขึ้นตรงกับผู้จัดการร้านสาขานั้นๆ ซึ่งจะต้องช่วยขายสินค้าที่ไม่ใช่แบรนด์ตนเองด้วย"

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า แบรนด์ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดขณะนี้คือออปโป้ มีทั้งเงินเดือนประจำหลักหมื่นบาท ค่าคอมมิสชั่นหลัก 100 บาท/เครื่อง เป็นต้น ถัดมาเป็นวีโว่ และซัมซุงใกล้เคียงกัน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเงินเดือนของพีซีรวมค่าคอมมิสชั่นจะมีรายได้อยู่ที่ 20,000-30,000 บาท หากขายเก่งมากๆ อาจได้ถึงเดือนละ 50,000 บาท

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1421928707

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.