Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 ธันวาคม 2558 (บทความ) ไลไฟขย่มไวไฟ // ระบบไลไฟนี้ไม่ได้ใช้เลเซอร์ หันมาใช้ ไฟส่องสว่างแบบแอลอีดี (LED) สั้น ๆ ว่า “เล็ด” โดยเอาวงจรเสริมให้เล็ดกะพริบที่ความถี่สูง เป็นข้อมูลแฝง ไปในไฟส่องสว่าง

ประเด็นหลัก

แปลว่าชีวิตช้าลง สบายขึ้นเมื่อมีเน็ตเร็ว ในห้องทดลองเห็นว่าเร็วได้ถึง 224 กิกะบิตต่อวินาที โหลดหนัง 18 เรื่องได้ในวินาทีเดียว ระบบไลไฟนี้ไม่ได้ใช้เลเซอร์ หันมาใช้ ไฟส่องสว่างแบบแอลอีดี (LED) สั้น ๆ ว่า “เล็ด” โดยเอาวงจรเสริมให้เล็ดกะพริบที่ความถี่สูง เป็นข้อมูลแฝง ไปในไฟส่องสว่าง ด้านเครื่องรับเป็นอะไรก็ได้ที่รับแสงได้ เช่น กล้องมือถือ ศาสตรา จารย์ฮาโรลด์ ฮาส (Prof. Harold Haas) ผู้ประดิษฐ์ไลไฟ ยังเอาแผงโซลาร์เซลล์สำหรับแปลงแสงสว่างเป็นไฟฟ้า มาใช้รับสัญญาณไลไฟได้ด้วย การที่ระบบนี้ใช้คลื่นแสงสว่างส่งข้อมูล ทำให้จำกัดระยะทางเพราะแสงถูกบังได้ด้วยสิ่งของต่าง ๆ อย่างผนังห้อง แต่ก็ไม่ไปรบกวนห้องอื่น หรืออาคารอื่น และยังกันคนแอบดักข้อมูลของเราได้ด้วย อีกทั้งยังไม่มีอันตรายจากคลื่นวิทยุอย่างไวไฟหรือมือถือ การที่แสงสว่างส่งสัญญาณได้สูงกว่าคลื่นวิทยุนับเป็นหมื่นเท่า จึงเหมาะกับการใช้งานที่เพิ่มพูนขึ้นทุกวัน


