14 มีนาคม 2559 ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือDTAC เปิดเผยถึงข้อตกลงโรมมิ่ง 2G กับ AIS ว่า ได้ลงนามสัญญาข้อตกลงในการให้บริการโรมมิ่ง 2G แก่ลูกค้าของเอไอเอสมายังโครงข่าย 2G ของดีแทค และได้ทำการทดสอบการใช้งานโรมมิ่งระหว่างโครงข่ายเรียบร้อย
ประเด็นหลัก
*** ดีแทคพร้อมให้บริการโรมมิ่งลูกค้าเอไอเอส 2G
นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยถึงข้อตกลงโรมมิ่ง 2G กับเอไอเอสว่า ได้ลงนามสัญญาข้อตกลงในการให้บริการโรมมิ่ง 2G แก่ลูกค้าของเอไอเอสมายังโครงข่าย 2G ของดีแทค และได้ทำการทดสอบการใช้งานโรมมิ่งระหว่างโครงข่ายเรียบร้อย เพื่อให้ลูกค้า 2G ของเอไอเอสสามารถใช้งานเบอร์เดิมได้ตามปกติโดยอัตโนมัติทั้งวอยซ์ และดาต้า โดยไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนซิม และพร้อมให้บริการได้ทันทีในวันศุกร์ที่ 11 มีนาคมนี้ ในกรณีที่เอไอเอสต้องยุติการให้บริการบนคลื่น 900MHz หลังจากที่ผู้ชนะการประมูลได้จ่ายเงินค่าใบอนุญาต
ปัจจุบัน ดีแทคให้บริการครบทุกเทคโนโลยีทั้ง 2G/3G/4G ทำให้โครงข่ายดีแทครองรับการใช้งานจากโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ที่มีใช้งานในประเทศในปัจจุบัน โดยโครงข่าย 2G ของดีแทคสามารถรองรับลูกค้าเอไอเอส 2G ทั้งหมดที่จะโรมมิ่งมาใช้บริการ และดีแทคได้เตรียมพร้อมโครงข่ายดังกล่าวให้มีคุณภาพสูงสุดรองรับการใช้งานทุกพื้นที่ทั่วไทยไว้เรียบร้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งสานต่อการดำเนินงานธุรกิจในแนวทางที่ดีตลอดมา ทั้งนี้ ดีแทคจะให้บริการโรมมิ่งแก่ลูกค้าเอไอเอส ให้ดีที่สุดเหมือนเป็นลูกค้าของดีแทคอีกด้วย
_______________________________________
เมินใช้คลื่นทรู ลูกค้า 2G เอไอเอส ซิมดับ 4 แสนราย 14 มี.ค.นี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ลูกค้าเอไอเอสระบบ 2G คลื่น 900 MHz จำนวน 4แสนราย จ่อซิมดับ 14 มี.ค.นี้ หลังยืนยันไม่เช่าใช้คลื่นทรูตามที่เสนอมา ด้านเลขาธิการ กสทช.นั่งหัวโต๊ะเจรจาย้ำใช้คลื่นแจสไม่ได้ เผยหากวันที่ 11 มี.ค.ทรูมาชำระเงิน และ กทค.นำเข้าที่ประชุม ใบอนุญาตจะพร้อมออกให้ทรูทันทีวันที่ 14 มี.ค. ส่งผลให้ซิมต้องดับ เร่งเอไอเอสประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ารับทราบ ด้านดีแทคพร้อมให้บริการโรมมิ่งกับลูกค้าเอไอเอสให้ดีที่สุดเหมือนเป็นลูกค้าของดีแทคเอง
เมื่อวันที่ 10 มี.ค. เวลา 15.00 น. กสทช.นำโดย นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้นัดหารือกับ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส บริษัทลูกเอไอเอส คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อพิจารณาถึงข้อเสนอของทรูที่เสนอให้เอไอเอสใช้คลื่นความถี่ 900 MHz ที่ทรูชนะการประมูลได้ เป็นเวลา 3 เดือน เป็นวันที่ 2 หลังจากที่เมื่อวันที่ 9 มี.ค.ยังหาข้อสรุปไม่ได้ โดยการประชุมใช้เวลาช่วงแรกถึง 16.00 น. หลังจากนั้น เลขาธิการ กสทช.ขอให้แต่ละบริษัทพักเพื่อสอบถามความเห็นไปยังผู้บริหารของตนเอง และมาเริ่มประชุมอีกครั้งหนึ่งเวลา 16.30 น. และเสร็จสิ้นในเวลา 17.00 น.