_______________________________________




ไลไฟขย่มไวไฟ


„ไลไฟขย่มไวไฟ ระบบแสงไร้สายนั้นมีมานานแล้ว โดยใช้แสงเลเซอร์กำลังต่ำ ส่งระหว่างอาคารที่เดินสายลำบาก ระบบแสงไร้สายที่นำมา ใช้แทนไวไฟ เรียกว่า Li-Fi หรือ Light Fidelity อ่านว่า “ไลไฟ” วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2558 เวลา 4:41 น. ตอนนี้ใคร ๆ ก็เริ่มรู้จัก ไวไฟ หรือ Wi-Fi ย่อมาจาก Wireless Fidelity เป็นการส่งข้อมูลระหว่าง โน้ตบุ๊กหรือมือถือกับเครือข่าย โดยใช้สัญญาณคลื่นวิทยุ เป็นแบบ “ไร้สาย” (Wireless) เริ่มเห็นมากขึ้นตามศูนย์การค้า และที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น ร้านกาแฟ สนามบิน ในต่างประเทศ นักการเมืองหรือเจ้าเมืองต่างก็ผลักดันโครงการฟรีไวไฟ แต่เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ขยายตัวเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดการแย่งชิงช่วงคลื่นเหล่านี้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย คลื่นสาธารณะอย่างไวไฟ “ของพวกเรา” จึงโดนเบียดแอ่นไปแอ่นมา เกิดอาการเน็ตหลุดหรือวิ่งหาเน็ตกันอยู่ร่ำไป และสถานการณ์ดูท่ามีแต่จะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ แต่ เทคโนโลยียังก้าวไปไม่หยุดยั้ง พระเอกของเราคือแสงครับ อันว่าคลื่นความ ถี่นี้ หลักวิชาเขาเรียกว่า electromagnetic spectrum หรือแถบคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้า ซึ่งแถบนี้ยาวครอบคลุม ตั้งแต่คลื่นเอกซเรย์ส่องปอด รังสียูวีในแดดที่สาว ๆ กลัว แสงสีรุ้งที่เราใช้ดูอะไร ต่อมิอะไร อินฟราเรดที่ใช้ในรีโมตโทรทัศน์ ลงไปจนคลื่นโทรทัศน์ วิทยุ มือถือ ไวไฟ ทั้งหมดนี้เป็นแถบเดียวกัน ต่างกันที่ความถี่ของคลื่น และใช้เทคโนโลยีต่างกัน ระบบแสงไร้สายนั้นมีมานานแล้ว โดยใช้แสงเลเซอร์กำลังต่ำ ส่งระหว่างอาคารที่เดินสายลำบาก ระบบแสงไร้สายที่นำมา ใช้แทนไวไฟ เรียกว่า Li-Fi หรือ Light Fidelity อ่านว่า “ไลไฟ” คำว่า “ไล” แปลว่า “ช้า” แปลว่าชีวิตช้าลง สบายขึ้นเมื่อมีเน็ตเร็ว ในห้องทดลองเห็นว่าเร็วได้ถึง 224 กิกะบิตต่อวินาที โหลดหนัง 18 เรื่องได้ในวินาทีเดียว ระบบไลไฟนี้ไม่ได้ใช้เลเซอร์ หันมาใช้ ไฟส่องสว่างแบบแอลอีดี (LED) สั้น ๆ ว่า “เล็ด” โดยเอาวงจรเสริมให้เล็ดกะพริบที่ความถี่สูง เป็นข้อมูลแฝง ไปในไฟส่องสว่าง ด้านเครื่องรับเป็นอะไรก็ได้ที่รับแสงได้ เช่น กล้องมือถือ ศาสตรา จารย์ฮาโรลด์ ฮาส (Prof. Harold Haas) ผู้ประดิษฐ์ไลไฟ ยังเอาแผงโซลาร์เซลล์สำหรับแปลงแสงสว่างเป็นไฟฟ้า มาใช้รับสัญญาณไลไฟได้ด้วย การที่ระบบนี้ใช้คลื่นแสงสว่างส่งข้อมูล ทำให้จำกัดระยะทางเพราะแสงถูกบังได้ด้วยสิ่งของต่าง ๆ อย่างผนังห้อง แต่ก็ไม่ไปรบกวนห้องอื่น หรืออาคารอื่น และยังกันคนแอบดักข้อมูลของเราได้ด้วย อีกทั้งยังไม่มีอันตรายจากคลื่นวิทยุอย่างไวไฟหรือมือถือ การที่แสงสว่างส่งสัญญาณได้สูงกว่าคลื่นวิทยุนับเป็นหมื่นเท่า จึงเหมาะกับการใช้งานที่เพิ่มพูนขึ้นทุกวัน ที่สำคัญอีกอย่างคือ การสร้างแสงในปัจจุบันพัฒนาไปมาก ระบบเล็ดใช้พลังงานต่ำ ไม่ร้อน ต่อโลก และ “โครงสร้างพื้นฐาน” คือระบบส่องสว่าง และระบบรับแสง (อย่างกล้อง) ก็มีใช้กันแพร่หลาย ไม่ต้องติดกระป๋องพิเศษ เพราะใช้สัญญาณข้อมูลแฝงไปกับหลอดเล็ดแสงสว่าง การติดตั้งใช้งานจึงถูกมาก เผลอ ๆ อาจมีแบบไฟฉายเล็ดหรือเลเซอร์สำหรับส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วย รอดูกันนะครับ เห็นว่ามีผลิตภัณฑ์ เริ่มออกทดสอบแล้ว คงราวสองสามปีน่าจะได้ใช้ไลไฟกัน. ดร.ยรรยง เต็งอำนวย (เกษียณราชการ) ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีเมล Yunyong.T@gmail.com“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/364767

http://www.dailynews.co.th/it/364767

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.