นายฐากร กล่าวว่า ตัวแทนจากเอไอเอสยังคงยืนยันที่จะใช้คลื่นที่ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ชนะการประมูล จำนวน 5 MHz เพราะเหลือลูกค้าระบบ 2G คลื่น 900 MHz เพียง 400,000 เลขหมาย ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 8 ล้านเลขหมาย ได้โรมมิ่งกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เพื่อใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz แล้ว ตามที่ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงไม่มีปัญหาเรื่องซิมดับ และขอให้เสนอเรื่องนี้ให้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) อนุมัติ ซึ่งตนเองได้ตอบแทนให้ทันทีว่า ไม่สามารถทำให้ได้ เนื่องจากคลื่นดังกล่าวยังไม่มีผู้มาชำระค่าประมูล จึงไม่สามารถใช้มาตรา 63 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ที่ว่าด้วยการป้องกันประโยชน์สาธารณะในกรณีฉุกเฉินได้
ดังนั้น การหารือในประเด็นที่ทรูเสนอมาเป็นอันต้องยุติ และขอให้เอไอเอสทำหนังสือชี้แจงตัวเลขลูกค้าระบบ 2G คลื่น 900 MHz ที่เหลืออยู่อย่างเป็นทางการเพื่อเสนอให้ กทค.พิจารณาว่ามีจำนวนเท่าไหร่ รวมถึงแผนจ่ายเงินคืนในระบบให้ลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าระบบเติมเงิน (พรีเพด) มาด้วย โดย กทค.จะมีการประชุมในวันที่ 11 มี.ค. เวลา 09.30 น. และในเวลา 13.39 น. ทรู จะมาชำระเงินพร้อมวางหลักประกันทางการเงิน (แบงก์การันตี) หาก กทค.มีประชุมต่อในบ่ายวันนั้น ใบอนุญาตก็จะสามารถออกให้แก่ทรูได้ทันทีในวันที่ 14 มี.ค. ส่งผลให้ลูกค้าที่ค้างอยู่ในระบบของเอไอเอสจำนวนดังกล่าวใช้งานไม่ได้ (ซิมดับ) ในเวลาเที่ยงคืน โดยเอไอเอสต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบ ขณะที่ กสทช.เองก็ต้องประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าย้ายค่ายด้วย
*** ดีแทคพร้อมให้บริการโรมมิ่งลูกค้าเอไอเอส 2G
นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยถึงข้อตกลงโรมมิ่ง 2G กับเอไอเอสว่า ได้ลงนามสัญญาข้อตกลงในการให้บริการโรมมิ่ง 2G แก่ลูกค้าของเอไอเอสมายังโครงข่าย 2G ของดีแทค และได้ทำการทดสอบการใช้งานโรมมิ่งระหว่างโครงข่ายเรียบร้อย เพื่อให้ลูกค้า 2G ของเอไอเอสสามารถใช้งานเบอร์เดิมได้ตามปกติโดยอัตโนมัติทั้งวอยซ์ และดาต้า โดยไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนซิม และพร้อมให้บริการได้ทันทีในวันศุกร์ที่ 11 มีนาคมนี้ ในกรณีที่เอไอเอสต้องยุติการให้บริการบนคลื่น 900MHz หลังจากที่ผู้ชนะการประมูลได้จ่ายเงินค่าใบอนุญาต
ปัจจุบัน ดีแทคให้บริการครบทุกเทคโนโลยีทั้ง 2G/3G/4G ทำให้โครงข่ายดีแทครองรับการใช้งานจากโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ที่มีใช้งานในประเทศในปัจจุบัน โดยโครงข่าย 2G ของดีแทคสามารถรองรับลูกค้าเอไอเอส 2G ทั้งหมดที่จะโรมมิ่งมาใช้บริการ และดีแทคได้เตรียมพร้อมโครงข่ายดังกล่าวให้มีคุณภาพสูงสุดรองรับการใช้งานทุกพื้นที่ทั่วไทยไว้เรียบร้อย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งสานต่อการดำเนินงานธุรกิจในแนวทางที่ดีตลอดมา ทั้งนี้ ดีแทคจะให้บริการโรมมิ่งแก่ลูกค้าเอไอเอส ให้ดีที่สุดเหมือนเป็นลูกค้าของดีแทคอีกด้วย
*** เอไอเอสแจงลูกค้าใช้งานบนคลื่น 900MHzในล็อตที่ 1 จำนวน 5 MHz
ตามที่ กสทช.ได้มีมติไม่อนุญาตให้เอไอเอส ขยายมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ และรับทราบแนวทางที่บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เสนอให้ เอไอเอส สามารถใช้งานคลื่นความถี่ 900 MHz จำนวน 10 MHz ต่อไปอีก 3 เดือน เพื่อดูแลลูกค้าให้สามารถใช้งานได้ต่อ โดยจะต้องจ่ายค่าเช่าใช้งานคลื่นความถี่ให้ ทรูมูฟ เอช จำนวน 450 ล้านบาทต่อเดือนนั้น
นางวิไล เคียงประดู่ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานประชาสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาตั้งแต่สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เอไอเอสได้พยายามมุ่งมั่นดูแลลูกค้าทุกรายที่อยู่บนระบบคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และได้เตรียมแผนรองรับผลกระทบอย่างดีทุกวิถีทาง ประกอบด้วย 1.การทำจดหมายไปยังสำนักงาน กสทช. ถึง 3 ครั้ง คือ วันที่ 30 ตุลาคม 2558, วันที่ 4 มกราคม 2559 และเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อขอให้ชะลอการสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการบนคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz อย่างน้อยถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2559 เพื่อให้เวลาลูกค้าที่เหลืออยู่ดำเนินการโอนย้ายได้ทัน 2.จัดเตรียมเครื่องโทรศัพท์มือถือทดแทนให้ฟรี สำหรับลูกค้าที่ยังคงถือเครื่อง 2G ให้เปลี่ยนเป็น 3G หรือ 4G และ 3.เดินหน้าขยายเครือข่าย 3G และ 4G อย่างต่อเนื่องด้วยงบประมาณ 40,000 ล้านบาท
แม้ว่าเอไอเอสจะได้ดำเนินการทุกวิถีทางแล้วแต่เนื่องด้วย เอไอเอส มีลูกค้ามากกว่า 40 ล้านราย ส่งผลให้ยังคงมีลูกค้าจำนวนหนึ่งที่ยังคงเหลืออยู่ในบนระบบคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขอขยายระยะเวลาการเยียวยาออกไป
ในส่วนข้อเสนอของ ทรูมูฟ เอช ที่ได้ยื่นผ่าน กสทช.มานั้น เอไอเอส ขอขอบคุณในความปรารถนาดี แต่ เอไอเอส ไม่อาจรับข้อเสนอดังกล่าวได้ เนื่องจากคลื่นของ ทรูมูฟ เอช อยู่ที่ ล็อตที่ 2 ขณะที่ในปัจจุบัน เอไอเอส ใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในล็อตที่ 1 ซึ่งยังไม่มีการติดต่อมาชำระเงินค่าประมูล การที่จะเปลี่ยนไปใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในล็อตที่ 2 ของ ทรูมูฟ เอช จึงกระทำไม่ได้ในเวลาอันสั้น อีกทั้งข้อเสนอของเอไอเอสที่มีไปยัง กสทช.นั้น เอไอเอส ต้องการใช้คลื่น 900 MHz ใน ลอตที่ 1 เพียง 5 MHz ซึ่งเอไอเอสได้เสนอเรื่องขอใช้คลื่นดังกล่าวต่อ กสทช.เพื่อพิจารณาคลื่นให้เอไอเอสได้นำไปใช้ในการดูแลผู้ใช้บริการต่อไป
อย่างไรก็ตาม เอไอเอส เชื่อมั่นว่าทุกฝ่ายทั้งภาครัฐอย่าง กสทช.หรือในภาคเอกชนอย่างผู้ให้บริการทุกรายต่างมีความตั้งใจในการดูแลผู้บริโภคมาโดยตลอด เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการใช้บริการระบบสื่อสารในช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีในครั้งนี้
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000025571&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=MGR+Morning+Brief+11-3-59&utm_campaign=20160310_m130188537_MGR+Morning+Brief+11-3-59&utm_term=_E0_B9_80_E0_B8_A1_E0_B8_B4_E0_B8_99_E0_B9_83_E0_B8_8A_E0_B9_89_E0_B8_84_E0_B8_A5_E0_B8_B7_E0_B9_88_
ไม่มีความคิดเห็น: